หลายคนอาจจะเริ่มได้ยินคำว่า SaaS บ้างก็ว่าเป็นธุรกิจแบบใหม่ที่กำลังมาแรงในปัจจุบันและอนาคตบ้างละ บ้างก็ว่าเป็นเครื่องมือที่เหล่าบริษัทและสตาร์ทอัพเริ่มนำมาใช้บ้างละ บ้างก็ว่าอำนวยความสะดวกสบาย เหมาะกับยุคที่เทคโนโลยีครองเมือง ดังนั้นบริษัทที่ทำ SaaS จึงเป็นที่จับตาของนักลงทุน ในฐานะโอกาสที่มีลุ้นให้เติบโตขึ้นไปอีก วันนี้จะชวนมาลองทำความรู้จักกันว่าเจ้า SaaS นี้คือธุรกิจอะไร
1. แล้ว SaaS มันคืออะไร
SaaS ย่อมาจาก Software-as-a-Service แปลเป็นภาษาไทยก็คือ การให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ รู้จักกันในอีกนามว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ระบบ Cloud นั่นเอง เขียนอย่างนี้หลายคนอาจจะยังงง ขอสรุปว่า SaaS คือการให้บริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงโปรแกรมต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องลำบากดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดเครื่องไว้ ตัวอย่างเบสิก ๆ ที่หลายคนคุ้นเคยก็คือการใช้อีเมล ที่เราเข้าอินเตอร์เน็ตแล้วล็อกอินไปเช็กอีเมลได้เลย หากขยับมายังการใช้งานในบริษัทก็จะเจอโปรแกรมสำนักงานอย่าง Microsoft Office 365, Google Drive เป็นต้น
2. ข้อดีของ SaaS
ข้อดีของ SaaS เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ที่ต้องมาติดตั้งในเครื่อง มีอยู่ด้วยกันหลายข้อ เช่น
2.1 SaaS ไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์หรือเครื่องไม้เครื่องมือพิเศษอะไร จึงลดขั้นตอนการติดตั้งไปได้มาก รวมถึงลดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นด้วย
2.2 SaaS คิดค่าบริการเป็นแบบ Subscription Model ก็คือจ่ายเฉลี่ยเป็นรายเดือน รายปี ก็ว่ากันไป ถ้าไม่ใช้ก็เลิกเป็นสมาชิก ในขณะที่ถ้าเป็นซอฟต์แวร์แบบติดตั้ง จะต้องซื้อแบบถาวร จ่ายหน้างานไปเลยเต็ม ๆ
2.3 SaaS ไม่มีข้อจำกัดเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะใช้ Windows หรือ Mac ก็ใช้งานได้ หรือจะใช้งานผ่านเครื่องมืออื่น ๆ อย่างมือถือหรือแท็บเล็ตก็ได้เช่นกัน เพราะซอฟต์แวร์อยู่บนอินเตอร์เน็ต ตราบใดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ ก็ใช้งานได้
2.4 ผู้ให้บริการ SaaS สามารถอัปเดตซอฟต์แวร์ของตนได้ง่าย ๆ ผ่านระบบกลาง ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องไม่ต้องอัปเดตแยกเป็นรายเครื่อง ซึ่งบางทีผู้ใช้งานก็อาจจะลืมอัปเดตบ้าง หรือติดข้อจำกัดด้านความปลอดภัยอื่น ๆ บ้าง ทำให้การอัปเดตล่าช้า สู้ผู้ให้บริการอัปเดตจากศูนย์กลางเลย ง่ายกว่าเยอะ
2.5 SaaS ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลง่ายยิ่งขึ้น เพราะข้อมูลถูกเก็บไว้ตรงศูนย์กลางในที่เดียวกัน เวลาทำงาน ระบบก็มักจะบันทึกงานให้โดยอัตโนมัติ หากเป็นซอฟต์แวร์ติดตั้ง เราก็จะต้องลงทุนไปหาที่สำรองข้อมูลเผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เครื่องมือฮาร์ดแวร์นั้นพัง
สรุปก็คือ SaaS เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ใช้งาน นอกจากจะสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
3. SaaS ต่างจาก Cloud อย่างไร
อ่านถึงตรงนี้แล้วหลายคนอาจจะยังเข้าใจว่าเอ๊ะ SaaS มันก็เหมือน Cloud รึเปล่า อันที่จริงมันคนละอย่างกัน โดย Cloud นั้นเป็นชื่อเรียกของเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานที่หลัก ๆ จะประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และฐานข้อมูลที่เชื่อมกัน เป็นระบบที่จะเอื้อให้ผู้ใช้งานสามารถแชร์สิ่งต่าง ๆ ร่วมกันได้ ส่วน SaaS นั้นจะเป็นการส่งมอบซอฟต์แวร์ผ่านระบบ Cloud อีกที หรืออีกแบบคือ SaaS ใช้ประโยชน์จากระบบ Cloud ในการให้บริการซอฟต์แวร์นั่นละ หรือเรียกอีกแบบว่า SaaS เป็นเพียงหนึ่งประเภทของ Cloud Computing เท่านั้น
4. แล้ว Cloud Computing ประเภทอื่น ๆ มีอะไรบ้าง?
นอกจาก SaaS แล้ว ระบบ Cloud ยังเอื้อให้เกิดการแชร์ในสิ่งต่าง ๆ อีก หลัก ๆ ก็เช่น
PaaS (Platform-as-a-Service) คือการให้บริการแพลตฟอร์มผ่านระบบ Cloud ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถสร้างซอฟต์แวร์เองได้
IaaS (Infrastructure-as-a-Service) คือการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีผ่านระบบ Cloud ซึ่งก็จะมีส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล ตัวเชื่อมระบบ เป็นต้น
5. เน็ตช้าใช้ SaaS ได้ไหม
ด้วยความที่ SaaS ต้องพึ่งพาระบบออนไลน์ สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เสถียรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้กันในองค์กรปกติก็เพียงพอที่จะรองรับ SaaS แล้ว ข้อดีคือ SaaS บางเจ้าเค้าก็พัฒนาให้โปรแกรมสามารถใช้งานได้แม้ว่าเราจะไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ก็ตาม
6. เทรนด์ SaaS เป็นอย่างไร
เพราะ SaaS อำนวยความสะดวกให้บริษัททั้งเล็กและใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจหากเราจะพบว่าเทรนด์ SaaS กำลังมาแรง และนี่คือตัวอย่างสถิติจาก DevSquad ที่เรานำมาฝากกัน
- จำนวนเงินที่บริษัทใช้ลงทุนกับ SaaS นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2010 โดยคาดว่ามูลค่าตลาดโดยรวมน่าจะแตะระดับ $6.2 แสนล้าน ภายในปี 2023
- 38% ขององค์กรระบุว่าใช้ SaaS ในการดำเนินงานทั้งหมด
- 73% ระบุว่าจะใช้ SaaS ในการดำเนินงานทั้งหมด ภายในปี 2020
- 86% ขององค์กรระบุว่าการใช้ SaaS ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้นอย่างมีนัย
- อเมริกาเหนือเป็นภูมิภาคที่ใช้งาน SaaS เยอะสุด
7. บริษัท/ผลิตภัณฑ์อะไรให้บริการ SaaS บ้าง
ขอหยิบชื่อที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดี โดยจะขอโฟกัสไปที่ซอฟต์แวร์ที่มักจะใช้ในการทำงานละกัน
Google: เป็นที่ทราบกันดีว่า Google มีผลิตภัณฑ์ออนไลน์เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Google Analytics, Google Drive, Google Docs, Google Ads เป็นต้น
Adobe: สายมีเดียน่าจะคุ้นเคยกันดี ซึ่ง Adobe มีบริการอย่าง Creative Cloud ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมอย่าง Photoshop, Illustrator และอื่น ๆ แบบออนไลน์ได้
Slack: ผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ของ Slack คือโปรแกรมแชต/ทำงานร่วมกัน ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อความหากันได้ วิดีโอคุยกันได้
