Thematic ETF นั้น Hot สุด ๆ ในปี 2020 ที่ผ่านมา แต่คุณจะลงทุนอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว
Thematic ETF แบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มเป็น Mega trend อะไรบ้าง
Thematic ETF มีความเสี่ยงอะไรบ้างที่ควรจะระวังในการลงทุน
Thematic ETF เหมาะกับกลยุทธ์การลงทุนแบบใด
บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
Thematic คืออะไร
ถ้าดูจากคำจำกัดความของ Thematic แล้ว เราอาจพูดง่าย ๆ ว่า เป็นการลงทุนที่ เน้นไปที่การเติบโตที่ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ใช่เป็นการลงทุนแบบเก่าที่เน้นไปที่ valued-based หรือ EPG และไม่ใช้ Cyclical trend ตามปกติ และไม่ใช้สินทรัพย์ทางเลือก
Thematic แบ่งอย่างไร
ทาง Global X ซึ่งเป็นผู้จัดการ ETF รายใหญ่ ได้ทำการ แบ่งแยกประเภทตาม รูปที่ 2 จะเห็นได้ว่า thematic นั้นแบ่งแยกได้หลากหลายประเภทมาก แต่อย่างไรก็ตามผมให้ดูที่ Mega Theme เป็นหลักว่า thematic ETF ที่เรากำลังจะไปลงทุนนั้น
ขอยกตัวอย่าง Thematic ETF ตามการจัดประเภทของ Global X
การเติบโตของ Thematic ETF
จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ COVID-19 ทำให้ thematic ETF ได้รับสนใจสูงมาก โดยเฉพาะ Disruptive Technology เพราะ คนคิดว่า หลายอย่างจะหายไป หลายอย่างจะเปลี่ยนไปหลังยุค COVID-19 โดยสิ้นปี 2021 มูลค่าของ thematic ETF สูงกว่า ปี 2020 ถึง 28%
ประเภทของ Thematic ที่มี AUM สูงสุด 3 ลำดับแรกคือ Disruptive Technology , People & Demographics และ Physical Environment โดยที่ Mega-Themes ภายใต้ Disruptive Technology ที่คนสนใจลงทุนมากที่สุดคือ BIG Data
ความเสี่ยงของ Thematic ETF
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานั้นมีจำนวนกว่า 30% ของจำนวน Thematic Fund ในสหรัฐถูกปิดหรือเลิกกองทุนไป และมีเพียง 36% เท่านั้นของ Thematic Fund ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าเกณฑ์ Morningstar Global Markets Index ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่นักลงทุนจะเลือกกองลงทุนได้ถูกต้องนั้นอาจมีไม่มากแต่หากเลือกกองลงทุนได้ถูกต้อง ผลตอบแทนที่ได้รับก็สูงมากเช่นกัน เพื่อให้การลงทุนในหุ้นมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต Thematic Fund จึงมักลงทุนในหุ้นที่มีขนาดเล็กซึ่งมักจะมีส่วนต่างกำไรที่มากเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ควรจะเป็นและราคาในตลาด
อย่างไรก็ตามหุ้นเหล่านี้มักมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่ต่ำไปด้วย การซื้อขายในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็อาจทำให้ต้นทุนในการลงทุนสูงขึ้นได้ หรือกรณีที่กองทุนถูกไถ่ถอนเงินออกเป็นจำนวนมากทำให้ต้องรีบขายสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่เพื่อคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วย แต่ด้วยสภาพคล่องที่ต่ำจึงอาจต้องใช้เวลาในการขายสินทรัพย์หรือขายได้ในราคาที่ไม่ดีนัก
กลยุทธ์การลงทุนใน Thematic ETF
เนื่องจาก thematic ETF มีความเสี่ยงในการลงทุนสูง นักลงทุนส่วนมากจะลงทุนเป็นกองเดียวๆ เช่น นักลงทุนชอบ theme EV car และ ชอบ theme Cloud computing ก็ซื้อเฉพาะ ETF theme ที่สนใจ นักลงทุนควรจะจัดเป็นพอร์ตลงทุนแทนที่จะซื้อเป็นกองเดียวๆ กลยุทธ์ที่แนะนำคือ กลยุทธ์การลงทุนด้วย ETF ตอนที่ 3: “ชนะตลาดด้วย Hybrid”
กลยุทธ์ “Hybrid แบบ Core-Satellite” มีขั้นตอนอย่างไร
1. กำหนดสัดส่วนของการลงทุน
จากการกำหนดสัดส่วนข้างบนสัดส่วนของ Core จะมีอยู่ที่ 60% และ Satellite อยู่ 40% โดยส่วนของ Core จะใช้ SPY ETF , QQQ ETF และ QQQJ ETF มาผสมโดยจะลงทุนแบบ Buy-and Hold ระยะยาว ซึ่งสัดส่วนอีก 40% สามารถจัดส่วน Thematic ETF ได้อย่างน้อยตัวละ 10% -15% โดยจะใช้การลงทุนแบบ Trading
2. รวบรวม Thematic ETF
3. เปรียบเทียบ Thematic ETF ที่สนใจด้วย Quantitative และ Momentum
ยกตัวอย่าง ต้องการเปรียบเทียบ WCLD ETF และ CLOU ETF ทั้งคู่อยู่ใน Mega-Theme ที่เป็น BIG DATA และ Theme Cloud Computing เหมือนกัน สามารถใช้ www.etfdb.com เป็นตัวเปรียบเทียบได้ ดังนี้
จะเห็นได้ว่า WCLD มีผลตอบแทนมากกว่าแต่ความผันผวนมากกว่าเกือบ 2 เท่า โดยมี Beta อย่ 1.1 แต่ WCLD กลับมี Expense Ratio ต่ำกว่าคืออยู่ที่ 0.45% ขณะที่ CLOU อยู่ที่ 0.68% เราลองมาดู RS Rating (Relative Strength) ความแข็งแกร่งเทียบกับ S&P500 จากรูปจะเห็นว่า WCLD มี RS Rating อยู่ที่ 85 สูงกว่า WCLD
ดังนั้นจึงขอเลือก WCLD เราก็ได้ ETF เข้าไปในตารางการลงทุนดังรูป แล้วหา Thematic ETF มาเติมให้ครบ 30% ที่เหลือ
4.จะซื้อขาย Thematic ETF ตอนไหน
ไม่มีสูตรตายตัวสำหรับการซื้อขาย Thematic ETF แต่อย่างไรก็ตามผมให้ Thematic ETF ในพอร์ตเป็น Tactical ดังนั้น Investment style จึงเป็นการ Trading มากกว่าการซื้อแล้วถือยาว ข้างล่างคือ กฏการ Trading สำหรับ ETF ที่ผมใช้
ตัวอย่าง IBUY ETF เป็น Mega-Theme New Consumer และ Theme E-commerce
ขอให้นักลงทุนระลึกไว้ว่า Thematic ETF นั้นมีความเสี่ยงกว่า Sector ETF ดังนั้นนักลงทุนควรจะจัดเป็นพอร์ตและ Thematic ETF จะเป็นส่วน Satellite เท่านั้น ไม่สามารถนำมาเป็น Core ได้
WealthGuru
**สนใจลงทุนในพอร์ต Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ สามารถดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/port/wealthguru/