Quantable Podcast EP19 : ตะลุยเทรดฝ่าทุกวิฤติการเงินในแบบฉบับ Quantable

ในโลกของการลงทุนที่มีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงและคาดการณ์ได้ค่อนข้างยากในระยะสั้น อีกทั้งยังมีโอกาสเข้ามาอยู่ตลอดเวลา (ความเสี่ยงด้วยเช่นกัน) ฉะนั้นนักลงทุนที่ Smart คือคนที่จับโอกาสเท่าที่จำเป็น ไม่ใช่จับหมด คว้าหมดทุกโอกาส ทุกสถานการณ์ เช่น ตลาดภาพรวมจะเป็นอย่างไร ขาขึ้น ขาลง ไซด์เวย์ เราก็จะลุยอยู่ตลอดเวลา เพราะเรามีความเชื่อว่าการที่สามารถผ่านได้ทุกด่าน ลุยได้ทุกสถานการณ์จะกลายเป็นนักลงทุนหรือเทรดเดอร์ที่เก่ง แต่ในความเป็นจริงเราไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นก็ได้ เราเลือกได้อยู่แล้วว่าสินทรัพย์ไหนเรามีความเข้าใจ ภาวะตลาดแบบไหนเหมาะสมกับตัวเรา และตลาดแบบไหนที่เราควรเลี่ยง เราเข้ามาทำเงินบางครั้งไม่จำเป็นต้องเท่ในสายตาคนอื่นก็ได้ครับ

เล่นไปตามทิศทางลม

ตลาดขาขึ้นแปลว่าสินทรัพย์นั้นมีโอกาสขึ้นมากกว่าลง ตลาดขาลงแปลว่ามีโอกาสลงมากกว่าขึ้น จากนิยามสั้นดังกล่าวเราก็พอจะเห็นภาพแล้วว่า ถ้าเราเป็นนักลงทุน การถือสินทรัพย์นั้นเอาไว้ผ่านช่วงเวลาดังกล่าว โอกาสบวกมากกว่าลบ แม้การขึ้นหรือลงจะไม่ได้เป็นเส้นตรง แต่อย่างน้อยแนวโน้มและทิศทางลมก็ยังเข้าข้างเราอยู่ดี ในบทความความนี้เราจึงอยากจะนำเสนอมุมมองที่ลึกขึ้นว่าการเล่นสวนทิศทางลมมันเหนื่อยแค่ไหน คิดง่าย ๆ ว่าเราจะว่ายน้ำสวนคลื่นลมดูก็ได้ครับ แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว

สิ่งที่เราหยิบมานำเสนออาจดูไม่สมเหตุสมผลในการการปฎิบัติจริงเท่าที่ควร เพราะเราจะหยิบยกปีที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรง ๆ เป็นขาลง มีการปรับตัวลงของดัชนีมาก ๆ แล้วตีความว่าปีนั้นเป็นปีที่เลวร้ายในตลาดหุ้น ซึ่งในความเป็นจริงการที่จะรู้ได้ว่าปีไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร ก็ต่อเมื่อมันผ่านไปแล้วเท่านั้น การจะหลีกเลี่ยงหายนะล่วงหน้าเหมือนเห็นอนาคตจึงเป็นไปไม่ได้เลยในการลงทุน แต่สิ่งที่เราจะสื่อก็คือว่าในปีที่เลวร้ายในการลงทุนเราจะต้องพบเจออะไรบ้าง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวเตรียมใจได้ว่า ในวันหนึ่งถ้าตลาดเลวร้ายขึ้นมาอีก เราจะได้ไม่ตกใจเพราะเราเคยเห็นมาบ้างคร่าว ๆ แล้วครับ

(Set Index ในภาพใหญ่ Monthly Chart)

เมื่อเราพยายามเทรดสวนแนวโน้มใหญ่แล้วยังใช้กลยุทธ์เดิม

เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ได้ดีในอดีตอาจจะใช้ไม่ได้แล้วในวันนี้ สิ่งที่ Smart Investor ทำคือการวิเคราะห์สถานการณ์ เลือกเครื่องมือที่ถูกต้อง และลุยตามแผนที่วางเอาไว้ แต่ในบทความนี้เราจะใช้เครื่องมือง่าย ๆ ที่นักลงทุนหลายท่านใช้กันเพราะใช้ได้ดีพอสมควรในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ในคือ MACD แต่เราจะเอามาใช้เป็นสัญญาณซื้อขายในปีที่เลวร้ายสำหรับตลาดหุ้นไทย อย่างปี 1996, 1997, 1998, 2008, 2019 ว่าหน้าตาของพอร์ตเราในปีนั้น ๆ จะเป็นอย่างไรกันบ้าง

ตะลุยเทรดในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง 

ในปี 1996 หรือ 2539 เกิดวิกฤติครั้งใหญ่ในบ้านเรา ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงเป็นอย่างมาก หากเราเริ่มต้นลงทุนต้นปี 1996ถึงสิ้นปี 1996 ด้วยสัญญาณซื้อจากจาก MACD ในช่วงที่ตลาดไม่เอื้ออำนวยแบบนี้ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร

จากพอร์ต 1 ล้านบาทช่วงต้นปี มีกำไรขาดทุนบ้างในช่วงครึ่งปีแรก หลังจากนั้นก็ลง ๆ อย่างเดียว จบปีเงินเหลือ 890,000 บาท และมี Max DD% อยู่ที่ 25% ภายในหนึ่งปี

ในปี 1997 ก็โหดร้ายไม่แพ้กัน เพราะเปิดฉากต้นปีที่พอร์ตลงอย่างเดียวเลย แม้จะมีสัญญาณซื้อขาย มีการแบ่งเงิน มีการ Scan ต่าง ๆ แล้วก็ไม่อาจฝืนทิศทางลมขนาดใหญ่ได้ จากหนึ่งล้านลงมาเหลือ 580,000 บาท คิดเป็น Max DD% กว่า 45% ในหนึ่งปี

ในปีนี้ตลาดสะบัดพอสมควร หุ้นรายตัวก็เช่นกัน สังเกตุได้จากกราฟเงินทุนที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ในช่วงต้นปีแล้วถดถอยลงไปต่ำสุดเดือนสิงหาคมก่อนจะดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้าย จบปีเหลือเงิน 790,000 บาท Max DD% 43%

ตะลุยเทรดในช่วงวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐ ฯ ช่วงปี 2008 ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นเดียวกัน ในตอนต้นปีก็เหมือนจะดี บวกลบนิดหน่อย พอกลางปีตลาดเริ่มเอาไม่อยู่ หุ้นรายตัวพากันลงแรง พอร์ตรวมจึงติดลบทันที จบสิ้นปีเหลือเงิน 740,000 บาท Max DD% อยู่ที่ 32%

ตะลุยเทรดในช่วงวิกฤติ Covid-19

ช่วงโควิด 19 นี้เริ่มชัดเจนตอนปี 2020 ที่มีข่าวการระบาดอย่างจริงจัง แต่รู้หรือไม่ครับว่าตลาดหุ้นไทยเหมือนรู้ล่วงหน้าชิงลงก่อนเพื่อนตั้งแต่กลางปี 2019 สังเกตุจากพอร์ตที่ค่อย ๆ สูงขึ้นในช่วงต้นปีถึงกลางปี บวกไปเกือบ 10% แต่แล้วก็วกกลับเป็นตัว V กลับหัวจนจบปีที่ 930,000 บาท Max DD% 15%

การศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของคน 

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วล้วนมาจากผลลัพธ์ของการตัดสินใจจากมนุษย์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดการลงทุน ฉะนั้นการพยายามศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้เรามีความเข้าใจที่มากขึ้นว่า ในช่วงเวลานั้นเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นั้น คนส่วนใหญ่ต้องพบเจออะไร และพวกเขา Action กันอย่างไรในสิ่งที่เกิดขึ้น สุดท้ายของผลลัพธ์เป็นอย่างไร ทั้งหมดนี้เพื่อให้เราเข้าใจพฤติกรรมของนักลงทุนหรือจิตวิทยามวลชนเพราะในการลงทุนในอนาคตเราจะต้องดีลกับอารมณ์ของตัวเองและอารมณ์ของตลาดอยู่ตลอดเวลาครับ

พิเศษ!!

อ่านบทความ “หาจังหวะลงทุนบนดัชนี S&P500 ด้วย Sentiment Indicators” โดย TongTanapat
ได้ที่ : https://link.medium.com/vmYqrAV51fb

ZIPMEX


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast

TSF2024