แจ้งเตือน

กลับสู่หน้าหลัก

สมการเดียว สู่ความมั่นคงทางการเงิน

เขียนโดย ลายลักษณ์อักษร

ที่มา: สืบเนื่องย้อนกลับไปช่วงที่ผมเริ่มทำงานใหม่ ๆ ประมาณ 15 ปีที่แล้ว ในตำแหน่งวิศวกรโครงการในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้นตัวผมเองมีรายได้จากช่องทางเดียวคือเงินเดือนประมาณ 25,000 บาท และก็มีเพียงความรู้ทางด้านวิศวะในสาขาที่ร่ำเรียนมาเพียงเท่านั้น ในส่วนความรู้ทางด้านการเงินของผมในตอนนั้นน้อยมากแล้วก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนทางด้านการออมเงินมากมายสักเท่าไรนักในตอนนั้น

จุดเปลี่ยน: เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนทางด้านการออมเงินของผมคือ ผมค่อนข้างโชคดีตรงที่ตำแหน่งงานที่ผมรับผิดชอบในตอนนั้นต้องประสานงานกับหลาย ๆ หน่วยงาน เช่น หน่วยงานการเงินและบัญชี ผลที่ผมได้รับและเห็นแจ้งอย่างชัดเจนในทุก ๆ เดือน นั้นมีดังนี้

1. ได้รับทราบเกี่ยวกับการบันทึกรายรับ-รายจ่ายของบริษัทในทุก ๆ เดือน

2. ได้รับทราบการบริหารรายรับแต่ละรายรับของบริษัทที่จะได้รับในแต่ละช่วงเวลาของเดือนนั้น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาระดับกระแสเงินสด (Cash Flow) ของบริษัทให้ดูดีมีกำไรและมีเงินออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉินในแต่ละเดือน

3. ได้รับทราบการบริหารรายจ่ายในแต่ละรายจ่ายของบริษัทที่จะต้องจ่ายในแต่ละช่วงเวลาของเดือนนั้น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาระดับกระแสเงินสด (Cash Flow) ของบริษัทให้ดูดีมีกำไรและมีเงินออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉินในแต่ละเดือน

4. ได้รับทราบการขอเครดิตเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าวัตถุดิบกับ Supplier ทุก ๆ รายที่จัดส่งวัตถุดิบให้กับบริษัทของเราเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาระดับกระแสเงินสด (Cash Flow) และเครดิตของบริษัทที่ดีต่อไป

จากผลที่ผมได้รับในแต่ละเดือนดังรายละเอียด 4 ข้อด้านบนนั้น จึงทำให้ผมนำความรู้ทางด้านการบริหารการวางแผนทางด้านการออมเงินมาประยุกต์ใช้ในแบบฉบับของตัวผมเองและมีการตั้ง “เป้าหมายที่ท้าทายให้กับตัวเองไว้คือต้องมีเงินเหลือออมประมาณ 30 % ของรายได้ในทุก ๆ เดือน” ผมจึงเริ่มดำเนินการวางแผนทางด้านการออมเงินของตัวผมเองดังนี้

แผนงานการวางแผนทางด้านการออมเงิน

1. ทำการบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตัวผมเองในทุก ๆ เดือนอย่างชัดเจน

2. ทำการบริหารรายรับแต่ละรายรับของตัวผมเองที่จะได้รับในแต่ละช่วงเดือนของผมเพื่อรักษาระดับกระแสเงินสด (Cash Flow) ของตัวผมเองให้มีเงินใช้อย่างสบายไปตลอดทั้งเดือนและเหลือออมตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

3. ทำการบริหารรายจ่ายในแต่ละรายจ่ายของตัวผมเองที่จะต้องจ่ายในแต่ละช่วงเวลาของเดือนนั้น ๆ เพื่อรักษาระดับกระแสเงินสด (Cash Flow) ของตัวผมเองให้มีเงินใช้อย่างสบายไปตลอดทั้งเดือนและเหลือออมตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

4. ทำการขอเปิดใช้บัตรเครดิตที่มีลักษณะเด่นของบัตรสอดคล้องกับรายจ่ายของตัวผมเองในแต่ละเดือน เพื่อผลประโยชน์ เช่น เงินคืน ส่วนลด แต้มสะสม จากบัตรเครดิตนั้น ๆ และสร้างเครดิตทางการเงินที่ดีให้กับตัวผมเองต่อไปในอนาคต

ผลที่ได้รับจากแผนการออมเงินในแบบฉบับของผมมีดังนี้

1. มีบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตัวผมเองในทุก ๆ เดือนที่ชัดเจน

ผลที่ได้รับคือ ผมสามารถทราบได้ว่าเงินของผมในแต่ละเดือนนั้นใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง และผมจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่

2. ทำการบริหารรายรับแต่ละรายรับของตัวผมเองที่จะได้รับในแต่ละช่วงเดือนของผมเพื่อรักษาระดับกระแสเงินสด (Cash Flow) ของผมเองให้ดูดีมีเงินใช้ตลอดทั้งเดือนและเหลือเก็บออมตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

ผลที่ได้รับคือ ผมได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าการมีรายรับเพียงช่องทางเดียวในยุคสมัยนี้ อาจจะไม่เพียงพอในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน

3. ทำการบริหารรายจ่ายในแต่ละรายจ่ายของตัวผมเองที่จะต้องจ่ายในแต่ละช่วงเวลาของเดือนนั้น ๆ เพื่อรักษาระดับกระแสเงินสด (Cash Flow) ของผมเองให้ดูดีมีเงินใช้ตลอดทั้งเดือนและเหลือเก็บออมตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

ผลที่ได้รับคือ ผมสามารถรู้ได้ว่าในแต่ละเดือนผมใช้จ่ายไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่ค่อยจำเป็นสำหรับครอบครัวผม และ จะลดการใช้จ่ายในรายการนั้น ๆ ได้อย่างไร เพื่อนำเงินที่เหลือส่วนนี้ไปออมเพิ่มเติมในอนาคต

เป้าหมายเงินออม 30 % ของรายได้ในทุก ๆ เดือน

ส่งต่อเรื่องราวการเงินการลงทุนของคุณ

อ่่านเรื่องราวอื่นๆ

TSF2024