เหตุใดจึงควรจับตามองไปที่ประเทศจีน? สำหรับตำแหน่งผู้นำด้าน Bitcoin

Bitcoin เริ่มเปิดตัวและเป็นที่รู้จักครั้งแรกในเดือนมกราคม ปี 2552 จนตอนนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าตลาดสูงมาก ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 8,300 USD ต่อ 1 BTC ซึ่งยังคงมีความผันผวนอยู่พอสมควร ส่วนประเทศจีนนั้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งใน Hub ที่ใหญ่ที่สุดในด้านการขุด Bitcoin

เทคโนโลยี Blockchain และ Bitcoin นั้นเป็นที่นิยมอย่างงรวดเร็ว ซึ่งทำให้มีการพัฒนาต่อยอดไปสู่การกำเนิดเหรียญใหม่ ๆ (Altcoins) และ Open Source Blockchains ต่าง ๆ ตามมาด้วยการระดมทุนรูปแบบใหม่ที่ฉีกกฎการระดมทุนแบบเดิม ๆ หรือที่เรียกกันว่า ICO

อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนั้นประเทศจีนเองได้พยายามปิดกั้นการ ICO อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2560 พอมาตอนนี้เมื่อพวกเขาเข้าใจเทคโนโลยีมากขึ้นก็ได้หันหน้าเข้าหา Blockchain และ Bitcoin กันอย่างต่อเนื่องจนในประเทศจีนนั้นเป็นเจ้าของสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain จำนวนมาก พวกเขาเชื่อและเฝ้ารอว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะพาพวกเขาไปได้ไกลแค่ไหนในอนาคต พวกเขาตื่นตัวและมองเรื่องนี้เป็นเหมือนกับวาระแห่งชาติเลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันในประเทศจีนมีโครงการกว่า 500 โครงการที่ลงทะเบียนกับรัฐบาล

ประเทศจีน+สินทรัพย์ดิจิทัล

จริงอยู่ที่ประเทศจีนพยายามกีดกัน ICO ทั้งหมดแต่ไม่ได้กีดกันเหรียญทุกชนิด ทำให้ผู้ที่สนใจเริ่มที่จะทำการขุด Bitcoin จนกลายเป็น Hub ขนาดใหญ่ บ้างก็เทรด Bitcoin เป็นสินค้าเก็งกำไร และก็นำมาเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallets) การขุดเหรียญนั้นคือการช่วยคอนเฟิร์มการทำธุรกรรมบิทคอยน์ (Confirm Transaction) และทำการบันทึกลงไปในสมุดบัญชีกลางหรือ General Ledger ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทั้งทรัพยากรคือไฟฟ้ารวมถึงพลังงานคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงถึงจะสามารถถอดสมการต่าง ๆ ออกมาได้

จีนเองมีความชื่นชอบและสนใจเทคโนโลยี Blockchain แต่สิ่งที่พวกเขาระมัดระวังเป็นพิเศษคือมิจฉาชีพที่พยายามแฝงตัวเข้ามาหากินกับความรู้เท่าไม่ถึงการของนักลงทุนผ่าน ICO ที่ขาดความน่าเชื่อถือและตรวจสอบอะไรแทบไม่ได้เลย ในเดือนตุลาคม ปี 2562 ประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ก็ได้ตัดสินใจที่จะจริงจังและโฟกัสไปที่เทคโนโลยี Blockchain อีกด้วย

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหรียญหรือเงินสกุลดิจิทัลทั้งหลายอย่างที่แยกกันแทบไม่ได้เลย ประเทศจีนได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้ในด้านต่าง ๆ เช่น AI หรือปัญญาประดิษฐ์, 5G เป็นต้น แต่ด้วยการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Blockchain ทุกคนก็เชื่อได้อย่างสนิทใจว่าด้วยทรัพยากรที่จีนมีจะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องนี้แน่นอน

ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐบาลขนาดนี้ทำให้ในปัจจุบัน 72% ของอำนาจการขุด Bitcoin อยู่ที่จีนและอาจจะสามารถครอบครองส่วนแบ่งทางด้านการขุดไว้ทั้งหมดในอนาคตก็ได้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมก็คือสถาบันการเงินของจีนนั้นมีความแตกต่างกับประเทศอื่น ๆ อยู่พอสมควร พวกเขาสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สอดรับกับนโยบายจากภาครัฐบาล ทำให้มีสถาบันเกิดใหม่หรือธนาคารคริปโตฯ เปิดตัวมาได้อย่างรวดเร็วหากพวกเขามีการวางแผนและวางกลยุทธ์เอาไว้เป็นอย่างดีแล้ว

กิจกรรมที่เกี่ยวกับ Blockchain ในประเทศจีน

แทบทุกองค์กรในจีนให้การยอมรับเทคโนโลยี Blockchain พวกเขาเห็นถึงประโยชน์และพยายามจะนำประโยชน์เหล่านั้นมาปรับใช้กับธุรกิจตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่ในอุตสาหกรรมการเงินที่เก่าแก่ที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่ง ในอดีตธุรกรรมการเงินจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ แต่ความเป็นจริงตัวกลางสามารถเข้าถึงทุก ๆ ธุรกรรมได้ทันที ตลอดเวลา ถ้ามีมิจฉาชีพที่เข้าถึงข้อมูลจากตัวกลางเหล่านั้นจะเกิดความเสียหายมากมายที่ตามมา แต่ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ปัจจุบันได้ตัดตัวกลางทิ้งไปและกระจายอำนาจรวมถึงข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดออกสู่สาธารณะ พูดง่าย ๆ คือทุกคนสามารถช่วยเป็นหูเป็นตาได้ตลอด และพัฒนามาจนทำให้เราสามารถนำทรัพย์สินต่าง ๆ เข้าระบบอย่างถูกต้องตรวจสอบได้รวมถึงจดสิทธิบัตรแสดงความเป็นเจ้าของและสามารถส่งต่อความเป็นเจ้าของให้กับนักลงทุนท่านอื่นที่ต้องการ

เนื่องจาก Blockchain ไม่มีตัวกลาง มันเป็นเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer แต่ในประเทศจีนเองที่มีลักษณะการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ทำให้มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป คือมีความรวดเร็วในการวางแผนกำหนดทิศทางและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วแต่นั่นก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการกระจายอำนาจเต็ม 100% แต่จีนเองก็พยายามคุมในเรื่องที่ควรคุม ปล่อยในเรื่องที่ควรปล่อย คือพยายาม Balance ทั้งสองเรื่องให้ลงตัวมากที่สุด

ด้วยความที่ Blockchain ยังเป็นสิ่งใหม่ ข้อจำกัดด้านการยอมรับจากคนที่ต่างวัยกันนั้นย่อมเกิดขึ้นแน่นอน เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่เข้าใจเทคโนโลยีนี้และเปิดใจยอมรับมันอยู่แล้ว แต่ลองคิดถึงคนที่อายุ 60-70 ปีสิครับ หากเราบอกเค้าว่าการฝากเงินในธนาคารคือความเสี่ยง ใครจะเชื่อล่ะจริงไหม ยิ่งในประเทศจีนเองมีกฎหมายและนโยบายที่เป็นของตัวเอง ทำให้ใครก็ต้องที่ต้องการจับกระแสและเติบโตไปกับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ต้องศึกษากฎหมายและนโยบายในประเทศมาเป็นอย่างดี

อีกเหตุผลหลักที่หลายคนยังไม่กล้าเปิดใจยอมรับเทคโนโลยีนี้คือเรื่องของความกลัว พวกเขากลัวเงินหาย กลัวถูก Hack ถูกขโมย หรือแม้กระทั่งพวกเขากลัวที่จะทำ Wallet หรือ Key ของตัวเองหายไป การเก็บเงินไว้ในธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางจึงให้ความรู้สึกปลอดภัยคลายกังวลมากกว่าเป็นไหน ๆ

แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่นี้นะครับ บางประเทศมองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลคือภัยคุกคามระดับชาติและพยายามกีดกัดอย่างที่สุด ฉะนั้นการที่ Blockchain จะแพร่หลายเหมือน Internet ที่เข้าถึงทุกซอกทุกมุมบนโลกอาจจะต้องใช้เวลากว่าศตวรรษหรือนานกว่านั้น

อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน หลายคนมองว่าวันนี้ Blockchain เป็นที่รู้จักแต่วันหนึ่งอาจจะเงียบหายไปหากมันไม่มีประโยชน์พอและขาดประสิทธิภาพที่ดีเพียงพอ ผู้คนต้องการความปลอดภัยเพราะลึก ๆ แล้วคนกังวลมากหากเรื่องนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง เงิน พวกเขาจะไม่เอาเงินไปวางในที่ที่พวกเขาไม่เชื่อมั่น แต่รัฐบาลจีนไม่ได้มองเทคโนโลยีนี้ว่าเป็นภัยคุกคามแต่ด้วยความไม่ประมาทพวกเขาก็มีความเข้มงวดในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมเอกชนเต็มที่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่มี ทำให้หลายบริษัทเติบโตมากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น บริษัท Bitmain ที่ตั้งอยู่ในฮ่องกงพวกเขากินส่วนแบ่งการตลาดจากการขุด Bitcoin จำนวนมากและนั่นทำให้พวกเขาสามารถสร้างผลกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเกี่ยวกับการขุดเหรียญนั่นก็เพราะ ทางการจีนให้พลังงานไฟฟ้าในราคาถูกซึ่งไฟฟ้าคือต้นทุนสำคัญของการขุดเลยทีเดียว นี่แหละครับความได้เปรียบด้านการแข่งขันของจีน

อุตสาหกรรมการเงินและอสังหาริมทรัพย์นั้นหากสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้จะช่วยพัฒนาต่อยอดในเรื่องต่าง ๆ ให้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แต่สองอุตสาหกรรมนี้ในช่วงแรกยังคงลังเล จนป่านนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังลังเลไม่หายที่จะนำ Blockchain มาปรับใช้กับตัวเอง ในขณะที่ภาคการเงินเริ่มตระหนักมากขึ้น สาเหตุอาจเป็นเพราะว่าพวกเขากลัวเทคโนโลยีนี้จะมาแทนที่งานของพวกเขาในอนาคต จึงทำให้ตื่นตัวมากเป็นพิเศษ พูดง่าย ๆ คือ ถ้าห้ามเทคโนโลยีไม่ได้ก็เอามาเป็นพวกเสียเลย

บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ในจีนที่มีชื่อว่า Wanxiang Group ได้พยายามตามหาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้าน Blockchain ที่ดีที่สุดเพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะของตนเอง พวกเขาเสนอเงิน 15,000 US ให้กับทีมที่ดีที่สุดและใช้เงินประมาณ 1 ล้าน US ในการระดมทุน พวกเขาพยายามรวบรวบฟังก์ชั่นการทำงานในเมืองของเขาเข้ากับเทคโนโลยี

Blockchain อีกตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือ บริษัทอีคอมเมิร์ซยักใหญ่ในจีนอย่าง Tencent ได้จับมือกับ Intel ในการใช้ Blockchain มาติดตามระบบจัดการอาหารและอื่น ๆ อีกมากมาย

สรุปแล้วก็คือบริษัททั้งเก่าและใหม่ได้พยายามหยิบเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจของตัวเองให้ก้าวหน้าและสะดวกมากยิ่งขึ้น เราเชื่อว่าในวันหนึ่งมันจะแพร่หลายเหมือนอินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ

แม้ในตอนนี้จีนจะยังไม่เปิดรับ ICO เท่าที่ควรแต่การผลักดัน Blockchain ก็ทำให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตไปได้อย่างแน่นอน เมื่อจีนสนใจและก้าวไปหลายประเทศก็อาจเริ่มสนใจและเดินตามพี่ใหญ่ก็เป็นได้ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมเราจะได้เห็นรวมถึงได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain กันอย่างเต็มที่เข้าสักวัน

Zipmex

 

TSF2024