Quantable Podcast EP4 : หาก Technical มันยากไปหันมาลองใช้ Asset Rotation Strategy กันไหมพวกเรา?
ในบทความเก่า ๆ ของเราหากพูดถึงเรื่องกลยุทธ์การลงทุนก็มักจะพูดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคเพราะเป็นสิ่งที่หลายคนสนใจกันมากเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถนำไปประยุกต์และปรับใช้ได้ทันทีเนื่องจากบางครั้งอาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ต้องทำความเข้าใจ หรืออาจต้องฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ เกิดประสบการณ์มากขึ้น ยิ่งถ้าเราไม่ได้สนใจชื่นชอบการลงทุนขนาดนั้นแถมไม่มีเวลามาเช็คพอร์ตตลอดเวลาด้วยมีแนวทางไหนที่ไม่ได้ซับซ้อนพอแต่ที่จะให้ผลตอบแทนที่ “พอเหมาะพอควร” ในวันนี้เราจะมาแชร์สิ่งนั้นกันครับ
Asset Rotation Strategy
คำ ๆ นี้หลายคนไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตอาจจะไม่เจอ แต่จะเจอคำสองคำที่คล้ายคลึงกัน คือ Asset Allocation และ Sector Rotation มากกว่าซึ่งทั้งสองคำมีความหมายดังนี้
Asset Allocation หมายถึง การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) คือ การวางแผนกระจายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Assets) หรือหลักทรัพย์ (Securities) หลายประเภทที่แตกต่างกันไปเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนระยะยาว (Long – term Investment Goal) โดยการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนจะพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Return) จากหลักทรัพย์แต่ละประเภทเพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนและระยะเวลาที่ต้องการลงทุน(นิยามจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
Sector Rotation หมายถึง เปลี่ยนกลุ่มหรือการสลับกลุ่มอุตสาหกรรมในการลงทุน โดยอาจจะเปลี่ยนกลุ่มหุ้นที่เน้นการลงทุนไปตามรอบหรือวงจรของเศรษฐกิจ ตามการเติบโต ตามฤดูกาล เป็นต้น โดยจะให้ความสำคัญกับสองปัจจัยคือ Sector Selection และความถี่ในการสลับ เช่น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี ก็จะโยนเงินไปตามกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ
Asset Rotation คือการหมุนวนหรือการสลับสินทรัพย์เพื่อลงทุน
จากการนำสองคำมารวมกันเราก็จะได้ความหมายใหม่คือการพยายามแสวงหาสินทรัพย์ลงทุนที่มีโอกาสเติบโตหรือสร้างผลตอบแทนในอนาคตและหมุนวน สลับลงทุน ตามความถี่ต่าง ๆ ที่เราคิดว่าเหมาะสม วิธีการแบบนี้เหมือนจะง่าย ใครที่ปวดหัวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อจับจังหวะเข้าลงทุน พอมาเจอการ Rotation จึงเข้าใจว่าต้องง่ายแน่นอนเพราะเราแค่ Fix ความถี่ไปเลยว่าจะสลับสินทรัพย์ลงทุนในช่วงไหน เพียงแค่คาดการณ์อนาคตสินทรัพย์นั้นให้ได้ก็คงพอแล้วมั้ง แต่ผมต้องขอบอกว่า…ผิดครับ อิอิอิ อยากให้ทุกคนลองดูภาพประกอบนี้ดูก่อนครับ
(ที่มา Guide to the markets จาก J.P.Morgan ข้อมูล ณ วันที่ 30 September 2020)
ภาพด้านบนคือผลตอบแทนของสินทรัพย์ขนาดใหญ่ ๆ ทั่วโลก เช่น ตลาดหุ้นประเทศพัฒนา, ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา, อสังหา, Fixed Income, High Yield Bond เป็นต้น ว่าแต่ทำไมไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัลเข้าไปด้วยนะเนี่ย งอนได้มั้ย…ตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบันเราจะเห็นว่าสินทรัพย์แต่ละชนิดมี % การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน ถามจริงๆว่าเราจะเชื่อมั่น 100 % ได้ยังไงว่าสินทรัพย์ไหนจะมาในปีถัดไป หรือสินทรัพย์อื่นๆ จะไม่แซงหน้าได้กำไรดีกว่าสิ่งที่เราเลือก เพราะจากตารางนี้ดูผ่านๆ ก็เหมือน Random พอสมควร ฉะนั้นเราจึงต้องมีการ Selection สินทรัพย์ของเราให้ดีก่อนซึ่งเทคนิคการ Selection นั้นทุกคนน่าจะพอหาข้อมูลได้ไม่ยากแต่ในวันนี้เราอยากจะนำเสนออีกมุมมองในการคัดเลือกสินทรัพย์ลงทุนที่เรียกว่า Factor Rotation ซึ่ง Factor ที่ต่างประเทศนำมาใช้มีเยอะแยะมากมายตามรูปประกอบด้านล่างพร้อม Factor Performance ในแต่ละปี
จากรูปเราจะเห็นว่า Factor ไหนที่โดดเด่นเป็นพิเศษยกตัวอย่างเช่น ในปี 2020 นี้ Factor Momentum ให้ผลตอบแทนถึง 18.5 % และ Avg.Return ก็เป็น Factor Momentum เช่นเดียวกันที่ชนะทุกปัจจัยเพราะบวกไปถึง 11 % จึงเป็นที่มาของการทดสอบในเชิง Quantitative เพื่อหา Information มาให้นักลงทุนทุกคนตามคอนเส็ปรายการ Quantable ครับ
Rotation สินทรัพย์ตาม Momentum Factor ในสินทรัพย์ทั่วโลกรวมทั้ง Cryptocurrency
เราตั้งสมมติฐานแบบนี้ครับ กำหนดช่วงเวลาในการสลับสินทรัพย์ตามความถี่ดังต่อไปนี้ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อหาว่าความถี่ประมาณไหนให้ผลลัพธ์และข้อมูลอะไรกับเราบ้าง โดยเราจะจัดอันดับสินทรัพย์หรือจัด Score จากปัจจัยด้านโมเมนตัมและแบ่งเป็นสองกรณีตามความเชื่อที่แตกต่างกัน
- สินทรัพย์ที่ขึ้นแรงกว่ากลุ่มคือมีโมเมนตัมดี มีการเติบโต น่าจะดีในอนาคต
- สินทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงและขึ้นช้ากว่ากลุ่มคือโอกาสในการเข้าซื้อของถูก น่าจะได้กำไรมากในอนาคต
ช่วงเวลาที่ทำการทดสอบคือ 1/1/2015 – ปัจจุบัน เงินลงทุนตั้งต้น 1 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย 0.2 % เรามาดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกันครับว่าเป็นอย่างไร
ตารางด้านบน (Asset Class Rotation (Bottom Rate of Change)) ความเชื่อตามข้อสอง คือชอบซื้อของถูกสินทรัพย์ที่ Under Perform หรือมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่น้อยกว่าสินทรัพย์อื่น ส่วนตารางด้านล่าง (Asset Class Rotation (Top Rate of Change)) ความเชื่อตามข้อหนึ่ง คือของซื้อสินทรัพย์ที่โมเมนตัมดี Out Perform ตลาด จากสิ่งที่ได้เราสรุปเป็นข้อๆดังนี้ครับ
- ยิ่ง Rotation บ่อยแค่ไหนผลตอบแทนก็จะลดลงเท่านั้น เพราะเหมือนเป็นการชิงสุกก่อนห่ามทำให้ผลตอบแทนโดยรวมน้อยลง
- ยิ่ง Rotation บ่อยจะเกิดต้นทุนในการทำธุรกรรมที่มากเกินไป ยกตัวอย่างการเปลี่ยนสินทรัพย์เดือนละครั้งจะมีต้นทุนถึง 21.22 % และ 14.05 % ถ้าเทียบกับพอร์ตการลงทุนของคุณเอง
- การปล่อยให้สินทรัพย์แต่ละชนิดมีช่วงเวลาในการพิสูจน์ตัวเองให้ผลกำไรเฉลี่ยคุ้มค่ามากกว่าถ้าเทียบกับการขาดทุนเฉลี่ย (Avg.Profit/Loss %)
- การคัดสินทรัพย์เข้ามาอยู่ในตะกร้า สินทรัพย์นั้นต้องมีโอกาสในการเติบโตที่ดี สาเหตุที่ผลลัพธ์นี้สามารถชนะตลาดได้แม้จะทดสอบในช่วงที่ยากลำบากของตลาดหุ้นโดยรวม มาจากสินทรัพย์ดิจิทัลที่เติบโตขึ้นมากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา
- Momentum Factor ให้ผลดีและมีแรงเฉื่อยในระยะสั้น ที่ผมพูดแบบนี้เพราะจากข้อมูลที่เห็นจะพบว่าเมื่อเราสลับสินทรัพย์แบบรายเดือน รายไตรมาส และครึ่งปีนั้น การจัด Score ตาม % การเปลี่ยนแปลงของราคา ยิ่ง % การเปลี่ยนแปลงเยอะ Score ยิ่งดี พอร์ตการลงทุนของสามารถเติบโตดีกว่าการเลือกสินทรัพย์ที่ Under Perform อย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเราสลับสินทรัพย์ปีละครั้งกลับให้ผลที่ตรงข้ามกัน คือการเลือกสินทรัพย์ที่ Under Perform ในปีก่อนมีแนวโน้มที่อาจจะพลิกกลับมาได้ในอนาคต หรือมองในอีกมุมหนึ่งคือในระยะยาว Factor อื่นๆ น่าจะมีอิทธิพลมากกว่า เช่น Value Factor เป็นต้น
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ Asset Rotation ตามแบบฉบับของ Quantable ไม่ได้ยากเกินไปใช่ไหมเอ่ย (หรือยากกว่าใช้ Technical Analysis อีก) ในมุมของการหา Information เพื่อมานำเสนอให้นักลงทุนทุกคนยากอยู่แล้วครับ เพราะสิ่งที่เราสื่อออกไปเราอยากให้ครบถ้วนทุกมุมเท่าที่พื้นที่ในการนำเสนอของเรามี แต่การนำไปศึกษาและต่อยอดของทุกคนจะไม่ได้ยากแบบนี้หรอกครับเพราะเราปูพื้นฐานเบื้องต้นให้ทุกคนแล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
Noted: แจกไฟล์ และ Code จากคุณต้อง ที่พูดถึงในรายการ DOWNLOAD
ที่มา : https://zipmex.co.th/learn/asset-rotation-strategy
ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast