รู้เท่าทัน... ภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ (แบบใหม่)

เป็นประเด็นที่แต่ละคนอาจจะข้องใจเกี่ยวกับเรื่อง “ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์” ในอัตรา 15% กับผู้ที่มีดอกเบี้ยรวมกัน ‘ทุกบัญชี’ เกิน 20,000 บาท และบุคคลประเภทใดที่จะโดนละการจ่ายภาษีดอกเบี้ย ทั้งนี้เราจะมาสรุปเรื่องนี้กันให้เข้าใจกันอีกทีดีกว่า

รู้เท่าทัน... ภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ (แบบใหม่)

มาตราการภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

จริงๆ การจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เป็นเรื่องที่เคยบังคับใช้ก่อนหน้านี้แล้ว เป็นการให้สิทธิ์ยกเว้นภาษีสำหรับบุคคลที่มีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทุกบัญชี จำนวนไม่เกิน 20,000 บาท แต่ถ้าใครได้รับดอกเบี้ยรวมกันแล้วเกิน 20,000 บาท ก็จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% นั่นเอง

ย้ำว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์! ไม่ใช่จำนวนเงินฝากที่อยู่ในบัญชี

รู้เท่าทัน... ภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ (แบบใหม่)

ความแตกต่างจากเดิม

จากเดิมที่ผู้ฝากเงินมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ธนาคารรับรู้เมื่อได้รับดอกเบี้ยรวมทุกบัญชีเกิน 20,000 บาท เพื่อให้ธนาคารเป็นคนที่ทำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากร

แต่ตอนนี้ผู้ฝากเงินเพียงต้องแจ้งต่อธนาคารว่ายินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ให้แก่กรมสรรพากรทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้กรมสรรพากรเชื่อมโยงข้อมูลและทราบจำนวนดอกเบี้ยของผู้ฝากเงินในทุกบัญชีของทุกธนาคารของเรานั่นเอง

รู้เท่าทัน... ภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ (แบบใหม่)

สรุปแล้ว…

แสดงว่าคนที่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากไม่ถึง 20,000 บาท และลงทะเบียนยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลไปให้กรมสรรพากรเท่านั้น ก็ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเหมือนเดิมแล้วค่ะ

ส่วนคนที่มีเงินฝากจำนวนมากๆ คิดแบบคร่าวๆ ก็ในกรณีหลักล้านขึ้นไป ถึงจะมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท และต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ซึ่งเป็นอัตราเดิมที่เคยเสียก่อนหน้านี้อยู่แล้วค่ะ

แต่ว่าถ้าคนไหนไม่ได้เซ็นยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยไปให้ทางกรมสรรพากร ก็โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตั้งแต่บาทแรกของดอกเบี้ยที่ได้รับเลย (ถึงแม้จะดอกเบี้ยจะมีจำนวนไม่เกิน 20,000 บาทก็ตาม)

ซึ่งจริงๆ แล้ว มาตรการแบบใหม่นั้นไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายไปยังกรมสรรพากรเท่านั้น แต่อัตราภาษีและจำนวนเงินขั้นต้นยังเป็นจำนวนเดิม เพื่อลดอัตราการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีนั่นเอง

และนี่คือสรุปข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ประกาศจากกรมสรรพากรนะคะ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยินยอมที่ต้องแจ้งให้กับแต่ละธนาคาร ก็ต้องรอการประกาศอีกทีค่ะ

แต่ถ้าคนไหนไม่อยากเสียทั้งเงินภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก และแถมอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากธนาคารก็น้อยนิดเหลือเกิน ก็มาลงทุนที่กองทุนรวมสิคะ ทาง FINNOMENA มีบริการให้คำปรึกษาอยู่ ถ้าสนใจ คลิกเลย https://www.finnomena.com/nter-exclusive

ที่มา:
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/news/news32_2562.pdf
https://money.kapook.com/view209033.html