Quantable Researcher Podcast Ep22 : Fear & Greed Index ดัชนีที่สะท้อนอารมณ์ตลาดได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ
โลกของการลงทุนคือสนามรบทางการเงินที่โหดร้ายและน่ากลัวที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเป็นสถานที่ที่รวบรวมคนเก่งในระดับโลก คนฉลาดระดับโลก คนที่มีอิทธิพลกำหนดทิศทางของโลก มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อช่วงชิงสิ่งเดียวที่ทุกคนต้องการเหมือนกันคือ “เงิน” จึงทำให้สนามการลงทุนนี้มีความซับซ้อน มีการชิงจังหวะ และมีเรื่องของ “ความโลภความกลัว” ตลอดเวลา ในบทความนี้ของเราจึงอยากจะนำเสนอดัชนีตัวหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์ความโลภความกลัวของนักลงทุนในขณะนั้น เพื่อที่เราจะสามารถเข้าใจอารมณ์ของคนส่วนใหญ่ในตอนนั้นและนำมาประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นักลงทุนคือคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น
ไม่ว่าจะมีประสบการณ์ลงทุนยาวนานแค่ไหน มีเงินมากแค่ไหน ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเราต่างมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ดีใจ เสียใจ ตกใจ ความโลภและความกลัว ซึ่งอารมณ์เหล่านี้มีส่วนที่คอยผลักดันราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ให้ขยับสูงขึ้นหรือลดลงอยู่ตลอดเวลาตามภาพประกอบด้านล่างนี้
ดัชนีวัดอารมณ์ของนักลงทุนที่ชื่อว่า Fear & Greed Index
สำหรับเครื่องมือการวิเคราะห์อื่น ๆ ไม่ใช่เรื่องยากที่จะวัดเป็นตัวเลข หรือตรวจนับได้แบบ Quantitative แต่การวัดอารมณ์ของคนเรานี่สิยาก ว่าค่าไหนถึงจะเรียกว่าอารมร์ใด วัดด้วยเครื่องใด แล้วจะนำมาวิเคราะห์อย่างไร แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะมีคนทำไว้ให้เราหมดแล้ว เพียงแต่เราจะต้องมาศึกษาและทำความเข้าใจเท่านั้นเอง Fear & Greed Index หรือดัชนีวัดความโลภความกลัว
ทำไมต้องดู Fear & Greed Index และดูอย่างไร
จงกลัวในขณะที่คนอื่นกล้า และจงกล้าในขณะที่คนอื่นกลัว คำพูดง่าย ๆ เช่นนี้มาจากนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลกท่านหนึ่ง เพราะตลาดการลงทุนเป็นเรื่องของผลประโยชน์ เวลาปกติที่ราคาขึ้นก็จะมีความสุขไปด้วยกัน Win-Win ทุกฝ่าย แต่เมื่อตลาดอยู่ที่จุดสูงสุดหรือต่ำสุด มันคือการเปลี่ยนถ่ายทรัพยากร เกิดการช่วงชิงจังหวะถ่ายของถ่ายเงินไปมา วิธีปกติที่ใช้จึงไม่สามารถใช้ได้ในช่วงที่ผิดปกตินี้ การวิเคราะห์อารมณ์ตลาด วิเคราะห์คนส่วนใหญ่หรือคนส่วนน้อยจึงมีความจำเป็นขึ้นมาทันที
ส่วนวิธีการดู Fear & Greed Index นั้นจะคล้ายกับการดู RSI ในเทคนิคอลเลยเพราะมีค่าตั้งแต่ 0-100 ค่าใกล้ 0 แปลว่าความกลัวสุดขีด ค่าใกล้ 100 แปลว่าโลภสุดขีด เราจึงลองนำหลักการ “จงกลัวในขณะที่คนอื่นกล้า และจงกล้าในขณะที่คนอื่นกลัว” มาใช้ทำให้เราจะเลือกสนใจเฉพาะค่าที่สุดเป็นพิเศษและต่ำเป็นพิเศษ คือสูงกว่า 90 และต่ำกว่า 10 ถึงจะเลือกพิจารณา นอนนั้นเรามาสนใจ หลังจากนั้นอาจจะนำกลยุทธ์เทรดสวนแนวโน้มมาใช้ก็ได้ สามารถติดตามดูใน Quantable ได้ใน EP เก่า ๆ ที่เราเคยศึกษาเอาไว้ให้ครับ
Bitcoin ก็มี Fear & Greed Index
สินทรัพย์ที่มีความผันผวนอย่าง Bitcoin ก็มีการสร้างดัชนีความโลภความกลัวเช่นกัน และจากสมมติฐานของเราก็ใช้ได้ผลดีเสียด้วย
ตัวอย่างหน้าของ Fear & Greed Index ใน Bitcoin เส้นสีเขียวด้านล่างคือระดับ 10 เส้นสีแดงด้านบนคือระดับ 90 วิธีดูและตีความง่าย ๆ คือลงต่ำแถว ๆ 10 แปลว่า Bitcoin เข้าสู่ช่วงกลัวสุดขีด อาจจะมามีการปรับตัวของราคาลงมาเยอะ มีคนขายเยอะ หรือเข้าสู่ภาวะขาลง เป็นต้น เมื่อ Fear & Greed Index อยู่ระดับนี้เดี๋ยวเราไปดูกันว่าราคาหลังจากนั้นมี Action อย่างไร
จะสังเกตุได้ว่า เมื่อดัชนีลงมาแตะกรอบล่าง หลังจากนั้นราคา Bitcoin ก็มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในภาพจุดที่ดัชนีแตะเลข 10 คือจุดที่เป็นรูปกด Like ซึ่งมีทั้งหมด 5 ครั้ง ราคาดีดขึ้นจากจุดต่ำสุดไปถึงจุดสูงสุดดังนี้
- ครั้งที่ 1 + 70%
- ครั้งที่ 2 +45%
- ครั้งที่ 3 +310%
- ครั้งที่ 4 +25%
- ครั้งที่ 5 +300%
- ครั้งที่ 6 ภาวะปัจจุบัน(รอตลาดเฉลย)
ส่วนช่วงที่ Fear & Greed Index แตะระดับ 90 จะถือเป็นช่วงที่ความโลภเข้าครอบงำตลาด เราลองมาดูกันว่าหลังจากนั้นราคา Bitcoin มี Action อย่างไร
- ครั้งที่ 1 ราคาลงไป 40%
- ครั้งที่ 2 ราคาลงไป 45%
Fear & Greed Index ไม่ใช่สัญญาณซื้อขายแต่เป็นจุดพิจารณาเท่านั้น
ดัชนีนี้ในมุมมองของเราไม่ใช่สัญญาณซื้อหรือขาย แต่มันเป็นเพียงสิ่งที่มุมมองและอารมณ์ตลาดในตอนนี้ เพื่อเตือนเราล่วงหน้าว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์กลับทิศทางของราคารึเปล่า คล้ายกับการเกิด Momentum Divergence เพราะฉะนั้นจึงเป็นเครื่องมือในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจที่ดี ไม่ใช่ Buy & Sell Signal ครับ ส่วนนักลงทุนท่านใดอย่างลงลึกศึกษาถึงวิธีการคำนวณเบื้องต้นสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งนี้เลยครับ https://alternative.me/crypto/fear-and-greed-index/
ZIPMEX
ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast