SME ระวังล้มละลาย…ยามที่ลูกจ้างเกษียณ

ข่าวล่าสุด CPF กำไรทรุด 30% หลังต้องตั้งสำรองเลิกจ้างกว่า 1.8 พันล้าน!!

ลองนึกภาพ อีก 10-15 ปี จะมีจำนวนคนที่เกษียณจากระบบการทำงานเยอะขึ้น

ยิ่งจำนวนคนที่เกษียณมากเท่าไร   ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมเงินเกษียณมากขึ้น

ถ้าไม่ได้เตรียมให้ดี ก็จะโดนฟ้องร้องได้ถึงขั้นล้มละลายได้ !!!

ทำไมผู้ประกอบการจะต้องเตรียมเงินก้อนหลังเกษียณให้พนักงานล่ะ ?

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เป็นการยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่นายจ้างจะต้องควักเงินในกระเป๋าออกมาจ่ายให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้นกว่าที่ผ่านมา

พ.ร.บ ได้มีการเพิ่มเพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างให้กับลูกจ้างเป็น 6 อัตราจาก 5 อัตรา ดังนี้

1. ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
2. ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
3. ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
5. ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปีได้เงินชดเชย 300 วัน
6. ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 400 วัน

ดูแล้วก็ไม่เห็นน่าจะมีปัญหาอะไร จะทำให้ล้มละลายได้อย่างไร ?

ปัญหาคือ ถ้าลูกจ้างเกษียณอายุ 60 ปี หรือ ขึ้นอยู่กับนายจ้างกำหนด นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยด้วย เพราะ การเกษียณของลูกจ้าง เป็นการเลิกจ้าง!!

เช่น นาย ก. มีรายได้ 20,000 บาทต่อเดือน ทำงานกับนายจ้าง ตั้งแต่อายุ 30 ปี  และเกษียณ 55 ปี

แสดงว่า ทำงานไป 25 ปี ดังนั้นจะต้องได้รับค่าชดเชย  400 วัน หรือ ประมาณ 13 เดือน

เงินชดเชยจะต้องเป็นเท่าไร  ?

เงินเดือน 20,000 x 13 เดือน = 260,000 บาท?

คำตอบคือ ไม่ใช่!!

เนื่องจากเงินเดือนจะเป็นเงินเดือนในอนาคต

ถ้าอัตราขึ้นเงินเดือน 2%  เงินเดือนตอนอายุ 55 จะเป็น 32,812 บาท

ดังนั้น เงินชดเชยจะเป็น 32,812 x 13 = 426,556

ลองคิดดูว่า ถ้ามีคนเกษียณ 10 คน   ธุรกิจจะต้องจ่ายเงิน 4.2 ล้าน

ลองคิดดูว่า ถ้ามีคนเกษียณ 20 คน   ธุรกิจจะต้องจ่ายเงิน 8.4 ล้าน

ลองคิดดูว่า ถ้ามีคนเกษียณ 50 คน   ธุรกิจจะต้องจ่ายเงิน 20 ล้าน!!!

คำถามคือ “แต่ละบริษัทจะทำอย่างไร  เมื่อในอนาคตจะมีลูกจ้างเกษียณออกมาจำนวนเยอะมาก?”

บริษัทจะทำการตั้งเงินสำรองเป็นเงินกองทุนของบริษัทเพื่อเอาไว้จ่ายลูกจ้างในอนาคต

ในปัจจุบันนี้ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทมหาชน จะใช้มาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 19 (TAS 19) เรื่องผลประโยชน์พนักงาน ที่ใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัยในการคำนวณดังกล่าวเพื่อตั้งสำรองให้เหมาะสม

กลับมามองที่ SME จะต้องทำอย่างไร เจ้าของธุรกิจคงจะต้องเริ่มคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาจุดนี้

ถ้าเจ้าของธุรกิจจะต้องส่งต่อธุรกิจให้ทายาท ก็ควรจะมีแผนจัดการความเสี่ยงก่อนที่จะส่งต่อ

อย่าให้ทายาทมาเจอกับปัญหาที่รุ่นพ่อแม่สร้างไว้

WealthGuru


เริ่มลงทุนเพื่อเกษียณด้วยพอร์ตลงทุนแบบ Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่นี่
https://www.finnomena.com/port/wealthguru/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างเลย

พอร์ตเก็บเงินก้อนเพื่อลูก และเพื่อเกษียณโดย WealthGuru

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

TSF2024