นับตั้งแต่การระบาดของ COVID -19 ไล่เรียงมาจนถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่ตลาดต้องเผชิญกับเงินเฟ้อพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดปรับขึ้นลงอย่างมาก ส่งผลให้ภาพรวมของพอร์ตการลงทุนแกว่งตัวผันผวน ในสภาวะตลาดที่มีการปรับลดลงเช่นนี้ การลงทุนแบบ Thematic จะยังคงเหมือนเดิมหรือไม่ หรือต้องปรับตัวอย่างไร และอุตสาหกรรมใดบ้างที่จะอยู่รอดได้ในอนาคต มาเจาะลึกกับอีกหนึ่งอุตสาหกรรม Robotics & AI ผ่านกองทุน UBOT จาก บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในอุตสาหกรรมตาม Thematic ที่จะให้ผลตอบแทนในอนาคตได้
ภาพรวมการลงทุนในตลาดโลก ตามมุมมองของ บลจ.ยูโอบี หลังจากการเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ ทั้งโรคระบาด สงคราม และวิกฤตเงินเฟ้อ
ทางบลจ.ยูโอบี มองว่าภาพรวมของเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร เดิมทีในช่วงต้นปี 2022 นักลงทุนมองตลาดในปีนี้ไว้ว่า จะเป็นปีที่จบการระบาดของ COVID – 19 มีการยกเลิกการล็อคดาวน์และสามารถกลับมาลงทุนได้ตามปกติ แต่วิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Post COVID – 19 สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน และภาวะเงินเฟ้อทำให้ตลาดไม่เป็นไปตามที่นักลงทุนได้คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนจากตลาดนั้นจะเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัย คือ 1) เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามทำนายไว้ 2) เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตลาด และ 3) จุดเริ่มต้นในการลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
สถานการณ์เศรษฐกิจในทั่วโลก
- สหรัฐอเมริกา: ราคาพลังงานและอาหารปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี เงินเฟ้อขยับขึ้นไปสูงถึง 6%
- ยุโรป: สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้เงินเฟ้อพุ่งสูง 1%
- จีน: แม้ว่าเงินเฟ้อจะไม่สูงมากนัก แต่กลับเป็นปีที่เศรษฐกิจจีนแย่ที่สุดในรอบ 20 ปี และมีการตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจต่ำสุดในรอบ 30 ปี (9%)
- ญี่ปุ่น: เงินเยนอ่อนค่าที่สุดในรอบ 20 ปี
- ไทย: เงินเฟ้อพุ่งสูงถึง 1% สูงสุดในรอบ 13 ปี
ธีมการลงทุนในปี 2022
ย้อนไปในปี 2021 มีการใช้นโยบายการคลังเพื่ออุ้มเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID – 19 มีการรณรงค์ฉีดวัคซีน ใช้นโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาย และมีการกระตุ้นเศรษฐกิจสูงมาก แม้เงินเฟ้อจะสูงขึ้นแต่ก็เป็นเงินเฟ้อต่ำ ๆ ทำให้นักลงทุนยังไม่มีความกังวล และมองผลลัพธ์ออกมาในเชิงบวก เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้หลักทรัพย์จำพวกเทคโนโลยี และ Value Stock มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาด้วย อาจกล่าวได้ว่าปี 2021 เป็นปีที่นักลงทุนสามารถลงทุนได้ง่าย แต่ในปี 2022 มีทิศทางดังนี้
- Policy มีการประกาศใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ทำให้ตลาดมีการปรับตัวลง นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดทำให้ต้นทุนของบริษัทปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยี เดิมทีตลาดปรับเพิ่มขึ้นด้วย Outlook เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ Outlook ของกลุ่มเทคโนโลยีหรือการลงทุนแห่งอนาคตมีการปรับตัวลง
- Geopolitical Risk ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่งผลต่อการเปลี่ยนแนวคิดด้านพลังงานและการผลิตอย่างไม่ย้อนกลับ
- Fundamental หรือมูลค่าพื้นฐานจะเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากกว่า Outlook หรือการเติบโตของบริษัท โดยวิเคราะห์ถึงปัจจัยพื้นฐานบริษัทนั้น ๆ ว่ามีความแข็งแกร่งทนทานและสามารถอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจที่มีโอกาสจะถดถอย ประกอบกับเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นได้หรือไม่
ภาพรวมนโยบายการลงทุนในปี 2022
ภาพรวมนโยบายทางการเงินในมุมมองของ บลจ.ยูโอบี ประกอบด้วย F.I.R.E อธิบายได้ดังนี้
I: Inflation ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งในสหรัฐฯ อาจทำให้รัฐบาลแพ้การเลือกตั้งในช่วงที่เกิดเงินเฟ้อได้ เป็นเหตุให้โจ ไบเดน กดดัน FED ให้สามารถเข้าควบคุมเงินเฟ้อได้
E: Election การเลือกตั้งถูกกดดันจากทางภาครัฐสูงมาก ซึ่งจะต้องตอบโจทย์ทางการเมืองและเพิ่มความสำคัญให้กับ FED สำหรับการใช้นโยบายปรับดอกเบี้ยสูงขึ้น
F: FED หากปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องเงินเฟ้อสูงได้ แต่ทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ตลาดหุ้นปรับฐานลง และเศรษฐกิจเข้าสู่โหมด Stagnation ซึ่งหาก FED สามารถควบคุมเรื่องของเงินเฟ้อได้ ก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของ FED เองด้วย
R: Recession มีโอกาสที่จะเกิด Recession จากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ FED ซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้เงินเฟ้อมีการปรับลดลง ทำให้รัฐบาลสามารถใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการคลังได้ในภายหลัง เพิ่มความสำคัญให้กับภาครัฐ และทำให้มีโอกาสชนะเลือกตั้งได้
รูปแบบการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจและนโยบายการเงินในรูปแบบต่าง ๆ
- เงินเฟ้อสูงขึ้น ดอกเบี้ยปรับขึ้น หรือ Low Beta Cyclical ซึ่งนักลงทุนจะต้องออกจากตลาดให้ได้มากที่สุด หรือลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่ไม่วิ่งตามตลาด หรือผันผวนน้อยกว่าตลาด แม้จะมีกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มที่ปรับขึ้นตามเงินเฟ้อก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เป็นกลุ่มใหญ่ในตลาด โดยเงินเฟ้อกลายเป็นต้นทุนในทุก ๆ กลุ่มธุรกิจ ส่งผลให้ตลาดมีการปรับฐานลงมากกว่าปรับขึ้น และเกิด lower high ใหม่จนกว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงมา
- ดอกเบี้ยปรับขึ้น เงินเฟ้อปรับตัวลง: นักลงทุนสามารถลงทุนในวงจรเศรษฐกิจรอบใหม่ของตลาด (New Cycle) โดยจะเน้นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้หากเงินเฟ้อมีการปรับลดลงมาอย่างชัดเจน และเป็นโอกาสของวงจรเศรษฐกิจรอบใหม่ในตลาด ที่สามารถอยู่รอดได้ในภาวะดอกเบี้ยสูง และเงินเฟ้อมีการปรับตัวลงมา
การเปลี่ยนแปลง MEGA Trend ในการลงทุนแบบ Thematic
ปัจจุบันนักลงทุนต้องพิจารณาว่า MEGA THEME ยังมีความสำคัญเป็น Top of Mind อยู่หรือไม่ และแม้จะเป็นการลงทุนในอนาคตก็ตาม แต่ก็เป็นอนาคตที่แตกต่างไป เนื่องจากประเด็น Geopolitics/เงินเฟ้อ/ดอกเบี้ยสูง ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีการสลับลำดับขั้นของ MEGA Trend ดังนี้
- Globalization >> Regionalization เห็นได้ชัดจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนก่อให้เกิดวิกฤตราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น และส่งผลในเรื่องเงินเฟ้อตามไปด้วย ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นทำให้การค้าโลกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลให้เกิดการผลิตในประเทศมากขึ้น ดังนั้น วิธีการผลิตพลังงานทดแทนหรือพลังงานใช้เองจะมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการผลิตในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีกลุ่ม Robotic – Automatic หรือเทรนด์ Industry 5.0
- Robot >> Human & Robots แม้จะมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติแล้วก็ตาม ในอนาคตอันใกล้จะมีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม
- Central Bank Policy >> Government Policy เงินเฟ้อสูงทำให้ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้อีกต่อไป และต้องพึ่งพานโยบายในลักษณะของ Government Policy มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ Funding Cost สูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนต้องมองหาหุ้น Value เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหุ้น Growth มีการเติบโตช้าลงและไม่เป็นไปตามคาด
Thematic การลงทุนแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ลักษณะการลงทุนของ Thematic คือ การคัดเลือกบริษัทที่มี Story Line อันเป็นธีมเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น Short – term Themes เช่น Inflation / การป้องกันสงคราม และ Long – term Themes ซึ่งมีอยู่ 6 ธีมด้วยกัน ดังนี้
- Consumer Evolution เช่น การลงทุนในธุรกิจเกมหรือ Digital World ซึ่งสถานการณ์เงินเฟ้อสูงก่อให้เกิดความกดดันสำหรับการลงทุนธีมนี้ เนื่องจากกลุ่ม Digital World เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในปัจจุบัน
- Industrial Revolution คือการเปลี่ยนแปลงเชิงอุตสาหกรรมในการย้ายฐานการผลิต ซึ่งเป็นธีม Robotics & AI ที่อยู่ในกลุ่มบริษัทที่มีการปรับตัว หรือในกลุ่ม Disruptor/ Innovator โดยบริษัทเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้เจาะจงว่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใด แต่มีความพิเศษในการสร้าง Efficiency ของธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น
- Energy and Sustainability ภาครัฐจะพยายามผลักดันกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานให้กลายเป็นพลังงานสะอาดมากขึ้นในอนาคต
- Fintech and Security การปรับลงของคริปโตเคอเรนซีทำให้เกิดกฎเกณฑ์การประกอบธุรกิจมากขึ้น ภาครัฐอาจเข้ามาช่วยควบคุม อย่างไรก็ตาม โลกเสมือนหรือ Digital Worldยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอนาคต
- Disruptive Technology เงินเฟ้อทำให้เกิดต้นทุนการเงินสูง ในปัจจุบันอาจจะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนภายใน 1 – 2 ปีนี้
- Healthcare Innovation ต้นทุนการเงินสูง อย่างไรก็ตาม เทรนด์การรักษาสุขภาพยังคงเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ทาง บลจ. ยูโอบีมองว่า ธีมที่สามารถลงทุนได้ในตอนนี้คือ Industrial Revolution และธีมที่ควรหลีกเลี่ยงในตอนนี้คือ Disruptive Technology เนื่องจากยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการลงทุน
ในส่วนของ Industrial Revolution หรือการย้ายฐานการผลิตเพื่อประสิทธิภาพในการผลิตนั้น แม้จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ธีมนี้ก็จะส่งผลเชิงบวกต่อนักลงทุนมากกว่าเชิงลบ และยังเป็นการลงทุนที่ได้รายได้อย่างเป็นรูปธรรม โดย Industrial Revolution มีจุดที่แตกต่างจากสินค้าที่เป็น Consumer Discretionary คือ เป็นต้นทุนหรือเป็นส่วนประกอบของสินค้าที่ซื้อขายในชีวิตประจำวัน มีข้อดีคือ ในช่วงที่ตลาดผันผวนเป็นขาลง Downside ก็จะต่ำไปโดยปริยาย ซึ่งนับเป็นจังหวะดีที่จะเข้าลงทุน
กองทุน UBOT กองทุนที่ลงทุนในกลุ่ม Robotics & AI เพื่ออนาคต
ทาง บลจ.ยูโอบีเชื่อว่า Robotics & AI จะเป็นหนึ่งในธุรกิจอนาคตที่จะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมแทบทั้งหมด มีการใช้หุ่นยนต์ในยุค Industry 3.0 ต่อเนื่องมาถึงยุค Industry 5.0 ซึ่งเป็นยุคที่เรากำลังจะเผชิญในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า โดยมีทิศทางดังนี้
- การทำ Automation ในธุรกิจ เช่น แขนกล ซึ่งสามารถย้ายฐานการผลิตไปที่ใดก็ได้ โดยใช้หุ่นยนต์ทำงานทดแทนแรงงานบุคคล
- การทำ Automation โดยมี Connectivity มากขึ้น ซึ่งสามารถควบคุมหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรจากที่ใดก็ได้
- Industry 5.0 จะเป็นยุคที่หุ่นยนต์กับมนุษย์ทำงานร่วมกัน มี Interact ระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์ร่วมกับเทคโนโลยี AI ขั้นสูง
กองทุน UBOT จะเป็นกองทุนที่ลงทุนรวมเทคโนโลยีทั้ง 3 แบบ คือ Automation – AI / Automation – connectivity/ Industry 5.0 ทั้งนี้ การทำงานของหุ่นยนต์ในอนาคตนั้นจะครอบคลุมในหลาย ๆ กลุ่มธุรกิจ และไม่ได้มุ่งไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงกลุ่มที่เป็น non- Industry ด้วย
รายละเอียดของกองทุน UBOT
- บริหารโดย Global X ผ่านกองทุนแม่ Global X Robotics and Artificial Intelligence ETF (BOTZ US)
- หุ้นในบริษัทจำนวน 30 – 100 บริษัท เกี่ยวข้องกับ Industrial / non – Industrial Robot, Drones, ผู้พัฒนา Artificial Intelligence
- รวมบริษัทที่เป็น Late – cycle Innovators ไว้ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกำไรสูง ดังนั้นจึงมีโอกาสอยู่รอดในภาวะที่เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง
- เหมาะสำหรับ Thematic Investor ที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง
จุดเด่นของธีมลงทุน Robotics & AI
ข้อได้เปรียบของกองทุน UBOT ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะลงทุนตอนนี้คือ แม้จะมีผลตอบแทนในส่วนของธีมแห่งอนาคตก็ตาม กองทุนก็มีการปรับฐานพร้อมกับตลาด จากภาพจะเห็นได้ว่า กลุ่มของ Robotics & AI P/E มีการปรับลดราคาลงมา 30 – 40 เท่า และมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต กล่าวได้ว่า จังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนกลุ่มนี้
แนวโน้มการเติบโตของ Robotics & AI
หากมองที่ Robotics & AI (แถบสีแดง) จะเห็นว่ามีการเติบโตเฉลี่ย 34% ในอีก 3 ปีข้างหน้า และเชื่อว่าในอนาคตตลาดจะปรับตัวสูงขึ้นจนได้รับผลตอบแทนอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังมี Against Higher Interest เนื่องจาก Return on Capital (ROC) เฉลี่ยอยู่ที่ 13% ซึ่งกองทุนมีแนวโน้มว่าจะสามารถยืดหยัดอยู่ในภาวะดอกเบี้ยสูงและเงินเฟ้อสูงได้ หากนักลงทุนกำลังมองหาหุ้นแห่งอนาคตและเป็นวัฏจักร New Cycle การลงทุนในกองทุน UBOT เพียง 1 – 2% ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งธีม Robotics & AI มีโอกาสที่จะ Perform ได้ในระยะเวลาอันใกล้
นโยบายการลงทุน
กองทุน UBOT หรือ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โรโบติกส์ แอนด์ อาร์ติฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ อีทีเอฟ (United Robotics & Artificial Intelligence ETF) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในหุ้นบริษัทที่อาจได้รับประโยชน์จากอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อัตโนมัติ และกองทุนปัญญาประดิษฐ์จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Global X Robotics & Artificial Intelligence ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักเป็นกองทุนรวมประเภท ETF (Exchange Traded Fund) ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี Global X Management Company LLC เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนหลัก
สิ่งที่ต้องระวังในการลงทุน
- กองทุนที่อยู่ใน Thematic จะเป็นกองทุนที่มีการให้น้ำหนักมากในบางอุตสาหกรรม หรือเน้นไปที่หุ้นบางกลุ่ม ซึ่งมีความผันผวนสูงในบางจังหวะ
- กองทุน UBOT เป็นการลงทุนในต่างประเทศ โดยมีการคุ้มครองอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% อย่างไรก็ตาม กองทุนมีโอกาสผันผวนตามค่าเงินเช่นกัน
- ความเสี่ยงของตลาด โดยกองทุน UBOT มีความเสี่ยงที่มากกว่าตลาดมากไป เนื่องจากลงทุนในกลุ่มเฉพาะเจาะลง และค่าเบต้าไม่ได้ต่ำมากนัก
ความเสี่ยงของกองทุน
สูง (ระดับความเสี่ยง 6 )
กองทุน UBOT จะมีการเปิด IPO ในวันที่ วันที่ 4 – 8 กรกฎาคม 2565 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาทำการตั้งแต่ 09:00 – 17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี(ประเทศไทย) จำกัด โทร 02 786 2222 เว็บไซต์ www.uobam.co.th หรือ https://bit.ly/3HmQtNL
คำเตือน
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับเงินคืนในเวลาที่กำหนด
- กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุนรวมมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Recreational Products, Internet Software/Services และ Packaged