ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นมีความผันผวน โดยในช่วงปี 2021 หลายกองทุนปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก่อนปรับตัวลงในช่วงต้นปี 2022 ตามมาด้วยการฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่งในช่วงที่ผ่านมา โดยธีมการลงทุนพลังงานทดแทน ถือเป็นธีมหนึ่งที่ฟื้นตัวได้ดี จากนโยบายของประเทศต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดอย่างมาก โดยโดยทาง MFC มองว่าจีนเริ่มเข้ามาเป็นผู้นำในด้านดังกล่าว สะท้อนจากการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
มุมมองของการลงทุนด้านพลังงานทดแทน
ธุรกิจพลังงานทดแทนและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ก๊าซเรือนกระจก) เติบโตสูงต่อเนื่อง จากนโยบายการรณรงค์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยภายในปี 2050 มีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือเพียง 1 ใน 3 จากที่เป็นอยู่ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสำคัญ
ทาง MFC เชื่อว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 45 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (26.7 ล้านล้านจากเอเชียตะวันออก) เพื่อลงทุนในการปรับโครงสร้างของธุรกิจพลังงาน และลงทุนในธุรกิจที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมองว่านวัตกรรมพลังงานทดแทนต่าง ๆ ในอนาคตจะมีมากขึ้นอีก เนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีทำให้การผลิต และการจัดเก็บพลังงานทดแทนเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และน่าจะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศต่าง ๆ
แนวโน้มของการลงทุนในกองทุนพลังงานทดแทน
ทาง MFC เชื่อว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าสู่การลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนต่อเนื่อง โดยการลงทุนจะเน้นหนักไปที่ 3 ภูมิภาค ได้แก่ (1) จีน ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการลงทุนพลังงานทดแทน (2) สหรัฐฯ และ (3) ยุโรป โดยสหรัฐฯ และยุโรป ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ด้วยเหตุนี้ การจัดสรรการลงทุนในธีมพลังงานทดแทน จึงควรหาสมดุล และจัดสรรการลงทุนไปยังหลาย ๆ ประเทศ เช่น สหรัฐฯ เยอรมนี อิตาลี เดนมาร์ก และโปรตุเกส
ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศต่าง ๆ
ในการประชุม COP (Conference of the Parties) เพื่อตั้งเป้าหมายลดโลกร้อนร่วมกัน แต่ละประเทศได้ประกาศเป้าหมายที่จะเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net carbon zero) ตามความพร้อม โดยจีนได้ประกาศว่าในปี 2060 จะเป็นประเทศ net carbon zero ซึ่งจากการประมาณการ เชื่อว่าจีนน่าจะทำได้ตามเป้าหมาย
อย่างไรก็ดี การลงทุนในหุ้นรายตัวน่าจะยังคงมีความผันผวน และมีการเคลื่อนไหวของราคาเป็นวัฏจักรตามจังหวะการลงทุน จึงทำให้การลงทุนในรูปกองทุนรวมจึงยังเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ โดยถ้าราคาหุ้นตกลง ทางกองทุนจะเข้าไปซื้อมากขึ้น และรอจังหวะในการสร้างผลตอบแทน ในขณะเดียวกันจะชะลอการลงทุน หากราคาหุ้นปรับขึ้นมาจนเหนือกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น
กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี รีนิวเอเบิล เอนเนอร์จี (MRENEW)
MRENEW ลงทุนใน Investment Themes 3 ธีม ได้แก่ พลังงานสะอาด การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ และการคมนาคมที่ใช้พลังงานทดแทน โดยลงทุนในกองทุนหลัก Blackrock Sustainable Energy ซึ่งกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่จะลงทุนในสหรัฐฯ เยอรมนี และฝรั่งเศส ทั้งนี้ ทาง MFC มองว่าการกระจายการลงทุนเป็น 3 ธีมดังกล่าว เป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี โดย Blackrock พร้อมจะปรับสัดส่วนของการลงทุนตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันเน้นไปที่สัดส่วนพลังงานสะอาดมากกว่าส่วนอื่น ๆ
10 หุ้นที่กองทุน Blackrock Sustainable Energy ซึ่งเป็นกองทุนหลักถือมากที่สุด ประกอบด้วย (1) Nextera Energy ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดของโลกของสหรัฐฯ (2) RWE AG ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานทดแทนชั้นนำของเยอรมนี (3) Enel SpA เป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน และเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าของอิตาลี (4) Ingersoll-Land เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องอัดอากาศ เครื่องมือช่าง และลิฟต์ (5) LG Chem เป็นบริษัทชั้นนำด้านเคมี และผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (6) Johnson Control International เป็นผู้ผลิต และออกแบบระบบปรับอากาศ อุปกรณ์ดับเพลิงและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย (7) Infineon Technologies เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลกของเยอรมนี (8) Samsung SDI เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในเกาหลีใต้ (9) EDP Energia de Portugal เป็นบริษัทสาธารณูปโภคไฟฟ้าในโปรตุเกส และ (10) Analog Devices บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ที่เชี่ยวชาญด้านการแปลงข้อมูล การประมวลผลสัญญาณ และเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน
ทาง MFC มองว่าการลงทุนในพลังงานทดแทนได้รับความนิยมอย่างมาก โดยดัชนี S&P Global Clean Energy ที่เปรียบเสมือนตัวแทนของหุ้นกลุ่มพลังงานสะอาดทั่วโลก มีมูลค่าอัตราส่วน P/E ที่ค่อนข้างสูงใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้นักลงทุนจะต้องระมัดระวังเรื่องมูลค่าเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ดี กองทุน Blackrock Sustainable Energy ยังมี P/E ที่ค่อนข้างต่ำกว่าดัชนี S&P Global Clean Energy พอสมควร โดยมี Blackrock Sustainable Energy ยังมี forward P/E เพียง 25 เท่า และมี earning growth ที่ประมาณ 30% ทำให้ทาง MFC มองว่ามูลค่ายังไม่แพง เมื่อเทียบกับการเติบโตในอนาคต กอปรกับนโยบายในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ทำให้ทาง MFC เชื่อว่ากองทุนนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก
ความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุน MRENEW
เนื่องจากส่วนใหญ่กองทุนมีนโยบายการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์การขนส่ง และ/หรือ อุตสาหกรรมที่ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่าปกติ นอกจากนั้นเนื่องจากเป็นการลงทุนในหุ้นเป็นส่วนใหญ่ หากหุ้นโดยทั่วไปปรับตัวลง น่าจะทำให้กองทุน MRENEW ได้รับผลกระทบ
สรุปมุมมองการลงทุนต่อกองทุน MRENEW
ทาง MFC มองว่าการลงทุนในกองทุน MRENEW มีการกระจายตัวในหุ้นกลุ่มเติบโตภายใต้ธีมด้านพลังงานทดแทน โดยแนะนำว่าให้น้ำหนักการลงทุนในกองทุน MRENEW ประมาณ 15-20% จากการลงทุนในหุ้นทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าเป็นธีมการลงทุนที่อยู่ในกระแสหลักของโลก มีภาพในอนาคตที่ชัดเจน และน่าจะเป็นการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
กองทุน MRENEW สำหรับนักลงทุนรายย่อยมีให้เลือกสรรทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบสะสมมูลค่า MRENEW-A แบบปันผล MRENEW-D แบบประหยัดภาษี MRENEWRMF MRENEW-SSF
ความเสี่ยงของกองทุน
สูง (ระดับความเสี่ยง 7)
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาทำการตั้งแต่ 09:00 – 17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) โทร 02 469 2000 เว็บไซต์ www.mfcfund.com
คำเตือน
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับเงินคืนในเวลาที่กำหนด
- กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุนรวมมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Recreational Products, Internet Software/Services และ Packaged