อุปนิสัย 7 ประการ เพื่อประสิทธิผลสูงของการวางแผนลงทุน

คุณเป็นอีกคนใช่ไหม ที่ลงทุนก็เจ๊งไปตลอด
คุณเป็นอีกคนใช่ไหม ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มวางแผนลงทุนอย่างไร
คุณเป็นอีกคนใช่ไหม ที่ลงทุนไปแต่ไม่เคยถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

หลายคนคงเคยได้ยิน “อุปนิสัย 7 ประการ ของผู้มีประสิทธิผลสูง”
“อุปนิสัย” เป็นผลรวมขององค์ประกอบส่วนบุคคลในด้านความรู้
ทักษะและทัศนคติ

วิธีคิดและนิสัยที่ถูกต้องจะช่วยให้ทุกท่านบรรลุเป้าหมายในการลงทุนเสมอ
หลักการ Logic ต่างๆ ในการวิเคราะห์การลงทุน เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
ถ้าปราศจากวิธีคิดและนิสัยที่ถูกต้อง ต่อให้จบ ดร ด้านการเงิน ก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

แต่วันนี้ ผมจะบอกถึง

“อุปนิสัย 7 ประการ เพื่อประสิทธิผลสูงของการวางแผนลงทุน”
“อุปนิสัย” ที่จะทำให้การลงทุนของท่านบรรลุเป้าหมายของคุณ

อุปนิสัยที่ 1 : เริ่มที่เป้าหมายการในใจ

หลายคนลงทุนแทบจะไม่รู้เลยว่า ลงทุนทำไมลงทุนไปแล้ว ปลายทางสุดท้ายอยากได้เงินเท่าไร
เป้าหมายทางของการลงทุนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น เป้าหมายเพื่อการเกษียณ เป็นเป้าหมายระยะยาว,  เป้าหมายเพื่อเก็บเงินระยะสั้นภายในเวลา 2-3 ปี,  เป้าหมายจะต้องชัดเจน จำนวนเท่าไรที่ต้องการ จำนวนปีที่ต้องได้เงิน

แต่หลายๆ คน แค่เริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว!!!!!!!!!!!

อุปนิสัยที่ 2 : เริ่มต้นตอนนี้!!!! ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง

เริ่มต้นก่อนตอนนี้ อย่ารอ จงใช้พลังของดอกเบี้ยทบต้น
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สุดยอดนักวิทยาศาสตร์อัฉริยะของโลก ได้กล่าวไว้ว่า

“The most powerful force in the universe
is compound interest”

หรือ “พลังที่ทรงอำนาจมากที่สุดในจักรวาล
ก็คือดอกเบี้ยทบต้น”

ผมขอยกตัวอย่าง
ลงทุนทุกปี ปีละ 14,000 บาท

ถ้าได้ผลตอบแทนปีละ 20% ทุก 10 ปีจะมียอดเงินสะสมดังนี้
– ปีที่ 10 ยอดเงินสะสม = 360,000 บาท
– ปีที่ 20 ยอดเงินสะสม = 2,610,000 บาท
– ปีที่ 30 ยอดเงินสะสม = 16,550,000 บาท

จะเห็นได้ว่า ยิ่งออมนาน ลงทุนก่อน ผลตอบแทนยิ่งมากกว่า เพราะผลของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) นั่นเอง จำไว้ว่า
ผลตอบแทนสูงที่คาดหวังอาจจะไม่เกิดขึ้น แต่ระยะเวลา คุณกำหนดเองได้

อุปนิสัยที่ 3 : จงเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่จะลงทุน

ในการเรียนรู้ให้ท่อแท้ในสิ่งที่จะลงทุน ควรศึกษาหาข้อมูลในสิ่งที่จะต้องลงทุน จะทำอะไรศึกษาหาข้อมูลในสิ่งที่จะต้องลงทุนให้ดีและละเอียด คนเราผิดพลาดในการลงทุนได้ แต่จะต้องหาข้อผิดพลาด และกลับมาแก้ไขในการลงทุน

อุปนิสัยที่ 4 : เข้าใจความเสี่ยงก่อนเสมอ

ในการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ จงถามเรื่องความเสี่ยงในการลงทุนก่อนเสมอ อย่าพึ่งติดกับดัก เรื่องผลตอบแทน เพราะผลตอบแทนเห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลตอบแทนในอดีตที่ผ่านมาแล้ว ผลตอบแทนที่เราคำนวณได้ เป็นผลตอบแทนในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

ต้องรู้จักลดความเสี่ยงในการลงทุนโดยการกระจายการลงทุน หรือเราเรียกว่าการทำ Asset Allocation จำไว้ว่าการกระจายสินทรัพย์ในการลงทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างผลตอบแทนที่มีเสถียรภาพ

ก่อนที่คุณจะทำ Asset Allocation จะต้องเข้าใจในผลตอบแทน vs ความเสี่ยงแต่ละสินทรัพย์ ต้องตั้งคำถามถึง ความเสี่ยงเสมอในการลงทุนสินทรัพย์แต่ละตัวจะต้องทำ Asset Allocation ตามเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ

อุปนิสัยที่ 5 : มองและค้นหาสินทรัพย์ที่ดี!!!!

เลือกหลักทรัพย์ในการลงทุนอย่างละเอียด โดยลำดับต่อไปการเลือก หลักทรัพย์รายตัวที่จะลงทุน ยกตัวอย่าง จะลงทุนใน หุ้นที่ทรงคุณค่า เช่น KBank AOT หรือ AIS ก็จะเลือกว่า จะลงทุนในหุ้นตัวไหน อาจจะใช้การวิเคราะห์แบบ Top down approach คือ เริ่มจากวิเคราะห์เศรษฐกิจ ต่อไปก็วิเคราะห์อุตสาหกรรม แล้วค่อยวิเคราะห์หุ้นรายตัว หรือ buttom up approach คือ หาบริษัท์ที่น่าสนใจ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น มีสินค้าใหม่ Processใหม่ที่ทำให้ต้นทุนลดลง ขยายตลาดใหม่ไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ หรือ พื้นที่ใหม่

อุปนิสัยที่ 6 : รู้จักรอคอย

เมื่อคุณคัดเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุนแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเข้าไปซื้อซื้อสินทรัพย์นั้นเลย คุณจะต้องรู้ว่า ราคาที่เหมาะสมที่จะต้องเข้าทำการซื้ออยู่ที่เท่าไร ต้องรู้จักการรอคอย รอคอยจนราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการลงทุน ตามหลักการ “ ซื้อถูก ขายแพง” อย่าซื้อตรงยอดราคาสูงสุด อย่าเข้าไปอยู่ในวังวนของการปั่นราคาสินทรัพย์

อุปนิสัยที่ 7 : ลด Overconfident Bias

จงลดอคติเรื่อง “ความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป” ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การลงทุนเปลี่ยนแปลงก็เช่นกัน ที่เราคิดคำนวณไว้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ความเสี่ยงอาจจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นจะต้องลด ความมั่นใจในตัวเองที่มากเกินไป จะต้องตรวจสอบสิ่งที่ลงทุนตลอด อย่าวิเคราะห์เข้าข้างตัวเองเยอะเกินไป

จะต้องมีการวัด performance ของการลงทุนสม่ำเสมอ จะต้องเทียบผลกับ benchmark เช่น การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็เปรียบเทียบกับ SET Index เป็นต้น

sompoj patsuwan
สมพจน์ พัดสุวรรณ
#wealthguru