Big-Correction-or-Bear-Market-1

คำถามที่ฮิตมาก คือ ตลาดหุ้นโลกปั่นป่วนรอบนี้ เป็นแค่การปรับตัวลงระยะสั้น หรือ เข้าสู่ตลาดหมีแล้ว

ย้อนกลับไปในอดีต ตลาดหุ้นโลกมีช่วงหมี หรือ Bear Market หนักๆ อยู่ 3 รอบ คือ
– วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1997-1998
– Dot Com Bubble ปี 2000 – 2001
– Subprime & Hamburger Crisis ปี 2008

จะสังเกตว่า ทั้ง 3 รอบ ล้วนผูกกับปัจจัยเศรษฐกิจทั้งสิ้น และหากย้อนไปไกลกว่านั้น ในช่วงปี 1970s โลกเรามีวิกฤตที่เกิดจาก “ราคาน้ำมันแพง” จึงเป็นเรื่องแปลกมาก ที่ความปั่นป่วนของตลาดหุ้นในช่วงต้นปี 2016 นี้ เกิดจากความกังวลปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก “ราคาน้ำมันถูก” !!

ในภาวะที่น้ำมันถูก ประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอยู่ในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งรายได้จะหดหายทำให้ขาดดุลงบประมาณ แต่หลายประเทศในแถบนั้น ได้เก็บเงินสำรองไว้ในช่วงน้ำมันแพง จึงน่าจะประคับประคองสถานการณ์ไปได้ เพียงแต่มีปัจจัยลบที่ยังกดดันตลาด คือ บรรดากองทุนเพื่อความมั่งคั่ง (Sovereign Wealth Fund) อาจจะต้องขายหุ้นที่ถืออยู่เพื่อเอาเงินมาอุดหนุนงบประมาณของรัฐ

อีกกลุ่มประเทศที่กำลังเจ็บตัวคือกลุ่มผู้ส่งออก Commodities ในแถบลาตินอเมริกา รัสเซีย ออสเตรเลีย และบางประเทศในเอเชีย ที่รายได้หดหายทำให้ขาดดุลงบประมาณเช่นกัน บางประเทศ เช่น เวเนซุเอลา ถึงกับทรุดจริง แต่เชื่อว่าจะไม่ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก visit

DownTrend

แต่อย่าลืมว่า ในภาวะที่ “ราคาน้ำมันถูก” มีคนที่ได้ประโยชน์เยอะมาก ในภาพใหญ่ ประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมัน ได้ดุลการค้ามากขึ้น ในระดับธุรกิจ กิจการที่ใช้น้ำมันเยอะ เช่น สายการบิน หรือ ขนส่ง ได้ประหยัดต้นทุน ในระดับครัวเรือน คนอเมริกันและในอีกหลายประเทศที่ชอบขับรถ ย่อมมีเงินเหลือในกระเป๋าไปจับจ่ายให้สอยมากขึ้น ในประเทศไทยเอง ปริมาณการใช้น้ำมันขายปลีกในปี 2015 เพิ่มขึ้นถึง 40%!!!

ส่วนจีนที่เป็น “ต้นเหตุ” ของความปั่นป่วนทั้งปวง เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า เศรษฐกิจ “ชะลอ” ตัวชัดเจน จากที่เคยโตเกิน 7% เหลือแค่ 6 ปลายๆ ซึ่งถ้ามองแบบเป็นกลาง เศรษฐกิจทุกประเทศมี “รอบ” ของมัน จีนโตเร็วจากการลงทุน หรือ Investments มาหลายปีแล้ว เหมือนคนวิ่งมาราธอน ควรต้องมีพักบ้าง ช่วงนี้จีนจึงกำลังพักด้วยการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ จากที่เคยพึ่งพา Investments หันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ หรือ Domestic Consumption ซึ่งการปรับตัวแบบนี้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่หากทำได้สำเร็จ จีนจะเป็นตลาดแห่งการบริโภคขนาดยักษ์ คล้ายกับสหรัฐฯ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่เชื่อว่าเจ๋งกว่า เพราะผู้บริโภคของจีนคือชนชั้นกลางที่มีเพิ่มขึ้นทั้ง “รายได้” และ “จำนวนคน” จะกลายเป็น The Next Growth Driver ของเศรษฐกิจโลกในอนาคต

เศรษฐกิจสหรัฐฯ โตดีมากอย่างต่อเนื่อง อัตราการว่างงานเหลือแค่ 5% ถือว่าต่ำมาก คนอเมริกันมีงานทำก็มีรายได้ไปใช้จ่ายมากขึ้น แถมราคาน้ำมันถูก ยิ่งมีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น ดังนั้น ภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังดีอยู่ ส่วนยุโรปก็กำลังฟื้นชัดเจน อัตราการว่างงานลดลง ธนาคารพาณิชย์เริ่มปล่อยกู้มากขึ้น แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นมีมากขึ้น ธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ได้แก่ ยานยนต์ และ เครื่องจักรอุตสาหกรรม แต่การฟื้นตัวภายในยุโรปเองก็ช่วยบรรเทาไปได้บ้าง สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็กำลังฟื้นตัวเช่นกัน แต่อาจจะช้ากว่าเพื่อนสักหน่อย อัตราเงินเฟ้อยังไม่ถึงเป้า 2% แต่ก็นับว่าดูดีกว่าช่วงก่อนเยอะ

จะเห็นได้ว่า ภาพรวมในด้าน “ปัจจัยเศรษฐกิจโลก” ในขณะนี้ไม่ได้แย่ นับว่าค่อนข้างดีด้วยซ้ำ จึงคิดว่า โอกาสที่ตลาดหุ้นโลกจะเข้าสู่ “Bear Market” ด้วยเหตุปัจจัยทางเศรษฐกิจ น่าจะมีน้อย ความปั่นป่วนของตลาดหุ้นโลกในช่วงนี้ ที่มีจุดเริ่มต้นจากตลาดหุ้นจีน จึงน่าจะเกิดจากอารมณ์หวาดกลัว (Fear) ของผู้ลงทุน มากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ

สิ่งที่ไม่มีใครบอกได้ คือ “จะลงไปต่ำสุดที่ไหน” เพราะ Fear เป็นอารมณ์ของคน โดยธรรมชาติของอารมณ์ก็แปรปรวนง่าย วันดีคืนดีอาจจะมองโลกแง่ดี เปลี่ยนจาก Fear เป็น Greed ได้แบบข้ามคืน

ในชีวิตการบริหารกองทุนของผม ผ่านวิกฤตมา 2.5 รอบ (คือ เริ่มทำงานตอนเกิดต้มยำกุ้งพอดี จึงได้สัมผัสแค่ครึ่งหนึ่ง) แต่ได้เห็นช่วงตลาดลงแรงๆ แบบ Big Correction หลายรอบ จึงเริ่ม “ชิน” กับบรรยากาศที่ผู้คนรอบข้างจะรู้สึกหวาดกลัวและพร้อมจะเทขายหุ้นเพราะกลัวจะลงต่อ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา บรรยากาศขมุกขมัวแบบนี้แหละ คือ “โอกาส” ของนักลงทุนระยะยาวที่จะได้เก็บของดีราคาถูก

สำหรับคนที่ติดดอยอยู่ ผมไม่แนะนำให้ขายล้างพอร์ตเพื่อถือเงินสด เพราะจะพลาดโอกาสหากตลาดกลับมาเป็นขาขึ้น แต่หากพอมีเวลาและข้อมูล แนะนำให้ทำการบ้านเพื่อพิจารณาโยกเงินลงทุนไปยังตลาดที่น่าจะฟื้นได้ดี ซึ่งในความเห็นของผม มี 2-3 กลุ่มย่อย
1. ตลาดที่น่าจะฟื้นด้วยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ยุโรป และ ญี่ปุ่น
2. ตลาดที่น่าจะฟื้นด้วยระดับราคาหุ้นที่ลงมาถูกมากเกินไป ได้แก่ H-Shares ของจีน และประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย
3. ตลาดที่น่าจะฟื้นได้ในระยะสั้นด้วยปัจจัยทางเทคนิค แต่ระยะยาวอาจจะไม่ได้ไปไกลนัก ได้แก่ หุ้นสหรัฐฯ

ย้ำอีกครั้งว่า ไม่มีใครรู้ว่าจุดต่ำสุดอยู่ที่ไหน และ ไม่มีใครรู้ว่าตลาดหุ้นจะฟื้นตัวเมื่อไหร่ เพราะตลาดหุ้นปั่นป่วนด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” ดังนั้น หากซื้อลงทุนแล้วราคาลงต่อก็เป็นเรื่องปกติ หน้าที่ของนักลงทุน คือ ค้นหา “ของดีราคาถูก” ซึ่งผมเชื่อว่ามีอยู่ เพียงแต่ต้องทำการบ้านมากหน่อยเท่านั้นเอง

*** คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ***

Win Phromphaet’s comments, opinions and analyses are his personal views and are intended to be for informational purposes and general interest only and should not be construed as individual investment advice or a recommendation or solicitation to buy, sell or hold any security or to adopt any investment strategy. It does not constitute legal or tax advice. The information provided in this material is rendered as at publication date and may change without notice and it is not intended as a complete analysis of every material fact regarding any country, region, market or investment. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the viewer. Please consult your own professional adviser before investing at www.satumareonline.ro.

TSF2024