Mailchimp: สายการตลาดน่าจะคุ้นเคยกันดี โดยผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ของ Mailchimp คือระบบสร้างอีเมลที่ผู้ใช้สามารถตั้งอีเมลอัตโนมัติและวัดผลได้
Shopify: ผลิตภัณฑ์หลัก ๆ คือแพลตฟอร์ม E-Commerce สำหรับร้านค้าออนไลน์
Microsoft: รายนี้ก็ของเยอะ ที่คุ้นเคยกันก็เช่น Microsoft Office 365, OneDrive
SurveyMonkey: เครื่องมือสร้างแบบสอบถามออนไลน์ ที่สามารถเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอได้
Lastpass: ซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดเก็บรหัสผ่าน ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานรหัสผ่านได้อย่างง่าย ๆ ไม่ต้องจำเอง
Zoom: เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถจัดการประชุมผ่านวิดีโอได้ อยู่ที่ไหนก็คุยกันได้
Atlassian: บริษัทนี้มีซอฟต์แวร์ช่วยเรื่องการทำงานหลายอย่าง เช่น JIRA, Trello, Confluence ที่เอื้อให้คนในองค์กรทำงานร่วมกัน
Salesforce: ขึ้นชื่อเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้พนักงานสามารถร่วมมือประสานงานกับลูกค้าได้
Workday: ให้บริการด้านระบบการเงินและการบริหารจัดการบุคลากร
Dropbox: ระบบเก็บข้อมูลออนไลน์
ServiceNow: ให้บริการด้านระบบ Automation ที่ใช้ในองค์กร เพื่อช่วยให้การทำงานลื่นไหลขึ้น
8. กองทุนอะไรลงทุนในบริษัทที่ให้บริการ SaaS บ้าง
ใครที่เชื่อว่าเทรนด์ SaaS นั้นมาแน่ และอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสการเติบโตนี้ ก็สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนรวม โดยเราขอยกตัวอย่างมา 5 กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี ลองไปศึกษากันดูต่อได้นะ
KF-GTECH: ลงทุนในกองทุนหลักที่ชื่อ T. Rowe Price Funds SICAV Global Technology Equity Fund – Class Q ซึ่งใน 10 อันดับแรกก็มีลงทุนในบริษัทที่ทำ SaaS เช่น Alibaba (7.6%) Amazon (6.8%) Salesforce (4.7%) ServiceNow (3.2%) Workday (3.2%) Alphabet (3.2%) Intuit (3.2%) Atlassian (3.1%)
(ข้อมูลจาก สรุปสาระสำคัญของกองทุนหลัก (เฉพาะภาษาอังกฤษ) จากเว็บไซต์ https://www.krungsriasset.com ณ วันที่ 30 เมษายน 2020)
ONE-UGG-RA: ลงทุนในกองทุนหลักที่ชื่อ Baillie Gifford Long Term Global Growth Investment Fund ซึ่งใน 10 อันดับแรกก็มีลงทุนในบริษัทที่ทำ SaaS เช่น Amazon (9.1%) Tencent (6.8%) Alibaba (6.2%) Alphabet (3.3%)
(ข้อมูลจาก Fund Factsheet จากเว็บไซต์ https://www.one-asset.com ณ วันที่ 30 เมษายน 2020)
T-ES-GTECH: ลงทุนในกองทุนหลักที่ชื่อ Polar Capital Funds plc – Global Technology Fund Class I US Dollar ซึ่งใน 10 อันดับแรกก็มีลงทุนในบริษัทที่ทำ SaaS เช่น Microsoft (7.6%) Alphabet (5.8%) Alibaba (3.8%) Amazon (3.2%) Tencent (3%)
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.polarcapital.co.uk ณ วันที่ 30 เมษายน 2020)
TISTECH-A: ลงทุนในกองทุนชื่อ T. Rowe Price Funds SICAV Global Technology Equity Fund Class I เป็นสัดส่วน 47.09% และ Polar Capital Funds plc – Global Technology เป็นสัดส่วน 49.7%
(ข้อมูลจาก Fund Factsheet จากเว็บไซต์ https://www.tiscoasset.com ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2562)
สำหรับกองทุน T. Rowe Price Funds SICAV Global Technology Equity Fund Class I ใน 10 อันดับแรกก็มีลงทุนในบริษัทที่ทำ SaaS เช่น Alibaba (7.6%) Amazon (6.8%) Salesforce (4.7%) ServiceNow (3.2%) Workday (3.2%) Alphabet (3.2%) Intuit (3.2%) Atlassian (3.1%)
(ข้อมูลจาก จากเว็บไซต์ https://www.troweprice.com/ ณ วันที่ 30 เมษายน 2020)
สำหรับกองทุน Polar Capital Funds plc – Global Technology ใน 10 อันดับแรกก็มีลงทุนในบริษัทที่ทำ SaaS เช่น Microsoft (7.6%) Alphabet (5.8%) Alibaba (3.8%) Amazon (3.2%) Tencent (3%)
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.polarcapital.co.uk ณ วันที่ 30 เมษายน 2020)
LHDIGITAL-A: ลงทุนในกองทุนหลักที่ชื่อ AXA World Funds SICAV – Framlington Digital Economy ซึ่งใน 10 อันดับแรกก็มีลงทุนในบริษัทที่ทำ SaaS เช่น Amazon (3.5%) Microsoft (3.2%) ServiceNow (3.2%) SalesForce (3%) Zendesk (3%)
(ข้อมูลจาก Fund Factsheet จากเว็บไซต์ https://www.axa-im.com ณ วันที่ 30 เมษายน 2020)
เปิดบัญชี FINNOMENA ซื้อกองทุนเทรนด์ SaaS ตามตัวอย่างข้างบน
เปิดไว เปิดง่าย ใน 1 วัน พิเศษ!
เปิดวันนี้รับรางวัลขวัญถุง 100 บาท อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/oa1190
เพื่อนผู้ใจดี
ดูหนังสือชี้ชวนฉบับล่าสุดของแต่ละกองทุน
KF-GTECH : https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.html?fund=KF-GTECH
ONE-UGG-RA: https://www.one-asset.com/fund/detail/244/THB
T-ES-GTech: https://www.thanachartfundeastspring.com/tfundwebv4/infoid/idp_funddesc.aspx?fundCode=T-ES-GTech
https://www.polarcapital.co.uk/gb/professional/Our-Funds/Global-Technology#/Portfolio
TISTECH-A: https://www.tiscoasset.com/th/historicalnavs/init.action?navData.fundCode=TTECH-A
https://www.polarcapital.co.uk/gb/professional/Our-Funds/Global-Technology#/Portfolio
https://www.troweprice.com/financial-intermediary/no/en/funds/sicav/global-technology-equity-fund.html
LHDIGITAL-A: https://www.lhfund.co.th/MutualFund/FundDetail/LHDIGITAL-A
https://www.axa-im.com/fund-centre/-/funds-center/axa-wf-framlington-digital-economy-i-usd-acc-58699
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.softwareadvice.com/resources/saas-10-faqs-software-service/
https://www.techradar.com/news/what-is-saas
https://azure.microsoft.com/en-us/overview/what-is-saas/
https://blog.hubspot.com/service/top-saas-companies
https://devsquad.com/blog/saas-statistics/
Jessada Sookdhis
Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I กองทุนที่ระบุในบทความนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย I สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”