สถานการณ์สงครามและภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากทาง Fed ณ ขณะนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อนักลงทุนและกองทุนจำพวก ETF ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการลงทุนในธุรกิจแห่งโลกอนาคต ด้วยนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น และเป็นครั้งแรกที่นโยบายทางการเงินไม่ได้มีนโยบายสนับสนุนหุ้นประเภทเทคโนโลยี เหล่ากองทุนแห่งโลกอนาคตจะสามารถปรับตัวและรับมือกับเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร ติดตามสถานการณ์ได้ในบทความนี้
สถานการณ์ปัจจุบันและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาพรวมเศรษฐกิจในมุมมองของ UOBAM
ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นและการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลกับการรับความเสี่ยงของนักลงทุน และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวลง และเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงตามมา ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงมองว่าการลงทุนที่เกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือยอาจมีความเสี่ยงสูง และต้องระมัดระวังในการลงทุน ประกอบกับนโยบายทางการเงินที่สอดรับกับสถานการณ์และมีความเข้มงวด ภาวะเงินเฟ้อสูงที่คาดว่าอาจกินระยะเวลาไปอีก 1 ปี นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดส่งผลให้การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับอนาคตได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากนักลงทุนได้เล็งเห็นว่า เมื่อต้นทุนสำหรับการลงทุนสูงขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมองหาสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้เป็นตัวเลือกอันดับแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่กดดันเหล่ากองทุน ETF ทั้งหมด
สำหรับกองทุน UHERO เป็นกองทุนรวม ETF ที่ลงทุนในธุรกิจแห่งโลกอนาคต กล่าวคือ เน้นลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Global X Video Games & Esports ETF (กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทผู้พัฒนาและจัดจำหน่ายวิดีโอเกม การสตรีมวิดิโอเกม คอนเทนต์เกี่ยวกับอีสปอร์ต และเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต) ในช่วงที่ผ่านมามีกระแสตอบรับเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ภาวะสงครามและเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบให้กองทุน ETF ได้รับความนิยมลดลง
นอกจากนี้ ตลาดยังมีสภาพคล่องลดลง เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมาถึงจังหวะที่หยุดการกระตุ้น เหตุจากสถานการณ์โรคระบาดได้ทุเลาลง นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง COVID – 19 จึงได้มีการหยุดใช้และมีการปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นนโยบายที่ป้องกันภาวะเงินเฟ้อและมีความเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนเป็นหลัก
สถานการณ์ตลาด และคำถามสำคัญของนักลงทุน
- สถานการณ์ปัจจุบันคือ มีความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้น นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลง ความไม่แน่นอนมีเพิ่มมากขึ้น
- สงครามสร้าง Demand ให้สินค้าจำพวก New Energy เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น และก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง
- เกิดนโยบายควบคุมภาวะเงินเฟ้อขึ้น
- การลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล หรือการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยก็อาจจะได้ผลตอบแทนต่ำ
- ในส่วนของตลาดหุ้น มูลค่าตลาดโดยรวมอาจดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ว่า สถานการณ์จะดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
การคาดการณ์เกี่ยวกับประเด็นสงคราม ในฐานะนักกลยุทธ์การลงทุน
บทสรุป 3 ทางที่อาจเกิดขึ้นได้และผลกระทบต่อการเมืองแต่ละประเทศ
กรณีที่ 1 : รัสเซีย VS ยูเครน เสมอกัน
- มีการเซ็นสัญญาสงบศึก รัสเซียถอนกำลังทหารออกไป
- ยูเครนเป็นกลาง และให้พื้นที่บางส่วนแก่รัสเซีย
- ทางฝั่งยุโรปหรือ EU ทำเรื่องให้ยูเครนเข้าสู่ EU และสร้างประเทศใหม่
- ทางสหรัฐ ฯ จะอ่อนแอลงด้านการเป็นผู้นำโลกเสรี
- ข้อสังเกตคือ ไม่อาจการันตีได้ว่ารัสเซียจะไม่ทำการยึดพื้นที่อื่น ๆ อีก
กรณที่ 2 : Putin ชนะสงคราม แต่ไม่ชนะใจชาวยูเครน
- รัสเซียสามารถยึดยูเครนได้
- รัฐบาลของยูเครนต้องออกไป คะแนนนิยมลดลง
- ทางฝั่ง EU จะเลิกทำธุรกิจกับรัสเซียอย่างถาวร
- ทางฝั่งสหรัฐฯ จะเป็นผู้นำโลกที่แข็งแกร่ง
- ข้อสังเกตคือ หากรัสเซียยังไม่สามารถยึดยูเครนได้ และยังต้องอยู่ในภาวะสงครามต่อไปอีก 3 – 5 เดือนเศรษฐกิจของรัสเซียอาจล่มสลาย
กรณีที่ 3 : ยูเครนมีชัย Putin แพ้ภัยตัวเอง
- ชาวรัสเซียจะต่อต้านรัฐบาลตนเองเนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ
- ยูเครนจะสามารถยึดประเทศคืนได้จากความช่วยเหลือของ NATO
- ฝั่ง EU จะกลับมาสานสัมพันธ์กับยูเครนและรัสเซียอีกครั้ง
- สหรัฐ ฯ จะอยู่ในสถานะผู้นำโลกที่แข็งแกร่งขึ้น
ผลของสงครามในมุมมองด้านการลงทุน
- การลงทุนใน Fixed Income หรือสินทรัพย์ปลอดภัย ได้รับผลกระทบ และนักลงทุนอาจไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากได้ เนื่องจากพอร์ตการลงทุนมีความเสี่ยงและสินทรัพย์ประเภท Bond อาจทำกำไรได้ยากขึ้น
- ทองคำมีความผันผวน หากสงครามยังคงดำเนินต่อ ทองคำอาจมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนบางส่วนอาจไม่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ประเภททองคำ เนื่องจากคาดการณ์ว่ามูลค่าอาจลดลง
- Global Equity หากมีการเซ็นสัญญาสงบศึก กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศยังคงมีมูลค่าและสามารถลงทุนได้
- สินทรัพย์โภคภัณฑ์ หรือ Commodity ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ ยางพารา ถ่านหิน ข้าว น้ำตาล ข้าวโพด โลหะเงิน ทองแดง เป็นต้น นับว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความน่าสนใจในตอนนี้ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มี Value asset มีพื้นฐานโครงสร้างที่มีมูลค่าในตนเอง
ทั้งนี้ เป้าหมายของการทำ Scenario Analysis (การวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้ม) สำหรับการเลือกลงทุนในภาวะสงคราม คือ เพื่อให้นักลงทุนสามารถกระจายการลงทุนได้ทั้ง 3 สถานการณ์ในสัดส่วนที่เหมาะสมได้ และเป็นการกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์หลากหลายประเภท นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในแต่ละสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด และดูแนวโน้มสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับปรับพอร์ตต่อไป
การประเมินภาพสถานการณ์การปรับดอกเบี้ยของ Fed และ และการดำเนินการของ Jerome Powell (ประธานธนาคารกลางสหรัฐ) ในมุมมองของ UOBAM
ทาง UOBAM มองว่า จุดที่มีความน่าสนใจคือเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ย และครั้งแรกของการหยุด QE (Quantitative Easing) โดยสิ่งที่เป็นปัญหาของตลาดรอบนี้คือ ความไม่แน่นอน UOBAM เชื่อว่า ความต่างของดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับ 1 – 2% ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจ เพียงแต่สิ่งที่ตลาดไม่ชอบคือ ความไม่แน่นอนและความไม่ชัดเจนของการปรับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสิ่งที่ Powell จะดำเนินการก็คือ แถลงถึงอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน และแจ้ง timeline ของการปรับดอกเบี้ยนั่นเอง
อีกประเด็นหนึ่งคือ เรื่องของ QT (Quantitative Tightening) ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนนี้ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของปริมาณเงินที่จะลดลง และหากลดจำนวนเงินในระยะเวลาที่เร็วเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหากับตลาดได้ โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับดอกเบี้ยเป็นหลัก เช่น ตราสารหนี้ระยะยาว รวมถึงการลงทุนแห่งอนาคตก็อาจจะได้รับผลกระทบจากนโยบาย QT ด้วย
ภาพรวมการปรับอัตราดอกเบี้ยของ Fed
ปัญหาด้านเศรษฐกิจมักจะมีตัวชี้วัดหลาย ๆ ปัจจัย โดยปัจจัยหนึ่งที่เป็นที่นิยมและทาง Fed มีการนำมาวิเคราะห์คือ อัตราการจ้างงาน โดยครั้งนี้จะเห็นถึงอัตราการจ้างงานที่มีความโดดเด่น โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอัตราการว่างงานที่ต่ำกว่าในรอบหลายปี และหากอยู่ในอัตราที่ Fed ต้องการ (3.5) จะถือได้ว่ามีอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติมาเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการบริโภคที่ลดลง แม้ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจในสหรัฐฯจะดีขึ้น ประชาชนมีอัตราการจ้างงานสูง แต่กลับมีการบริโภคต่ำ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงโดยปริยาย
ผลกระทบของเงินเฟ้อที่มีต่อธีมลงทุน
ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อกองทุนประเภท ETF ซึ่งเป็นกองทุนที่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาว และต้องการเก็บสินทรัพย์ไว้ ในช่วงที่นโยบายทางการเงินเข้มงวดและเงินเฟ้อสูงอาจจะต้องปรับกลยุทธ์ดังนี้
- Low Beta ราคาหุ้นมีความผันผวนน้อยกว่าตลาด
- ลงทุนแบบ Short – term (บริษัทที่สามารถทำรายได้ได้ทันทีในระยะสั้น)
- เลือกประเภทธุรกิจ Aging society/Healthcare Tech/Autonomous Tech/ Industrial/Energy/Industial/Sustainable
การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะสงครามในปัจจุบัน
- เลือกลงทุนในหลาย ๆ ธีมเศรษฐกิจและสามารถตอบโจทย์ได้อย่างหลากหลาย
- เลือกกองทุนหรือเลือกลงทุนในธีมอื่นที่สามารถช่วยพยุงพอร์ตการลงทุนให้คงอยู่ต่อไปได้ เช่น การลงทุนในธีมสินค้าที่มีมูลค่าในตัวเอง (Value) หรือลงทุนในธีมอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะช่วยให้พอร์ตมีความสมดุลมากขึ้น
- แผนการลงทุนในระยะสั้นคือ มีการลงทุนที่สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
- แผนการลงทุนระยะยาวคือ การลงทุนที่สามารถตอบโจทย์อนาคตได้
- การลงทุนในสินทรัพย์อนาคต สามารถลงทุนได้ในระยะยาว และมีโอกาสที่จะเติบโต
- ข้อดีของสินทรัพย์อนาคตคือ มีโอกาสที่จะเติบโตสูงและมี Volatility สูงกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ จึงมีโอกาสเก็งกำไรราคาสูงได้เช่นกัน
ธีมการลงทุนของ UOB ที่เป็น Mega trend และยังคงมีความน่าสนใจ
- Consumer Evolution (Neutral) ธีมการบริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นการบริโภคสมัยใหม่ที่สังคมให้การตอบรับสูง
- Industrial Revolution (Neutral) การเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมด้วย AI จะสามารถทำกำไรได้อย่างก้าวกระโดด
- Fintech and Security (Overweight) ธุรกรรมทางการเงินที่สะดวกและปลอดภัย ได้รับความนิยมสูงและมีคนสนใจมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- Sustainable Energy (Overweight) สามารถทำกำไรได้ดีขึ้น จากการที่ราคาน้ำมันพุ่งสุงขึ้น และราคาพลังงานทางเลือกมีความใกล้เคียงกับราคาน้ำมัน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์การใช้พลังงานและเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค
- Disruptive Technology (Underweight) ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย และตลาดมีความผันผวนสูง อาจทำกำไรได้น้อย และผู้บริโภคไม่เล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วน
- Healthcare Innovation (Underweight) ความน่าสนใจลดลงหลังเหตุการณ์โรคระบาดทุเลาลง อย่างไรก็ตาม นับว่ามีความน่าสนใจในโลกอนาคต
กองทุน ETF ใหม่ล่าสุดจาก UOB : UBOT
กองทุน UBOT เป็นกองทุน ETF กองใหม่ล่าสุดจาก UOB ที่จะออกขายช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนใน Robotics & Artificial Intelligence อันเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบใหม่ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์โลกที่อาจเกิดขึ้นได้ ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดตั้งกับ ก.ล.ต.
หากนักลงทุนสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00 – 17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) โทร 02 786 2222 เว็บไซต์ www.uobam.co.th
คำเตือน
- ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก
- กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม