หากพูดถึงแนวการลงทุนยอดนิยมในช่วงที่ผ่านมา ที่เคยทำให้นักลงทุนหลายๆ ท่านได้สมหวัง และเจ็บใจกัน ซึ่งยังคงโลดแล่นอยู่ในตลาดการลงทุนในรูปแบบของกองทุนรวมมาถึงทุกวันนี้คงหนีไม่พ้นแนวการลงทุนแบบ Healthcare และ Technology ที่เคยสร้างผลตอบแทนอย่างน่าพอใจ ด้วยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ 10.1% และ 13.6% ต่อปีตามลำดับ ก่อนที่จะทำให้นักลงทุนหลายๆท่านที่ลงทุนในช่วงยอดดอยต้องเจ็บปวด เมื่อพบกับการ “ปรับฐาน” ที่ระดับ -19.67% ในช่วงปี 2015-2016 ของกลุ่ม Healthcare และ -23.75% ของกลุ่มเทคโนโลยีในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะกลับมา “ดีด” ใส่หน้านักลงทุนทั้งหลายที่ทำการขายลดสัดส่วนการลงทุนไปก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้เกิดคำถามสำคัญกับนักลงทุนหลายท่านถึงแนวโน้มการลงทุนดังกล่าวว่า ยังเป็นไปได้หรือไม่ จะไปต่อข้างหน้าหรือเปล่า หรือจะพอกันที กับแนวการลงทุนแบบนี้แล้ว
รูปที่ 1 MSCI World Information Technology Index & MSCI World Health Care Index I Source : Bloomberg As of 23/10/2019
วันนี้ก็เลยขอย้อนกลับไปยังที่มาและต้นกำเนิดของแนวคิดการลงทุนทั้ง 2 แบบ เพื่อสืบเสาะหาว่าแนวโน้มการลงทุนนี้ ยังเป็นไปได้ดีในอนาคตต่อไปหรือไม่
เริ่มกันที่ลักษณะประชากรหนึ่งในแนวคิดสำคัญที่ก่อกำเนิดเป็นแนวการลงทุนแบบ Healthcare ภายใต้ความเชื่อที่ว่าโลกของเรานั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างญี่ปุ่น และ สหรัฐฯ ที่ 33.9% และ 21.9% ตามลำดับ
รูปที่ 2 ลักษณะประชากร I Source : populationpyramid.com As of 23/10/2019
แต่เมื่อพิจารณาไปยังภาพรวมในลักษณะของประชากรทั่วโลกจะพบว่าประเทศที่มีปริมาณประชากรมากเป็นอันดับที่ 1 และ 2 อย่างจีนและอินเดียนั้นยังค่อนข้างห่างไกลจากคำว่าสังคมผู้สูงอายุอย่างยิ่ง ด้วยสัดส่วนของผู้สูงอายุเพียง 16.4% และ 9.5% ตามลำดับ ส่งผลให้สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกนั้นลดลงเหลือเพียง 12.9% เท่านั้น
รูปที่ 3 Birth Rate, Yearly Growth Rate I Source : Our World In DATA As of 23/10/2019
ขณะเดียวกันอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่องทั่วโลกสู่ระดับ 1.1% ต่อปี สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราการให้กำเนิดต่อประชากร 1,000 คนที่ลดลงเหลือ 18.5 คนเท่านั้น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้สัดส่วนประชากรที่มิใช่ผู้สูงอายุลดลงอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นการค่อยๆ ย่างกลายเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
รูปที่ 4GDP Per Capita, Urbanization Trend I Source : Our World In DATA As of 23/10/2019
แต่ถึงอย่างนั้น ด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี นวัตกรรมที่ก้าวหน้าซึ่งช่วยส่งเสริม Productivity ให้ดีมากขึ้น ส่งผลให้ประชากรจำนวนมากทั้งในประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาก็มีรายได้ต่อหัวทะยานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนและอินเดียที่ปรับตัวขึ้นกว่า 5 เท่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่ไปกับภาวะสังคม “เมือง” ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีลักษณะสังคมที่มีความยินดีหรือพร้อมที่จะใช้จ่ายกับสิ่งที่ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ณ ปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ภายใต้สังคมเมืองคิดเป็น 55% ของประชากรทั่วโลกแล้ว และยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อๆไป ซึ่งหมายถึงนอกจากประชากรส่วนใหญ่ของโลกจะมีรายได้ที่มากขึ้นแล้ว ยังมีความเต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อยกระดับชีวิตของตนเองอย่างต่อเนื่องด้วย
รูปที่ 5 Life Expectancy Vs , Urbanization Trend, Worldwide ICT Spending I Source : Our World In DATA, IDC As of 23/10/2019
