ทำประกันคุ้ม ไม่คุ้ม? รีวิวจากประสบการณ์จริง!

สวัสดีครับ กลับมาเขียนแล้วนะครับ 555

วันนี้ขอมาพูดเรื่องเกี่ยวกับการปกป้องความมั่งคั่ง หรือ Wealth Protection

“ทำประกันคุ้ม ไม่คุ้ม ?”

ไม่ได้ค่าสปอนเซอร์นะครับ 5555555

ที่มาเขียนเรื่องนี้ เนื่องด้วยตัวเองประสบอุบัติเหตุทางรถมอเตอร์ไซค์ แล้วโรงพยาบาลตรงนั้นใกล้สุดเป็นโรงพยาบาลเอกชน ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำแผล ค่าห้อง มหาโหดแน่นอนครับ

ผมจะมารีวิว การใช้สิทธิประโยชน์ของการที่เราทำประกันต่าง ๆ นะครับ

อีก 3 วันไปญี่ปุ่น… อะไรจะเหมาะเจาะอย่างนี้!

ระยะเวลาในการรักษาตัวของผม 3 วันครับ (ที่นอนโรงพยาบาล) ทั้งทำแผล ค่ายา ค่ารักษา ค่า x-ray รวม ๆ แล้ว ก็หลายหมื่นบาทครับ จริง ๆ หมอให้นอนนานกว่านั้น แต่ผมต้องบินไปญี่ปุ่นแล้วเลยขอออกจากโรงพยาบาล

ความในใจ > แผลถลอกนิดหน่อยจ่ายเป็นหมื่น บ้าไปแล้ววว!

แต่ดีที่ผมทำประกันไว้ครับ เลยไม่เดือดร้อนเรื่องเงินเท่าไร คิดเล่น ๆ นะครับ ถ้าผมไม่ทำประกันที่ตกเดือนละ 500 บาท เดือนนี้ผมคงต้องจ่ายทีเดียว 2-3 หมื่นเลยทีเดียว (เหมือนกับเราออมเงินเพื่อมาจ่าย) เงินขาดสภาพคล่องแน่นอนครับจ่ายทีเดียว 3 หมื่น กินข้าวได้ทั้งเดือน ซื้อไอโฟนได้เครื่อง 1 เลยนะครับ และผมคงไปญี่ปุ่นอย่างขัดสน เพราะต้องเอาเงินเที่ยวญี่ปุ่นมาจ่ายก่อน

ประกันที่ผมใช้ มี 3 ตัวครับ

1. พ.ร.บ. ที่รัฐบังคับทำนั่นแหละครับ

2. ประกันอุบัติเหตุ (ส่วนตัว)

3. ประกันของบริษัท

แต่ใช้จริง ๆ แค่ประกันส่วนตัวครับ เพราะคุ้มครองได้หมด ถ้าเกิน ทางโรงพยาบาลก็จะมาใช้ พ.ร.บ. วงเงินอีก 30,000 ครับ

ประกันส่วนตัวของผม มีคุ้มครองเรื่องอุบัติเหตุ และ ผู้ป่วยใน

กรมธรรม์ผู้ป่วยในของผมจะให้ค่าห้อง คืนละ 2,200 แต่ห้องที่ผมอยู่คืนละ 4,000 นี่ขนาดโรงพยาบาลแถวเมกาบางนา ฮืออออออ

กรมธรรม์อุบัติเหตุให้ครั้งละ 30,000 บาท รวมการทำแผลล้างแผลต่อเนื่อง ส่วนค่าห้องที่เกินก็จะใช้วงเงินนี้ ซึ่งถือว่าครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดครับ แถมให้ค่านอน (ค่าเสียเวลา) ค่าปลอบขวัญ รวม ๆ แล้ว 7,000 บาทครับ

ขอขยายความเรื่อง พ.ร.บ. ของมอเตอร์ไซค์ สักนิดละกันนะครับ

พ.ร.บ.คืออะไร?

พ.ร.บ. รถยนต์ คือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามกฎหมายนั่นเองครับ คือใน พ.ร.บ. ปี 2535 ได้ระบุไว้เลยว่า รถทุกชนิดต้องทำพ.ร.บ.ก่อนจึงจะต่อทะเบียนรถได้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำประกันเพื่อดูแลความปลอดภัยในชีวิตของเรากันมากขึ้น ที่จริงแล้วถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่เราควรจะได้รับการดูแลการรักษาพยาบาลในทุกกรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพราะทุกเสี้ยววินาทีมีความสำคัญต่อทุกชีวิตมากครับ

ข้อดีของพ.ร.บ.นั้น ไว้เพื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลของทั้งคนที่อยู่ในรถคันที่เกิดอุบัติเหตุทั้งฝ่ายผิดและฝ่ายถูกหรือเราเป็นบุคคลที่ 3 ก็ตาม สิทธิ์ที่เราควรต้องรู้ไว้คือ

ค่าเสียหายเบื้องต้น

ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก เราจะได้รับเงินภายใน 7 วัน คนละ 30,000 บาทในกรณีบาดเจ็บ และคนละ 35,000 บาทในกรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์

1. ถ้าในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บแล้วสูญเสียอวัยวะตามมา จะได้รับคนละไม่เกิน 65,000 บาท

2. ในกรณีที่เสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพคนละ 35,000 บาท

3. แต่ถ้ารักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิตก็จะได้รับค่าชดเชยคนละไม่เกิน 65,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทน

คือ เงินชดเชยที่จะได้รับหลังการพิสูจน์ผิดถูกแล้ว และเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นที่จะได้รับ

1. ค่ารักษาพยาบาลเบิกตามจริง หรือไม่เกิน 80,000 บาท

2. เงินชดเชยในกรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ 200,000-300,000 บาท

3. เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท

4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วันรวม 4,000 บาท

รวมค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดคนละไม่เกิน 304,000 บาท

หลักการของ พ.ร.บ. กรณีที่เกิดเหตุกับรถยนต์ 2 คันขึ้นไป

ผู้ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลตามประกันของรถแต่ละคันอยู่แล้ว แต่ถ้ามีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ละบริษัทต้องร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บครับ

ซึ่งกรณีของผมไม่มีฝ่ายถูกฝ่ายผิด เพราะล้มเอง 5555555 จึงเข้าเกณฑ์ 30,000 บาทในกรณีบาดเจ็บ

ทำเถอะครับ พ.ร.บ. 300 บาทต่อปีสำหรับ มอเตอร์ไซค์ 110 cc โคตรถูกกกกกกกกกกกก

ผมเชื่อว่าเรามีสุขภาพการเงินที่ดีควบคู่ไปกับสุขภาพกายที่ดีได้ครับ

#HealthisWealth

ขอบคุณข้อมูล
http://www.oic.or.th/th/consumer/สาระสำคัญการประกันภัยรถภาคบังคับ

TSF2024