VI-Buy-hold-sell-02

ผมเคยเข้าใจว่าการวิเคราะห์พื้นฐานนั้นช่วยในการเลือกหุ้น ส่วนการวิเคราะห์เทคนิคนั้นเอาไว้ช่วยดูจังหวะซื้อขาย และผมก็เชื่อว่าหลายๆคนคงมีหรือเคยมีความคิดแบบนี้อยู่ในหัว แต่พอเอาเข้าจริงๆ ผมลงทุนมาเกือบ 7 ปีแล้ว ยังไม่เคยวิเคราะห์เทคนิคมาเป็นจังหวะซื้อขายหุ้นเลยซักครั้ง ความเชื่อผมเปลี่ยนไปแล้ว เพราะผมได้รู้ว่าการวิเคราะห์พื้นฐานแบบ VI ก็สามารถบอกจังหวะการซื้อขายได้ดีไม่แพ้วิธีไหนๆ

ผมเอาที่ผม post ตอบไว้ในกระทู้ที่ Thaivi มาแปะไว้เพื่อให้ได้อ่านกันถ้วนหน้านะครับ ข้อเขียนนี้ถือเป็นการต่อยอดจากบทความเรื่องการบริหาร port style yoyo ที่เคยเขียนเอาไว้ใน Blog มาพักนึงแล้ว


ถาม. คุณ yoyo ใช้อะไรในการดูจังหวะซื้อขายครับ เพราะไม่ได้ดูกราฟหลักการของคุณ Yoyo บอกจังหวะในการลงทุนอย่างไรบ้างครับ ยกตัวอย่างของจริงที่เคยทำมาแล้วให้หน่อยได้ไหมครับ ตัวอย่างในอดีตน่ะครับจะได้ไม่เป็นการชี้นำ

ตอบ. จังหวะซื้อขายของผมเกิดมาจากการประยุกต์ portfolio management ครับ การบริหาร port นั้นทำโดยการถือหุ้นกระจายหลายๆตัวเพื่อลดความเสี่ยง แรกๆผมก็ทำการจัด port เพื่อลดความเสี่ยง แต่ไปๆมาๆ พอจัดไปจัดมาอยู่ๆ ผมก็เห็นว่าเอ๊ะ… ไอ้การจัด port โดยดูจากความถูกความแพงของหุ้นนี่มันช่วยบอกจังหวะซื้อขายให้เราได้ดีมากๆ ซึ่งผมอ่านหนังสือมาหลายเล่ม ฟังสัมมนามาหลายงาน ก็ยังไม่เคยเจอใครที่เอาเรื่องนี้มาเขียนหรือมาพูดเป็นชิ้นเป็นอัน ผมถือว่าเรื่องนี้สำคัญเป็นอันดับ 2 รองจาก Stock Selection เลยครับ

ผมเคยเขียนไว้ใน Blog www.yoyoway.com “การบริหาร Port style yoyo” ลองไปอ่านดู
ผมจะเอามา Replay ใหม่อีกรอบแบบมีภาพประกอบด้วย เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

กรณีศึกษา

หลักการคร่าวๆคือ
สมมติผมถือหุ้น 2 ตัว คือ
หุ้น A ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
และ B ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
ทั้ง 2 ตัวมี Upside ที่ 60% เท่ากัน

ผมแบ่งสถานะ port ออกมาเป็น 7 ช่วงเวลา

portfoilio management1. ผมควรจะถือหุ้นทั้ง 2 ตัว ตัวละกี่ % ดีครับ… ใช้ common sense ทั่วไปก็พอจะเดาได้ว่าควรจะถือหุ้นอย่างละครึ่ง เพราะทั้งคู่มี Upside เท่ากัน

2. ที่นี้สมมติว่าหุ้น A ขึ้นไป 12 บาท หุ้น B ลงมาเหลือ 8 บาท ณ จุดนี้หุ้น A จะมีสัดส่วน 60% ในขณะที่ B จะลดเหลือ 40% แต่เมื่อดู upside แล้ว A จะมี upside ที่ 33% ขณะที่ B จะมี 100%ในเมื่อ B มี Upside ที่สูงกว่า A ตั้งเยอะ ทำไมเราจะไม่ถือ B เยอะกว่า A ?…

3. ที่นี้ผมก็จะขายหุ้น A มาซื้อหุ้น B เพื่อปรับสัดส่วนใหม่ สมมติว่าเป็น 30:70

4. เมื่อเวลาผ่านไป สมมติต่ออีกว่าหุ้น A ลดลงมาเหลือ 8 บาท หุ้น B วิ่งขึ้นไปเป็น 12 แทน สัดส่วนหุ้น B ใน port ผมจะยิ่งสูงขึ้นจาก 70 กลายมาเป็น 84% …

5. แน่นอนครับ ในเมื่อ Upside หุ้น A กลับมาสูงถึง 100 แล้ว B ลดลงเหลือ 33% ผมก็ขายหุ้น B แล้วก็ไปซื้อหุ้น A อีกครั้ง เพื่อปรับสัดส่วนหุ้นใน port ใหม่เป็น 70:30

6. ตลาดหุ้นเล่นตลกกับเราอีกแล้วครับ… หุ้น A เพิ่มขึ้นมาเป็น 10 หุ้น B ลดลงมาเหลือ 10 บาท….

7. ในเมื่อ Upside มันเท่ากับ ผมก็ขายหุ้น A ซื้อหุ้น B จนกลายเป็น 50:50 สุดท้ายผมถือหุ้นไปตั้งนาน ราคาหุ้นมันกลับมายืนที่เดิมอีกแล้วมันน่าเซ็งมั๊ยล่ะ … แต่เอ๊ะ มาดูมูล port รวมของผมซิครับ ทั้งๆที่ ราคาหุ้นทั้ง 2 ตัวไม่ไปไหนเลย port ผมโตขึ้นมา 40% จาก 1 ล้านบาท กลายเป็น 1.4 ล้านบาท

เห็นไหมครับ ไม่ต้องดูกราฟ ไม่ต้องดู Fund flow … ใช้หลักการแบบ VI ง่ายๆ ซื้อหุ้นถูกขายหุ้นแพง แม้ว่าหุ้น A และ B มันจะต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ 16 บาทอยู่ตลอดเวลา แต่ความถูกความแพงมันเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ

เมื่อ A ถูกกว่า B ผมก็ขาย B ซื้อ A …
เมื่อ B ถูกกว่า A ผมก็ขาย A ซื้อ B …

เค้าบอกกันว่า VI ถือหุ้นระยะยาว ถือแล้วไม่ขายจนกว่าราคาหุ้นจะเกินพื้นฐาน … ผมบอกว่าผมขายถ้ามีตัวอื่นที่น่าสนใจกว่า

สุดท้ายหลักการข้อนี้เลยทำให้หลักการซื้อหุ้นพื้นฐานแบบ VI สามารถบอกจังหวะซื้อขายได้ด้วยตัวมันเอง และช่วยทำให้ port ผมโตได้ แม้ราคาหุ้นโดยรวมอาจจะไม่ได้ไปไหนเลย แบบตัวอย่างข้างต้น
ตัวอย่างนี้เป็นแบบง่ายๆมีหุ้น 2 ตัว… ปกติถ้าผมจะมีหุ้นประมาณ 4-5 ตัว ก็ใช้หลักการเดียวกันครับ Upside เยอะกว่าก็ควรจะมีสัดส่วนสูงกว่า

ที่มาบทความ : http://thai-value-investor.blogspot.com/