รีวิวกองทุน KFGPE-UI: โลดแล่นและหาโอกาสในโลกของการลงทุนนอกกระแส

เราพร้อมหรือยังกับการลงทุนในบริษัทเล็ก-กลางพร้อมเติบโตสูงบริหารโดยกองทุนชั้นนำต่างประเทศ

กองทุน KFGPE-UI เป็นการเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนอีกครั้งในฐานะสะพานเชื่อมต่อโลกการลงทุนในบริษัทขนาดเล็กเติบโตสูงที่มีศักยภาพก่อนเข้าตลาดให้คุณได้ลงทุนก่อนใครเพื่อน

จะเป็นอย่างไรเราลองมาติดตามกันครับ

รีวิวกองทุน KFGPE-UI: โลดแล่นและหาโอกาสในโลกของการลงทุนนอกกระแส

กองทุน KFGPE-UI คืออะไร?

กองทุน KFGPE-UI คือกองทุนของค่าย บลจ. กรุงศรี ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวไทยได้ลงทุนในบริษัทที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีโอกาสเติบโตสูง บริหารโดยบลจ. ระดับโลกอย่าง Schroder อยู่ในวงการมานับร้อยปี โดยกองทุน KFGPE-UI จะเข้าลงทุนในกองทุนต่างประเทศชื่อ Schroder GAIA II Global Private Equity Fund, Class C Accumulation USD (กองทุนหลัก) ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV และกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 8+

การลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ เสี่ยงสูง! จริงหรือ?

ใครหลายคนในสายการลงทุนและการเงินคงคุ้นเคยกับทฤษฎี Modern Portfolio Theory ที่สอนให้เรากระจายความเสี่ยงในหลากสินทรัพย์อย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงด้านความผันผวน โดยให้สมมติฐานไว้ว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงจะให้ผลตอบแทนได้สูง ในขณะเดียวกันสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำก็อาจจะให้ผลตอบแทนได้ต่ำ

แต่ถึงอย่างนั้นอีกฝากหนึ่งของทฤษฎีดังกล่าวก็ได้มีการกล่าวว่าความผันผวนไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงที่แท้จริงและราคาที่ผันผวนเป็นเพียงแค่การซื้อขายไปมาตามอารมณ์ของนายตลาดแต่เพียงเท่านั้น และบ่อยครั้งที่ราคาสินทรัพย์ปรับตัวลงมาก ๆ เราอาจได้สินทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูง ในขณะที่ความเสี่ยงจำกัด

ซึ่งการวิพากวิจารณ์ดังกล่าวเห็นได้ในนักลงทุนระดับท็อปของโลก เช่น คุณ Warren Buffett

ซึ่งหากคุณ “เชื่อ” ในแนวคิดดังกล่าวและพร้อมนำไปปรับใช้ กองทุน Schroder GAIA II Global Private Equity Fund, Class C Accumulation USD (กองทุนหลัก) เป็นอีกกองทุนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกัน และพร้อมพาคุณโลดแล่นไปในโลกของการลงทุนนอกกระแสที่อาจสร้างการเติบโตได้ในระดับสูงภายใต้ความเสี่ยงที่คิดมาแล้ว

รีวิวกองทุน KFGPE-UI: โลดแล่นและหาโอกาสในโลกของการลงทุนนอกกระแส

ภาพแสดงการแจกแจงกลยุทธ์การลงทุนในรูปแบบ Buyout ที่ให้ความสำคัญกับความไม่สมเหตุผลของราคาเพื่อหาโอกาส ที่มา: เอกสารการขาย Schroder

รู้จักกลยุทธ์ของกองทุนหลัก Schroder GAIA II Global Private Equity Fund ผ่านสัดส่วนที่ลงทุน

ภาพแสดงสัดส่วนรูปแบบการเข้าลงทุนและภูมิภาคที่ลงทุน ที่มา: เอกสารการขาย Schroder

หลักแล้ว ๆ กองทุนจะใช้กลยุทธ์วิธีการเข้าลงทุนโดยการ Buyout หรือการเข้าถือครองบริษัทเป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่เพื่อเข้าไปเป็นเจ้าของ (หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Acquire ซึ่งขอหยิบยกมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ นะครับ) ซึ่งหลัก ๆ แล้วตัวกองทุนจะเน้นลงทุนในในกิจการขนาดเล็ก (มีมูลค่ากิจการน้อยกว่า 100 ล้านเหรียญ) หรือขนาดกลางเป็นหลัก และตามมาด้วยกิจการขนาดใหญ่ (มีมูลค่ากิจการมากกว่า 500 ล้านเหรียญ)

โดยสัดส่วนของการลงทุนอีก 10%-20% จะเทไปให้การ Buyout แบบยักษ์ใหญ่และการลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสเติบโตสูงในเอเชียโดยเฉพาะจีนไปถึงยังลงทุนในบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งกิจการอีก 10%-20%

ในส่วนของรูปแบบการลงทุนจะเน้นสัดส่วนไปที่การร่วมลงทุน (Co-investment) หรือการถือหุ้นโดยตรงและการลงทุนผ่านตลาดรอง (Secondaries) หรือแลกเปลี่ยนซื้อขายต่อจากนักลงทุนรายอื่นก่อนหน้า ซึ่งในรูปแบบหลังจะช่วยให้กองทุนมีสภาพคล่องมากขึ้นจากการใช้หุ้นที่นำไปแลกเปลี่ยนให้กับนักลงทุนคนอื่น ๆ ในตลาดรองได้

รีวิวกองทุน KFGPE-UI: โลดแล่นและหาโอกาสในโลกของการลงทุนนอกกระแส

ภาพแสดงสัดส่วนกลยุทธ์การลงทุนในเอเชียซึ่งกองทุนมุ่งเน้นไปที่จีนและที่ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่เติบโต มีการบริโภคภายในสนับสนุนและลงทุนในอุตสาหกรรมที่เข้าถึงได้ยากเพื่อหาโอกาส ที่มา: เอกสารการขาย Schroder

อุตสาหกรรมหลักที่ลงทุน

ภาพแสดงสัดส่วนอุตสาหกรรมหลักที่ลงทุนของกองทุน ที่มา: KFGPE-UI วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2022

เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ซึ่งมีลักษณะผสมผสานในเชิงรุก (แง่ของ Health Tech) และรับ (กลุ่มที่จำเป็นต้องใช้เช่นยารักษาโรค) รวมไปถึงกลุ่มเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่ามีการเติบโตสูงในช่วงที่ผ่านมาและยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างเช่นกลุ่มผู้บริโภครวมไปถึงหมวดอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ตัวอย่างธุรกิจหลักที่ลงทุน

ภาพแสดงตัวอย่างธุรกิจที่กองทุนเข้าลงทุน ที่มา: เอกสารการขาย Schroder

เปิดกันมาที่บริษัทแรกชื่อเป็นมิตรกับหูอย่าง Pete & Gerry’s บริษัทขายของที่เราต้องกินกันแทบจะทุกวันอย่าง “ไข่ไก่” โดย Pete & Gerry’s คือผู้ผลิตไข่ไก่เกรดพรีเมียมในสหรัฐฯ มีรายได้เติบโตต่อเนื่อง มีจุดเด่นอย่างการทำธุรกิจแบบ Asset light ไม่เน้นสร้างฟาร์มและหาแม่ไก่เพิ่ม แต่เพิ่มกำลังการผลิตผ่านฟาร์มในเครือที่เชื่อในสิ่งคล้าย ๆ กัน

รู้หรือไม่; อุตสาหกรรมไข่ไก่เติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 22% ในช่วงปี 2017 ถึงปี 2022 เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตที่ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโต 37% แบบทบต้นในปี 2020-2024

 

ภาพแสดงตัวอย่างธุรกิจที่กองทุนเข้าลงทุน ที่มา: เอกสารการขาย Schroder

อีกหนึ่งตัวอย่างธุรกิจที่กองทุนได้เข้าลงทุนก็คือ ]init[ บริษัทให้บริการเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กับองค์กรต่าง ๆ ในภาครัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกปัจจุบัน เพราะ ในทุกวันนี้คงไม่มีใครอยากเก็บเอกสารเป็นปึก ๆ กันแน่แล้ว และต้องการจัดการโดยเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดต้นทุน โดย ]init[ เป็นบริษัทที่มีรายได้เติบโตต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

ผลตอบแทนย้อนหลัง

 

ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน ที่มา: เอกสารการขาย Schroder

กองทุนแม้จะจัดตั้งได้ไม่นานแต่ทำผลตอบแทนเติบโตต่อเนื่องอีกทั้งหากสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2020 ผลตอบแทนติดลบน้อยมาชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในสินทรัพย์ที่คนเข้าลงทุนไม่มาก ราคาไม่เวอร์ ไม่มีคนจ่ายเกินนัก ช่วยจำกัดความเสี่ยงได้จริง! อีกทั้งกองทุนยังมีผลตอบแทนเติบโตมาโดยตลอดอีกด้วย

ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของ Schroders Capital ที่มา: เอกสารการขาย Schroder

แต่หากมองไปให้ยาวกว่านั้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการลงทุนในรูปแบบนี้ของ Schroders ก็ทำผลงานได้โดดเด่นเหนือหุ้นโลกอีกด้วย

ค่าธรรมเนียมของกองทุน KFGPE-UI

ค่าธรรมเนียมซื้อ

  • แบ่งตามขนาดเงินลงทุน ดังนี้
    • ต่ำกว่า 50 ล้านบาท: 2.00%
    • 50 ล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท: 1.75%
    • ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป: 1.50%

ค่าธรรมเนียมขาย

  • ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนกองทุน

  • สับเปลี่ยนเข้า แบ่งตามขนาดเงินลงทุน ดังนี้
    • ต่ำกว่า 50 ล้านบาท: 2.00%
    • 50 ล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท: 1.75%
    • ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป: 1.50%
  • สับเปลี่ยนออก: ไม่เรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการจัดการ

  • 1.0700% ต่อปี

ค่าธรรมเนียมรวมรายปี

  • 1.2573% ต่อปี

ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก

  • 1,000,000 บาท

ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป

  • 500 บาท

*กองทุนนี้สําหรับผู้ลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น

วิธีซื้อขายกองทุน KFGPE-UI ที่ควรรู้

  • กองทุนจะมีการ IPO ในวันที่ 1-14 มีนาคม 2022
  • การลงทุนเพิ่มหรือซื้อเพิ่มสามารถทำได้รายเดือน
  • การขายคืนสามารถทำได้ในรายไตรมาส โดยปริมาณการขายคืนต้องไม่เกิน 5% ของขนาดกองทุนหลัก

*ข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อรักษาสภาพคล่องให้เหมาะสมเพื่อผลประโยชน์ของนักลงทุนและกองทุน

รีวิวกองทุน KFGPE-UI: โลดแล่นและหาโอกาสในโลกของการลงทุนนอกกระแส

ภาพแสดงตารางวันซื้อขายกองทุน KFGPE-UI ที่มา: เอกสารนำเสนอกองทุน KFGPE-UI

สรุปจุดเด่นกองทุน KFGPE-UI 

  • ลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี
  • มีข้อได้เปรียบจากการลงทุนในหุ้นนอกตลาด ทำให้ราคาหุ้นไม่สูงจนเกินไป
  • บริหารโดย Schroder บลจ. ต่างประเทศที่มีประวัติยาวนานนับร้อยปี
  • ทำผลงานได้โดดเด่นทั้งตัวกองทุนและประวัติการจัดการ
  • ให้ความสำคัญกับสภาพคล่อง ไม่รับเงินทุนตลอดเวลาหรือเปิดโอกาสให้ขายได้ตลอด (คล้ายกองทุนปิด)

กองทุนจะมีการ IPO ในวันที่ 1-14 มีนาคม 2022 หากนักลงทุนท่านใดสนใจลงทุนสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

References

เอกสารเสนอการขายกองทุน KFGPE-UI

เอกสารเสนอการขายกองทุน Schroder GAIA II Global Private Equity Fund

KFGPE-UI Fund Fact Sheet ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2022

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก  |  กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน  กองทุนนี้ห้ามขายให้ผู้ลงทุนรายย่อย เป็นกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น | กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน | กองทุนนี้อยู่ระหว่างการขอพิจารณาอนุมัติและจัดตั้งกองทุนรวมจากสำนักงาน ก.ล.ต. | บลน.ฟินโนมีนา จำกัด ในฐานะผู้แนะนำกองทุนรวม KFGPE-UI กองทุนรวมนี้ มีบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ และมีการลงทุนใน บริษัท ฟินโนมีนา จำกัด (FINNOMENA) ซึ่งผู้จัดการทรัสต์ และ FINNOMENA เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บลน.ฟินโนมีนา จำกัด |บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในฐานะผู้จัดการทรัสต์ อาจมีการลงทุนหรือทำสัญญาหรือเข้าทำธุรกรรมเพื่อ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ทรัสต์ Iในกิจการเป้าหมาย หรือกิจการ Startup ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้จัดการทรัสต์ หรือบริษัทในเครือกลุ่มธนาคารกรุงศรี อยุธยา จำกัด (มหาชน) | บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (ผู้จัดกำรทรัสต์) อาจมีการลงทุนในกิจการเป้าหมาย หรือกิจการ Startup อยู่ก่อนวันปิดรับการลงทุน  (Warehoused Investments) ซึ่งการลงทุนนั้นอาจมีลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์การลงทุนของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท  อิควิตี้ ทรัสต์ I (“PE ทรัสต์”) และผู้จัดการทรัสต์อาจโอนการลงทุนดังกล่าวนั้นมายัง PE ทรัสต์ก่อนหรือภายหลังวันปิดรับการลงทุน  (Closing) และถือว่า Warehoused Investments ที่โอนมานี้ถือเป็นเงินลงทุนที่ได้รับชำระแล้วในส่วนของผู้จัดการทรัสต์ มูลค่าของ  Warehoused Investments ที่โอนมาจะเท่ากับราคายุติธรรมของ Warehoused Investment บวกด้วยยอดเงินส่วนเพิ่มที่กำหนดโดย  ผู้จัดการทรัสต์ ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจำกกำรเข้าซื้อ ถือครอง และการโอนส่วน Warehoused Investment นี้ตาม  มาตรฐานการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทำ | ผู้จัดการทรัสต์อาจจัดให้มีการลงทุนร่วมในกิจการเป้าหมายเดียวกับ PE ทรัสต์ แก่ผู้ลงทุนรายอื่นใดหรือบุคคลที่สาม (Co-investment) โดยการลงทุนร่วมนี้อาจกระทำการเข้าลงทุนหรือถอนการลงทุนในเวลาเดียวกัน รูปแบบหรือวิธีเดียวกันกับ PE ทรัสต์ ผู้ลงทุนร่วม (Co-investor)  จะถูกจัดสรรยอดลงทุน ค่ำใช้จ่าย ภาระผูกพันต่างๆ ตำมสัดส่วนที่เข้าลงทุน |การกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งผู้ลงทุนของกองทุนรับทราบและตกลงยินยอมในการกระทำที่อาจก่อให้เกิด  ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว และกองทุนไม่สามารถรับรองว่าผลตอบแทนจากการลงทุนของ ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I จะคล้ายหรือเหมือนกับผลตอบแทนของการลงทุนอื่นใดที่ผู้จัดการทรัสต์เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด หรือทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทรัสต์ หรือให้  คำแนะนำ หรือเป็นที่ปรึกษา หรือให้บริการอื่นใด I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”