กองทุนหุ้นญี่ปุ่น น่าลงทุนไหม? จะทำ Asset Allocation แบ่งตามแต่ละประเทศ ควรจะแบ่งกี่เปอร์เซ็นต์ และกองไหนดี? TCHCON ต่างจากกองทุน All China อย่างไร? และคำถามอื่น ๆ ที่มีนักลงทุนถามเข้ามาใน Live The Uptrend Q&A: ตอบคำถามคาใจนักลงทุนกองทุนรวม ตอนที่ 12 เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน 2564
บทความนี้จะขอสรุปเนื้อหาบางส่วนจากใน Live ให้นักลงทุน FINNOMENA ได้อ่านกันครับ
1. กองทุนหุ้นญี่ปุ่น น่าลงทุนไหมช่วงนี้ ?
รูปภาพที่ 1 Relative PE & Price & EPS Revision: Nikkei225 to S&P500 | source: Bloomberg As of 28/04/21
รูปภาพที่ 2 Global EPS Revision Since Beginning of 2021 & population pyramid | source : Bloomberg, populationpyramid.net As of 28/04/21 (Data population pyramid as of 2019)
- ในเชิง Valuation ญี่ปุ่นถือว่าอยู่ในจุดที่ถูกเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ สอดคล้องกับ Performance และ การปรับประมาณการณ์กำไร (EPS) ที่ Underperform กว่าอย่างต่อเนื่อง
- ระยะยาว Demographic ยังเป็นปัญหา ด้วยปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ที่สร้างแรงกดดันต่อการบริโภคภายในประเทศ แต่ยังดีที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ช่วยลดผลกระทบลงมาได้บางส่วน
- ในแง่ของการคุม COVID-19 ยังคงมีปัญหาเรื่องการฉีดวัคซีน ทำให้ล่าช้า และมีโอกาสเกิด Herd Immunity ช้ากว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ
- อย่างไรก็ตาม การปรับ EPS ที่ Underperform นั้น ไม่ใช่ไม่ถูกปรับ แต่ถูกปรับขึ้นมาน้อยกว่าเท่านั้น ตามทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สะท้อนว่ายังมีโอกาสในการลงทุนอยู่ แต่อาจไม่มากเท่ากับประเทศผู้นำหรือประเทศอื่นๆ
- เมื่อประกอบกับการที่ธนาคารกลางเหลือเครื่องมือทางการเงินไม่มาก (ดอกเบี้ยติดลบมานานแล้ว ยังเลิก QQE ไม่ได้ ต่างจากประเทศสหรัฐฯ และยุโรปที่หยุดไปได้แล้ว แล้วกลับมาทำใหม่) ทำให้มองว่าอาจแนะนำหาโอกาสที่อื่นดีกว่า
2. ถ้าจะทำ Asset Allocation แบ่งตามตลาด เช่น ตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดพัฒนาแล้ว ตลาดเกิดใหม่ ควรจัดสรรเปอร์เซ็นต์การลงทุนอย่างไร และแต่ละตลาด แนะนำกองทุนไหนบ้าง?
รูปภาพที่ 3 Asset Class Return from 2006 – 2020 | Source novelinvestor.com
- จากข้อมูลทางสถิติระหว่างตลาดเกิดใหม่ (EM) กับ ตลาดพัฒนาแล้ว (DM) นับตั้งแต่ปี 1998 จะพบว่า กลุ่ม EM จะมีระดับความผันผวนที่สูงกว่า โดยตลาด EM จะมีอัตราการเคลื่อนไหวต่อวันมากกว่า 1% (ทั้งบวกและลบ) อยู่ที่ประมาณ 29% ด้วยกัน ขณะที่ DM จะอยู่ที่ 21% เท่านั้น สะท้อนความผันผวนที่มากกว่า
- ขณะที่ด้านผลตอบแทน เมื่อคิดย้อนกลับไปพบว่า DM ให้ผลตอบแทนที่ประมาณ 2.8 เท่า ขณะที่ EM ให้ได้ประมาณ 6.6 เท่า สะท้อนโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระดับที่สูงกว่าเป็นเงาตามตัว
- ศักยภาพการเติบโตที่สูง แต่ความผันผวนที่แรง ทำให้แนะนำมีน้ำหนักในฝั่ง EM ที่ต่ำกว่า เพื่อรับโอกาสเติบโต ภายใต้ความผันผวนที่ไม่มากเกินไปนัก
- หากพิจารณาเป็นช่วง ๆ จะพบว่าช่วงที่เศรษฐกิจดี จะพบว่า EM ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีได้อย่างโดดเด่น
- ด้วยความที่ EM เป็นตลาดที่ยังไม่มีเสถัยรภาพในตนเอง ยังพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ สูง และมีเครื่องมือทางการเงินการคลังที่น้อยกว่า จึงได้รับผลกระทบจากวิกฤติต่าง ๆ มากกว่า หากพิจารณาระยะยาวจะพบว่า ความน่าสนใจน้อยกว่า เหมาะแก่การลงทุนเป็นรอบ ๆ ตามวัฏจักรเศรษฐกิจ
- อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปในอนาคตจะพบว่า EM เป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูง นำโดยประเทศจีนที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด และพร้อมที่จะพัฒนาเป็นประเทศพัฒนาแล้วในอนาคต
- โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจาก GDP ของประเทศทั่วโลก ที่ 75% มาจาก EM แต่ตลาดหุ้นคิดเป็นเพียง 13% ของ Market Cap ทั้งหมดเท่านั้น
- ทำให้ยังคงแนะนำให้มีกองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ในพอร์ตอยู่ เพื่อรับโอกาสการเติบโต แต่ในระดับที่น้อยกว่า เพื่อลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง โดยอาจแนะนำที่ (DM) 60:40 (EM) กองทุนที่แนะนำได้แก่
- Global (DM) = TMBGQG (Large + Growth) / ONE-UGG-RA (Growth play)
- EM = M-EM (EM Growth) / Principal APDI (Large + Growth) / SCBAOA (High Conviction Growth)
- US = KF-US / K-USA-A(A)
- All China = K-CHINA-A(A) / TMBCOF
- China A-shares = KT-Ashares-A
3. กองทุน TCHCON มีความแตกต่างจากกองทุน All China ทั่วไปอย่างไร
รูปภาพที่ 4 MSCI China & MSCI China Consumer Discretionary 10/50 Index Sector Component | Source:MSCI.com As of 28/4/2021 (Data MSCI As of 31 March 2021)
รูปภาพที่ 5 MSCI China & MSCI China Consumer Discretionary 10/50 Index Top 10 Holding & Characteristics | Source:MSCI.com As of 28/4/2021 (Data MSCI As of 31 March 2021)
จุดต่าง
- TCHCON เป็นกองทุนหมวดอุตสาหกรรมที่อยู่ใน All China (เท่ากับว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ All China)
- ความที่โฟกัสอยู่ที่หมวดเดียว ทำให้ถือครองหุ้นน้อยตัวกว่า แต่หุ้นหลาย ๆ ตัวนั้นเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วจนอยู่ในระดับ Big Cap ด้วยตัวหารที่น้อยกว่าทำให้ดูเหมือนกองจะไปโฟกัสที่หุ้นใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วจุดประสงค์ของกองไม่ใช่แบบนั้น
- กลับกัน กองทุน All China ทั่วไป มีหุ้นใน Universe ให้เลือกมากกว่า ทำให้สามารถกระจายการลงทุนได้มากกว่าทั้ง Big, Mid, Small, Mega Cap
จุดเหมือน
- ลง All China เช่นเดียวกับกอง All China อื่น ๆ ลงทุนได้ทั้งที่จดทะเบียนอยู่ในแผ่นดินใหญ่ Nasdaq ฮ่องกง และตลาดอื่นๆ
- หน้าหุ้นคล้ายคลึงกันบางส่วน เพราะหุ้นกลุ่ม consumer discretionary จำนวนมากเติบโตไว และมีศักยภาพการเติบโตสูงตามทิศทางเศรษฐกิจจีนที่เติบโตต่อเนื่อง
สรุป TCHCON มีความโฟกัสแค่กลุ่มเดียว ทำให้อาจมีความเสี่ยงเฉพาะตัวตามมา แต่หากการบริโภคโตไว กลุ่มนี้จะได้รับผลประโยชน์ที่มากกว่าเช่นกัน
4. ถือกอง Health Care อย่าง K-GHEALTH แต่เพิ่งรู้ว่า K-Change-A(A) ที่ถืออยู่ ก็มีหุ้น Health Care ด้วย สามารถถือคู่กันได้ไหม ต้องระวังอะไรบ้าง ?
กอง K-GHEALTH และ K-Change-A(A) มีการเคลื่อนไหวตามกัน แต่กอง K-Change-A(A) จะ Outperform มากกว่าเพราะถือหุ้นเทคโนโลยีอยู่เยอะด้วย
ในกองทุน K-Change-A(A) จะมีการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Health Care อยู่ประมาณ 32 % ถ้ามีกองทุน K-GHEALTH และ K-Change-A(A) ในสัดส่วนเท่ากันของพอร์ต จะทำให้มีสัดส่วนกลุ่ม Health Care เกินครึ่งของพอร์ต
ถ้าเทียบกับมูลค่าทั้งพอร์ตแล้ว Health Care ให้ลองดูว่าคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์พอร์ต ถ้าไม่เกิน 10-15 % สามารถถือคู่กันได้
กองทุน K-Change-A(A) ในระยะยาว สามารถย้ายการลงทุนจากกลุ่ม Health Care ไปยังกลุ่มอื่นได้ เมื่อทิศทางหรือแนวโน้มเทรนด์เกิดเปลี่ยนแปลง
5. ตอนนี้ยังสามารถเข้าซื้อ K-EUSMALL ได้อยู่ไหม? เห็นราคาขึ้นค่อนข้างสูงแล้ว
ถ้าในส่วนของตลาดหุ้นยุโรป เชิงกราฟแล้ว มีจุดที่ย่อลงมาทดสอบจุดสูงสุดเดิมเป็นที่เรียบร้อย และสามารถยืนอยู่ได้ จึงมีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะไปได้ต่อ
ในขณะที่เชิง Valuation แม้ว่าจะ Outperform ในช่วงที่ผ่าน แต่กระแสการเปิดเมืองมาค่อนข้างแรง แม้ว่าหลายประเทศยุโรปจะยังล็อคดาวน์อยู่บางส่วน แต่ด้วยการแจกจ่ายและการฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างรวดเร็ว และอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างต่ำ ตลาดเลยมองข้ามเรื่องโควิดไปแล้ว
นอกจากนี้ มีการปรับประมาณการ EPS ของตลาดหุ้นยุโรป ที่กลับมา Outperform ตลาดหุ้น S&P500 อีกครั้งหนึ่ง ณ จุดนี้ จึงยังสามารถเข้าลงทุนได้ ทั้งในปัจจัยพื้นฐานและเชิงเทคนิค
สำหรับผู้อ่านที่อยากจะถามคำถามเกี่ยวกับกองทุนรวม ให้คุณพีท ณัฐนันท์ Senior Portfolio Specialist ของทาง FINNOMENA ตอบ ก็สามารถติดตามรายการ Live The UpTrend Q&A ได้ทุกวันพุธ เวลา 19.00 – 20.00 น.
และถ้าอยากชมย้อนหลัง T้he Uptrend Live แบบเต็ม ๆ สามารถคลิกเพื่อรับชมได้ที่ : https://youtu.be/z0ZBkpBdN1k
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงบางส่วน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT