นักลงทุนทุกคนที่เริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวม คงตั้งถามเกี่ยวกับการเลือกหักหรือไม่หักภาษี ว่าต้องเลือกอย่างไรและความแตกต่างเป็นอย่างไร?
ตอนเริ่มต้นลงทุน ทุกคนก็จะต้องกรอกข้อมูลเพื่อเปิดบัญชี แล้วก็จะเจอคำถามว่า “หักหรือไม่หักภาษี” ภาษีนี้เรียกเต็มๆ ว่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นก็นำเงินส่งกรมสรรพากร
ก่อนจะเข้าเรื่องภาษีคุณต้องเข้าใจเงินได้จากกองทุนรวมก่อน
เงินได้หรือผลตอบแทนจากกองทุนรวมมี 2 รูปแบบ
1. กำไรขาดทุนจากราคาหน่วยลงทุน เวลาเราลงทุนในกองทุนรวม เราจะได้รับหน่วยลงทุนตามราคา NAV
ตัวอย่าง คุณซื้อกองทุนรวม ราคา NAV 100 บาท ต่อมาผ่านไป 1 ปี ราคาของหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นเท่ากับราคา NAV120 บาท ขายออกได้รับกำไรส่วนต่าง 20 บาท
ตัวอย่าง คุณซื้อกองทุนรวม ราคา NAV 100 บาท ต่อมาผ่านไป 1 ปี ราคาของหน่วยลงทุนลดลงเท่ากับราคา NAV 80 บาท ขายออกก็จะขาดทุนส่วนต่าง 20 บาท
กรณีกำไรขาดทุนจากราคาหน่วยลงทุน ได้รับการละเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. เงินปันผล
การลงทุนในกองทุนรวม เราจะได้รับเงินปันผลตามนโยบายของแต่ละกอง
กองทุนรวมมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดจ่ายเงินปันผลและชนิดสะสมมูลค่า โดยจะมีเพียงกองทุนชนิดจ่ายเงินปันผลเท่านั้นที่จะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน นักลงทุนสามารถอ่านนโยบายจากหนังสือชี้ชวน (fund fact sheet) หรือสามารถค้นหาข้อมูลโดยพิมพ์ชื่อกองทุนใน LINE @FINNOMENA
ตัวอย่าง กองทุนในพอร์ต FINNOMENA Best-in-Class หมวด Property & REITs
M-PROP DIV = จ่าย
KT-PIF-A = ไม่จ่าย
PHATRA PROP-D = จ่าย
** หมายเหตุ: กองทุนที่นำมาเอ่ยถึงนี้เป็นเพียงการยกตัวอย่าง มิได้มีเจตนาเชียร์ให้ซื้อขายแต่อย่างใด
กรณีถ้าเป็นเงินปันผลจากหน่วยลงทุน เราต้องจ่ายภาษี ซึ่งสามารถเลือกที่จะหักหรือไม่หักเงินได้ ณ ที่จ่ายได้
“เงินปันผลจากกองทุนรวมเป็นรายได้อีกประเภทนึงที่เราสามารถเลือกให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลยเหมือนกับเงินปันผลทั่วไป โดยไม่ต้องยื่นภาษีอีกก็ได้ หรือคุณจะใช้สิทธิ์แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายตอนจ่ายเงินปันผลจากกองทุนรวมก็ได้ เพียงแต่ว่าคุณจะมีหน้าที่ต้องนำเงินปันผลนั้นมาเสียภาษีด้วย เพราะไม่สามารถเลือกให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายอีกต่อไปแล้ว
แต่อย่างไรก็ดี คุณไม่สามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้เหมือนเงินปันผลทั่วไป และกฎหมายก็ไม่อนุญาตให้หักค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกัน” – อ้างอิงจาก iTAX
เลือกอย่างไร?
ก่อนการเลือก คุณต้องกลับไปตรวจสอบฐานภาษีของคุณก่อนว่าจ่ายอัตราเท่าไร โดยเงินปันผลจากกองทุนรวมจะคิดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เท่ากับ 10%
ถ้าฐานภาษีของคุณ 10% แนะนำว่าคุณควรเลือกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไปเลย เพราะจะช่วยลดความยุ่งยากเรื่องการยื่นภาษี แต่ถ้าคุณไม่ใช่กรณีข้างต้น เช่น…
ตัวอย่าง: ฐานภาษีของคุณ 20% ถ้าเลือกไม่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย คุณต้องนำเงินปันผลจากกองทุนมารวมคิดฐานภาษี จ่ายอัตราภาษีตั้งแต่ 20% หรือมากกว่า ทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น แนะนำคุณควรเลือก “หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย”
ตัวอย่าง: ฐานภาษีของคุณ 5% ถ้าเลือกไม่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เงินปันผลจากกองทุนรวมต้องนำมารวมคิดฐานภาษี จ่ายอัตราภาษีตั้งแต่ 5% หรือมากกว่า ทำให้เสียภาษีน้อยลง แนะนำคุณควรเลือก “ไม่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย”
*** ข้อแนะนำ: การเลือกไม่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จะเพิ่มความยุ่งยากเรื่องการยื่นภาษี
ถ้าเงิ
ขอบคุณข้อมูลจาก:
http://www.rd.go.th/publish/27862.0.html
http://www.rd.go.th/publish/59670.0.html
http://www.rd.go.th/publish/29006.0.html
http://www.rd.go.th/publish/11162.0.html
https://www.finnomena.com/bic/
ขอบคุณ ความรู้ภาษีจาก ITAX อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.itax.in.th