ส่งผลให้ปริมาณตัวเลขการใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชากรทั่วโลกนั้นมีอายุที่ยืนยาวขึ้น และหมายถึงการที่ประชากรเหล่านั้นจะต้องใช้จ่ายในด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆในอนาคตเพื่อรักษาความมีชีวิตยืนยาวดังกล่าวให้เป็นชีวิตที่ดีต่อไป ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากอายุขัยที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของประชากรทั่วโลกที่ ณ ปัจจุบันอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรทั่วโลกนั้นอยู่ที่ 71.4 ปี เพิ่มขึ้นจาก 30 ปีก่อนหน้าที่ 60 ปี ถึง 20% สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวโดยแชมป์ตกเป็นของประเทศสหรัฐฯที่มียอดการใช้จ่ายในด้านสุขภาพกว่า 8,700 เหรียญสหรัฐฯต่อปี คิดเป็น 17% ของรายได้ต่อหัวของประชากรทั้งหมดโดยเฉลี่ย เพิ่มขึ้นกว่า 2.8 เท่าใน 30 ปี จากช่วง 1985 ที่มียอดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียง 3,100 เหรียญต่อปีเท่านั้น
รูปที่ 6 Enterprise Public Cloud Adoption I Source : AWSinsider.net As of 30/6/2019
ขณะเดียวกัน ด้วยความที่เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถตอบโจทย์ทั้งชีวิตประจำวันและธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้มียอดการใช้จ่ายในด้านเทคโนโลยีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ New Technology อันประกอบไปด้วยเทคโนโลยีประเภท Cloud Server, Virtual Reality และ หุ่นยนต์ ที่เติบโตขึ้นเฉลี่ย 16.5% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และเมื่อมองไปข้างหน้ามีการคาดการณ์กันว่า การใช้จ่ายในเทคโนโลยีดังกล่าวจะเติบโตกว่า 3 เท่า ภายในระยะเวลา 6 ปี
รูปที่ 7 EPS&Margin Growth Source I Source : Bloomberg As of 23/10/2019
แต่ในขณะเดียวกัน ยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจมิได้หมายถึงราคาของหุ้นจะปรับตัวขึ้นเสมอไป เนื่องจากอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น เช่น งบวิจัยและพัฒนาที่เป็นต้นทุนจม งบลงทุนในอาคารและสำนักงาน หรือภาระดอกเบี้ยจ่ายที่บริษัทต่างๆได้กู้ยืมมาเพื่อต่อยอดธุรกิจ ดังนั้นแล้วเราจึงควรมองไปถึงอนาคตว่าบริษัทเหล่านี้จะมีกำไรที่เพิ่มมากขึ้นตามแนวโน้มยอดขายด้วยหรือไม่
ซึ่งผลปรากฏออกมาว่า คาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ในกลุ่มของสุขภาพและเทคโนโลยีนั้นยังเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับอัตรากำไรที่ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 8 Stock Pick Method I Source : Wellington Asset Management of 30/09/2019
แต่ถึงอย่างนั้น ก็มิใช่ว่าหุ้นทุกๆตัวที่ถูกจัดอยู่ใน 2 กลุ่มธุรกิจดังกล่าวจะมีความน่าลงทุนเท่าเทียมกัน ดังนั้นแล้วเราจึงต้องมีหลักการคัดเลือกหุ้นที่ดี มีแนวโน้มเติบโตในยามที่เศรษฐกิจเป็นใจ และรอดตายในวันที่เศรษฐกิจอ่อนแรง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่เปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจเอาไว้ให้เดินหน้าต่อ ไม่ล้มลง ก็คงหนีไม่พ้น “เงินสด” ซึ่งการที่จะนั่งคัดเลือกเองจากทั้งหมดกว่า 1,000 บริษัท น่าจะเป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวกันน่าดู ดังนั้นส่วนนี้จึงควรปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ช่วยดูแล และเลือกการลงทุนให้กับทุกท่าน
TMBGQG ที่ลงทุนในกองทุนต้นทางอย่าง Wellington Global Quality Growth ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นทั่วโลกแบบ Active โดยมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทมีรายได้เติบโต ช่องทางปรกติ (Orgainc Sales) สัดส่วนสูง, แผนธุรกิจที่อุดมด้วยคุณภาพเพื่อการเติบโตที่ต่อเนื่อง และมีสภาพคล่องซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของบริษัทในระดับที่สูง ซึ่งการตรวจสอบกระแสเงินสดนั้นลงลึกถึง คำถามสำคัญที่ว่า เงินสดที่มีอยู่ในมือนั้นมาจากแหล่งใด เพราะท้ายที่สุดแล้ว หากกระแสเงินสดที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นเงินสดที่ได้มาจากการกู้ยืมก็คงไม่ต่างจากการไม่มีเงินสดเท่าใดนัก
ภายใต้การบริหารของบลจ.ระดับโลก Wellington Asset Management ที่มีประวัติการบริหารสินทรัพย์มาอย่างยาวนานกว่า 91 ปี มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯนั้น จะคอยทำหน้าที่คัดเลือกหุ้นที่ดีที่มีคุณภาพให้กับคุณ โดยมีการจัดอันดับความน่าลงทุนอยู่เสมอ ชนิดที่ว่า “ไม่เข้มข้น เราไม่ลงทุน”
รูปที่ 9 Top 10 Holding I Source : Wellington Asset Management of 30/09/2019
ส่งผลให้กองทุนเข้าถือครองหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงควบคู่ไปกับทิศทางการเติบโตที่ดี โดยใน 10 อันดับแรกของหุ้นที่ถือครอง นั้นมีเงินสดและสินทรัพย์ใกล้เคียงเงินสดมูลค่ากว่า 430,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบเท่ากับขนาด GDP ของประเทศไทย ขณะที่มีหนี้สินทั้งระยะสั้นและยาวเพียง 260,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแสดงถึงความมั่นคงในยามวิกฤติเหนือกว่าเกณฑ์การประเมินทั่วไป เพราะโดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่นักวิเคราะห์มักใช้พิจารณาถึงความเสี่ยงต่อการล้มละลายในช่วงวิกฤตินั้นมักใช้การพิจารณาในส่วนของ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นมากน้อยเพียงใด แต่เกณฑ์การลงทุนในส่วนของกองทุนนั้นครอบคลุมถึงหนี้ระยะยาวซึ่งมักจะมีมูลค่าสูงกว่าหนี้ระยะสั้นจำนวนมาก
รูปที่ 10 Cumulative Return, Return Vs Benchmark I Source : Morningstar 30/09/2019
ภายใต้ความเชื่อเช่นนั้น ก็ส่งผลให้กองทุนดังกล่าว มีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม โดยสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม สามารถปรับตัวขึ้นเหนือกว่าดัชนีอ้างอิงอย่าง MSCI ACWI Index ที่เป็นดัชนีที่รวมหุ้นคุณภาพดี ขนาดใหญ่ มีปริมาณการซื้อขายทั่วโลกสูงได้อย่างเด็ดขาด โดยที่หากนักลงทุนลงทุนในกองทุนดังกล่าวนับตั้งแต่วัน IPO ในช่วงปี 2011 ด้วยเงินลงทุน 1 ล้านบาท เงินลงทุนของท่านจะโตขึ้นกลายเป็น 2.95 ล้านบาทในเวลา 8 ปี ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 14.5% ต่อปี หากคิดเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนจะเป็นการชนะดัชนีได้ถึง 68 เดือน จากเวลาทั้งหมดที่เปิดกองทุนมา 100 เดือน
รูปที่ 10 Historical Holding I Source : Morningstar 30/09/2019
เหนืออื่นใดกองทุน Wellington Global Quality Growth กองทุนต้นทาง TMBGQG นั้นเป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกแบบ Active ซึ่งหมายถึงมีความตั้งใจที่จะเอาชนะตลาดหุ้นทั่วโลก และสามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนได้อย่างอิสระ ทำให้นักลงทุนทุกท่านมั่นใจได้ว่า ท้ายที่สุดแล้วหาก Megatrend เหล่านี้ถึงจุดจบกองทุนก็มิได้นิ่งนอนใจ แต่จะหาหุ้นชั้นดี มีคุณภาพมาให้ทุกท่านได้ลงทุนกันอย่างแน่นอน เสมือนที่เคยทำมาแล้วในอดีต ที่ลดสัดส่วนของหุ้นกลุ่มการเงินลงจาก 28% ในปี 2017 มาสู่ที่ระดับ 12.9% ในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งการปรับเข้าลงทุนในกลุ่มสุขภาพในปัจจุบันที่เดิมทีนั้นในปี 2016 มีน้ำหนักการลงทุนแค่ 10.31% เท่านั้น
ทำให้กองทุนสามารถคุมความเสี่ยงพร้อมทั้งรับโอกาสที่จะเข้ามาได้ในทุกเวลาด้วยค่า Up Capture Ratio และ Down Capture Ratio ที่แสดงถึงผลการดำเนินงานเทียบกับดัชนีอ้างอิงว่ามีการปรับตัวขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด ที่ระดับ 117.87% และ 96.42% ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนว่าในยามที่ดัชนี MSCI ACWI ซึ่งเป็นตัวแทนของตลาดปรับตัวขึ้น กองทุน Wellington Global Quality Growth สามารถปรับตัวขึ้นได้มากกว่าถึง 17.87% ขณะที่ยามที่ตลาดปรับตัวลง กองทุนสามารถที่จะขยับสัดส่วนการลงทุนเพื่อช่วยให้ลดโอกาสการขาดทุนลงได้ 3.58%
ซึ่งน่าจะถูกใจนักลงทุนจำนวนมากทั้งสาย Passive ที่ชอบ Index Fund เพราะมีทั้งผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง และ สาย Active ที่ชอบกองทุน Active อยู่แล้วก็ไม่น่าพลาด หรือจะเป็นสาย DCA หรือ Asset Allocation ก็น่าติดพอร์ตเพื่อรับกระแสการเติบโตที่ดีในระยะยาว…
Source :
https://www.idc.com/promo/global-ict-spending/forecast
Bloomberg
https://www.wellingtonfunds.com
https://awsinsider.net/articles/2018/11/01/azure-fastest-but-aws-biggest.aspx
https://ourworldindata.org/
https://www.Populationpyramid.net
คำเตือน
“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน”
“ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน”
“ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต”