แจ้งเตือน

กลับสู่หน้าหลัก

เล่าสู่กันฟัง ลงทุนง่ายๆด้วยเงินหลัก “ร้อย”

เขียนโดย หนูแว่น.the money

สวัสดีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ FINNOMENA ทุกท่านค่ะ หนูแว่น.the money อยากแชร์บทความนี้ให้กับคนที่อยากเริ่มลงทุนแต่ยังไม่กล้า อาจด้วยความพร้อมหรือปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้คุณยังลังเลอยู่ ซึ่งนั้นทำให้คุณเสียโอกาสในการลงทุนเพื่อพัฒนาเงินของคุณไป

ปัจจัยหลักของการลงทุน คือ อัตราผลตอบแทน เวลา และ เงินทุน เมื่อขาดปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่ง ก็ไม่สามารถลงทุนได้ แต่เวลาคือปัจจัยหลักที่สำคัญในการลงทุน

“สิ่งที่ชนะผลตอบแทนสูงๆ และเงินลงทุนจำนวนมากๆ นั้นคือ ระยะเวลา

แม้เราจะเริ่มลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่สูงมากแต่หากได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ เงินก้อนเล็กๆนั้นก็จะทบต้นทวีคูณมากขึ้น กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคต ดังนั้นยิ่งเวลามากขึ้น การทบต้นทวีคูณของเงินต้นนั้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

วันนี้ขอมาแชร์คำถามที่หนูแว่นเจอบ่อย เผื่อจะตอบคำถามในใจของใครหลายๆคนที่ยังไม่พร้อมลงทุนหรืออยากจะเริ่มลงทุนได้นะคะ

Q : อยากลงทุนนะ แต่ยังไม่มีเงินก้อนเลย?

A : การเริ่มลงทุนนั้น ไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยเงินก้อนเสมอไปคะ เพราะกว่าเราจะเก็บเงินเป็นก้อนสำหรับลงทุนได้นั้นก็อาจใช้เวลานาน และในระหว่างนั้นเรายังเสียโอกาสที่จะให้ทำเงินที่เราพอจะสะสมได้เติมโตอีกด้วย แต่เงินที่นำมาลงทุนนั้นควรเป็นเงินเย็น (เงินที่ไม่ต้องรีบใช้) และให้เงินต่อเงิน ด้วยการ DCA (Dolla Cost Average) ซึ่งคือการทยอยลงทุนด้วยเงินจำนวนหนึ่งที่เท่ากันในแต่ละงวด ซึ่งเงินจำนวนนั้นจะมากหรือน้อยก็ได้ขึ้นอยู่กับกำลังที่เราสามารถใส่เข้าไปได้ ซึ่งข้อดีของการ DCA นั้นนอกจากจะใช้จำนวนเงินลงทุนไม่มากแล้ว

  • ยังเป็นกลยุทย์หนึ่งของการลงทุนที่ช่วยลดความผันผวนของพอร์ต เพราะการทยอยซื้ออย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้ราคาที่ต่างกันในแต่ละรอบทั้งราคาถูก และ ราคาแพง ดังนั้นราคาเฉลี่ยรวมจึงเป็นราคาที่ถูกลง แม้จะไม่ใช่ราคาที่ถูกที่สุด แต่ก็เป็นราคาเหมาะสม และไม่ต้องคอยเฝ้าติดตามราคา

  • ช่วยสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง ด้วยราคาเฉลี่ยที่เป็นกลาง ไม่แพงที่สุดและไม่ถูกที่สุด ทำให้แม้ภาวะตลาดขาลง พอร์ตการลงทุนของเราก็จะไม่ติดลบมากอย่างน่าใจหาย

  • ไม่ต้องคำนึงภาวะตลาด และจังหวะในการเข้าซื้อ เพราะการ DCA คือการทยอยซื้อเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในภาวะตลาดขาลง หรือตลาดขาขึ้น ซึ่งราคาที่ซื้อมาได้นั้นจะเฉลี่ยเป็นราคากลางที่เหมาะสม

  • การ DCA นั้นยังช่วยสร้างวินัยในการออมและการลงทุน ด้วยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเหมือนการออมนั้นเอง

ซึ่งกลยุทย์การลงทุนแบบ DCA นั้นสามารถใช้ได้ทั้งกับหุ้นและกองทุน สำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์การลงทุน เราแนะนำให้เริ่มลงทุนจากกองทุนก่อนเพราะกองทุนรวมนั้นลงทุนง่ายสามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 1 บาทก็มี และยังมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแลและจัดการลงทุนให้เราอย่างมืออาชีพ อีกทั้งระดับความเสียงที่เลือกได้ตามใจชอบ ตั้งแต่ 1 ถึง 8 ขึ้นอยู่กับประเภททรัพย์สินหลักที่กองทุนรวมนั้นลงทุน นอกจากนี้กองทุนยังได้รับสิทธิ์ประโยชน์ในการ “ลดหย่อนภาษี” อีกด้วย

Q : พอมีเงินเก็บอยู่บ้าง แต่ไม่รู้จะเริ่มลงทุนยังไงดี?

A : แนะนำให้เริ่มจากการทำแบบประเมินความเสี่ยง (Suitability Assessment) ก่อนคะ เราจะได้รู้ความสามารถในการรับความเสี่ยงของเรา เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุนที่เหมาะสม

สำหรับมือใหม่ที่ยังกล้าๆกลัวๆอยู่ ก็แนะนำให้เริ่มจาก “กองทุนรวม” ก่อนค่ะ อย่างที่กล่าวข้อดีต่างๆนานาไปข้างต้น อีกทั้งผลตอบแทนที่ได้ก็น่าคบหาทีเดียว อ่าว! แล้วแบบประเมินความเสี่ยงที่ทำไปละเกี่ยวยังไง? แบบประเมินนี้สามารถใช้เป็นไกด์ไลน์ (guideline) ในการเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมกับเราได้ค่ะ เช่น ผลการประเมินระดับความเสี่ยงของหนูแว่นคือ กลุ่ม 4: นักลงทุนประเภทเสี่ยงสูง หรือรับความเสี่ยงได้ในระดับ 7 นั้นหมายความว่าหากหนูแว่นต้องการผลตอบแทนสูงจากการลงทุน หนูแว่นอาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน (ระดับความเสี่ยงกองทุน 6) หรือกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม (ระดับความเสี่ยงกองทุน 7) แต่หากหนูแว่นต้องการผลตอบแทนการลงทุนแค่ชนะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้นเงินฝากธนาคาร หนูแว่นอาจจะเลือกลองทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ (ระดับความเสี่ยงกองทุน 4)

สำหรับนักลงทุนที่มีเวลาในการศึกษาข้อมูลการลงทุน ก็สามารถเลือกลงทุนในเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุนที่เห็นสมควรได้ค่ะ ดังประโยคเด็ดที่ชอบทิ้งท้ายกันว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” ยิ่งเสี่ยงมาก ก็ยิ่ง (มีโอกาส) ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นแช่นกัน หรือที่เราอาจคุ้นหูว่า “High risk, High return” ซึ่งความเสี่ยงในที่นี้ก็คือ “ความผันผวน” ว่าจะกำไร หรือขาดทุนนั้นเอง

แบบประเมินความเสี่ยง (PDF) :
https://www.tiscoasset.com/DownloadFileServlet?lang=th&product=mutualfund&uploadType=attach&fileName=risk_profile_questionnaire_individual_th.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง: รู้จักการลงทุนแบบต่างๆ และการลงทุนแบบไหนเหมาะกับเรา https://www.finnomena.com/investment-reader/know-investment-style/

Q : กลัวเงินหายวับไปกับตา ไม่ลงทุนได้ไหม?

A : นั่นหมายความว่าคุณรับความเสี่ยงได้น้อยและไม่กล้าเสี่ยง เพราะกลัวขาดทุน แต่ถึงอย่างนั้นคุณก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการลงทุนได้ เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารอย่างเดียวนั้นไม่อาจชนะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นโดยประมาณปีละ 3-5% ได้ กล่าวคือเงิน 100 บาทของปีนี้จะมีค่าเพียง 95 – 97 บาทในปีหน้า ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยธนาคารเพียง 1-2% ต่อปี จะเห็นได้ว่าต่อให้ฝากเงินในธนาคาร มูลค่าของเงินก็ลดลงอยู่ดี ฉะนั้นการลงทุนจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ยังคงมูลค่าของเงินไว้ไม่ให้ลดลง อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการทำให้เงินเติบโตเพื่อสร้างความมั่งคั่งอีกด้วย แต่หากผลตอบแทนของการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุนที่ระดับความเสี่ยงต่ำนั้นอาจจะเพียงแค่ชนะเงินเฟ้อเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำให้เงินของคุณเติบโตขึ้นได้ ดังนั้นวิธีที่แนะนำคือ การออกแบบพอร์ตการลงทุน (Asset Allocation) ให้มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และยังช่วยสร้างผลตอบแทนโดยรวมในระดับที่คุณยอมรับได้

ส่งต่อเรื่องราวการเงินการลงทุนของคุณ

อ่่านเรื่องราวอื่นๆ

TSF2024