“การลงทุนมีความเสี่ยง” คือประโยคคลาสสิคที่ใช้ได้เสมอในโลกการลงทุนอันหอมหวนและโหดร้ายในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะกับโลกการลงทุนในปัจจุบันที่มี Product การลงทุนรูปแบบใหม่หลากหลายประเภทที่คิดค้นขึ้นมาเผื่อสร้างโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดกับตลาดหุ้นบ้านเราที่เมื่อก่อนจะมีแค่การซื้อขายหุ้นแบบปกติ แบบกู้ยืมทั้ง Margin และ Short-Sell รวมไปถึง TFEX และ Options จนกระทั่งการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง Block Trade และ Derivative Warrant หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “DW”

นักลงทุนหลายท่านอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ DW มาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังมีนักลงทุนอีกไม่น้อยที่ยังไม่รู้ว่าอะไรคือ DW? ข้อดีและข้อเสียของ DW? นักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จาก DW ได้อย่างไรบ้าง?

ในฐานะที่ผมเป็นนักลงทุนสายเก็งกำไรและเทรด DW ควบคู่กับหุ้นค่อนข้างบ่อย ก็อยากจะเขียนถึง 10 เรื่องที่นักลงทุนควรรู้ก่อนลงทุนใน DW ครับ

1. DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ซื้อในการซื้อหุ้นอ้างอิง (ในราคา จำนวน และเวลาที่กำหนดในอนาคต)

โดยผู้ออก DW เป็นบุคคลที่สาม อาจพูดง่ายๆ ว่า DW มีลักษณะเหมือน Warrants ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีความแตกต่างกันที่ผู้ออก ไม่ใช่เจ้าของบริษัทหุ้น เหมือนกับ Warrant ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น

2. DW Symbol (สัญลักษณ์ในการซื้อขาย DW)

ผมทำรูปออกมาอธิบายความหมายได้ง่ายๆ แบบนี้ครับ

3. DW มี 2 ประเภท คือ CALL และ PUT

ตัวอย่างในรูปเพื่อง่ายต่อความเข้าใจ โดยอ้างอิงจากหุ้น IVL (ราคา DW เป็นราคาสมมติและราคาในอดีตไม่สามารถชี้วัดราคาในอนาคตได้)

จะเห็นได้ว่าข้อดีของ DW นั้น นักลงทุนสามารถทำกำไรได้ไม่ว่าหุ้นอ้างอิงจะขึ้นหรือลง แต่นักลงทุนควรตระหนักถึงความเสี่ยงในกรณีที่เก็งกำไรผิดทางด้วยเช่นกัน

4. ขั้นตอนการเลือก DW ต้องทำอย่างไร

  • กำหนด “มุมมอง” บนหุ้นที่สนใจ เช่น ถ้ามองว่าราคาหุ้นจะขึ้น ก็อาจพิจารณาซื้อ Call   DW หรือซื้อ PUT DW ถ้ามองว่าราคาหุ้นจะลง ไม่แนะนำให้ถือจนวันหมดอายุ (แนะนำให้ตัด DW ที่อายุสั้น ราคาถูกมากๆ ทิ้งไป)
  • กำหนด “ระยะเวลาลงทุน” นักลงทุนควรกำหนดราคาเป้าหมายของหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ และกรอบระยะเวลาที่คาดว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวสู่ราคาเป้าหมายดังกล่าว
  • เลือก “อัตราทด” ที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ของคุณ

5. Effective Gearing (อัตราทด) คือ ตัวชี้วัดการเคลื่อนไหวราคาของ DW เมื่อราคาของหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 

เช่น อัตราทด 3 เท่า หมายถึง ถ้าราคาหุ้นอ้างอิงขึ้น 1% แต่ DW อาจขึ้นได้ถึง 3% และในขาลงก็เป็นเช่นเดียวกัน

จากตารางข้างต้น ถ้านักลงทุนซื้อหุ้นอ้างอิงมูลค่า 1,000,000 บาท แล้วราคาหุ้นอ้างอิงขยับขึ้น นักลงทุนจะได้ผลตอบแทน 10,000 บาท แต้ถ้านักลงทุนซื้อ DW มูลค่า 1,000,000 บาท แล้วราคาหุ้นอ้างอิงขยับขึ้น นักลงทุนจะได้ผลตอบแทน 30,000 บาท เพราะเมื่อราคาหุ้นอ้างอิงขยับขึ้น 1% ราคาของ DW จะปรับตัว 3% ซึ่งคิดเป็นอัตราทด 3 เท่า

ดังนั้นแล้ว DW ที่มีอัตราทดสูงๆ จึงเหมาะสมกับนักลงทุนระยะสั้นถึงปานกลาง ที่ต้องการผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น

อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรระมัดระวังความเสี่ยงในการลงทุนใน DW ที่มีอัตราทดสูงๆ เช่นกันน่ะครับ เพราะยิ่งมีอัตราทดสูงเมื่อราคาของหุ้นอ้างอิงปรับตัวสวนทางก็มีโอกาสขาดทุนสูงได้เช่นกัน นักลงทุนจึงควรเลือก DW ที่มีอัตราทดที่เหมาะสมกับผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงที่ตนสามารถยอมรับได้ (การลงทุนมีความเสี่ยงน่ะครับ)

6. DW ในตัวของ SET50 นั้นจะอ้างอิงกับทั้ง SET50 Index และ SET50 Index Futures (TFEX)

แนะนำให้เลือก DW ที่อ้างอิงกับ TFEX จะดีกว่าครับ

ตัวอย่างการดู Bid-Offer ของ TFEX เมื่อเทียบกับราคา DW น่ะครับ

(ตารางจะมีการเปลี่ยนแปลงไปราคาอ้างอิงตัวแม่รวมถึง time decay ของ dw ครับ)

7. ความเสี่ยงของ DW

นักลงทุนเลือก DW ที่ใกล้หมดอายุ , ราคาอ้างอิงไม่ตรงกับตาราง DW ที่ผู้ออก DW จัดทำขึ้น , DW ไร้สภาพคล่อง รวมไปถึง DW ที่โดนขายไปหมดแล้ว นี่คือสิ่งที่นักลงทุนควรพิจารณาก่อนเลือกลงทุนครับ

8. ปริมาณซื้อขาย สำคัญสำหรับ DW

อีกหนึ่งในเทคนิคในการเลือก DW ให้ดู DW ที่ติดอันดับ Top Volume ของผู้ออก DW รวมถึงสินค้าอ้างอิงที่นักลงทุนสนใจ

9. ควรเข้าใจพฤติกรรมของหุ้นให้ดีถ่องแท้ก่อนที่จะลงสนาม DW

อ่านเทรนด์ตลาดและหุ้นให้ขาดเสียก่อน แล้วค่อยมาลงทุนใน DW เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะขาดทุนหนักๆได้

10. สุดท้ายการลงทุนใน DW  ให้กำไรที่มากกว่าลงทุนในหุ้น แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่มากเช่นกัน 

คือ ถ้าหุ้นลง หรือ DW ใกล้วันครบกำหนด การเลือกลงทุนใน DW ก็อาจจะขาดทุนมากกว่าการลงทุนในหุ้นได้เช่นกัน

โดย Wizard Kid

SaveSave

SaveSave

SaveSave

SaveSave

SaveSave

SaveSave