ท่านเคยคิดแบบนี้ไหม
ข้อมูลการลงทุนท่วมหัว Market Outlook มากมายจะย่อยอย่างไร?
กองทุนมีมากมายจะเลือกอย่างไร?
ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่อยากคาดการณ์ตลาดมากเกินไป
จะทำอย่างไรจะปกป้องพอร์ตการลงทุน ถ้าเกิดตลาดหมีอีกครั้ง
จะทำอย่างไร จะหาผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดแต่ Drawdown น้อยกว่าตลาด
ป้ญหาทั้งหมดคือเป้าหมายในการสร้างและบริหารพอร์ต Global Aggressive Hybrid
จะทำอย่างไรจะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้
วันนี้ ผมจะบอกถึงความลับในการสร้างพอร์ต Global Aggressive Hybrid
ความลับที่ 1 ใช้หลักการ Core-Satellite
Figure 1 รูปจาก Vanguard Investment
กลยุทธ์แบบ Core-Satellite ต้นกำเนิดของพอร์ต Global Aggressive Hybrid
Core-Satellite Strategy คืออะไร?
กลยุทธ์แบบ Core-Satellite จะใช้ กองทุนประเภท Index เป็น Core หรือ แกนกลาง และ กองทุนแบบ Active เป็น Satellite
โดยมีข้อดีของกลยุทธ์ดังนี้
- ต้นทุนต่ำ เนื่องจากกองทุนแบบ Index มีต้นทุนต่ำ
- ง่ายต่อการจัดการสำหรับกองทุนแบบ Index ไม่ต้องเลือกผู้จัดการกองทุน ไม่ต้องเลือกหุ้น
- ลงทุนได้ระยะยาวกับ กองทุน Index จากผลสำรวจในระยะยาว กองทุนแบบ Active ผลงานไม่ต่อเนื่อง
- กระจายการลงทุน กองทุน Index จะกระจายการลงทุนกว้าง ในขณะที่กองทุน Active อาจจะเจาะจงเลือก
- บางกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ เลือกหุ้นเติบโตเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีความเสี่ยงมากกว่า
- สร้างผลตอบแทนเหนือตลาด ด้วยกองทุนแบบ Active ซึ่งเป็นแสวงหากำไรในระยะสั้น-ปานกลาง
พอร์ต Global Aggressive Hybrid ได้นำกลยุทธ์แบบ Core-Satellite มาเป็นต้นแบบในการสร้างพอร์ต
Hybrid = Active Fund + Passive Fund
ทำไมจะถึงเลือก Passive Fund เป็น Core?
จากผลงานวิจัยจาก Morningstar พบว่า ผ่านไป 20 ปีมีแค่ 10% ของกองทุนแบบ Active เท่านั้นที่ชนะตลาด
ความลับที่ 2 ขอบเขตของการเลือกกองทุนหุ้น
จากภาพข้างบน คือการแยกประเภทของกองทุนหุ้น ตามความเสี่ยง และ Factor Investing
โดยขอบเขตในการเลือกหุ้นจะเลือก กองทุนแบบ Global เป็น Core ส่วน Satellite จะเป็นกองทุนแบบ Sector และ Thematic
โดยการเลือกกองทุนจะใช้ Factor Investing มาพิจารณาด้วย
อ่านความรู้เพื่มเติมเกี่ยวกับ Factor Investing ได้ตามนี้
- Factor Investing ตอนที่ 1: เลือก Factor ก่อนเลือก Fund
- Factor Investing ตอนที่ 2: จัดพอร์ต Factor Rotation
ความลับที่ 3 สร้าง Modern Core ใหม่แทน All World Index
โดยทั่วไปแล้ว ส่วน Core จะใช้กองทุนที่ลงทุนใน All World Index แต่พอร์ต Global Aggressive Hybrid
ทำการสร้าง Core ขึ้นมาใหม่ โดยความต้องการคือ
- ตอนตลาดเป็น Bull ขาขึ้น ผลตอบแทนของส่วน Core จะชนะ ผลตอบแทนของดัชนีโลก
- ตอนตลาดเป็น Bear ขา ผลตอบแทนของส่วน Core จะต้องติดลบ น้อยกว่า ผลตอบแทนของดัชนีโลก
ดังนั้น ส่วน Core จะมีส่วนประกอบกองทุนที่เป็น Value และ Growth ผสมกัน โดยถ้าเกิดตลาดหมี สัดส่วนของกองทุน Value ก็จะมากกว่า Growth ในทิศตรงกันข้าม ถ้าเกิดตลาดกระทิง สัดส่วนของกองทุน Growth ก็จะมากกว่า Value
อ่านเพิ่มเติมได้เรื่อง Growth and Value Rotation ได้ที่ กลยุทธ์แบบ Growth and Value Rotation
อีกอย่างที่สำคัญคือ แทนที่จะเลือกกองทุนที่ลงทุนใน All World Index ก็เปลี่ยนมาเป็นเลือก World Index แทน
จากข้อมูล World Index จะทำผลงานดีกว่า All World Index
อ่านเพิ่มเติม เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี
จากหลักการข้างบน ก็จะได้ Modern Core ดังรูปข้างล่าง
** เนื่องจาก กองทุนแบบ Passive ที่มี Style การลงทุนแบบ Global Growth ไม่มีในไทย
ดังนั้นจึงขอเลือก กองทุน Passive ที่ลงทุนตามดัชนี Nasdaq โดยสัดส่วนของการลงทุนเป็นตามรูปล่าง
ด้วยการออกแบบ Core แบบนี้ ทำให้ผลกาดำเนินการของปี 2022 และ 2023 เป็นดังรูป
จะเห็นได้ว่า ผลที่ได้คือ ในปี 2022 ที่ตลาดติดลบ -19.76% แต่ Core ติดลบเพียง -15.75%
แต่ในปี 2023 ตลาดบวก 16.7% แต่ Core บวกถึง 25.15%
ในปีที่ ตลาดติดลบ ส่วน Core จะติดลบน้อยกว่า
แต่ในปีที่ ตลาดบวก ส่วน Core จะต้องบวกมากกว่า
ความลับที่ 4 ค้นหาผู้ชนะระยะยาวด้วย Portfolio Optimization
หลักการสร้างพอร์ตการลงทุนจะต้อง Strategic Assets Allocation ซึ่งสัดส่วนการลงทุนระยะยาว
โดยพอร์ต Global Aggressive Hybrid ค้นหาผู้ชนะระยะด้วยการทำ Portfolio Optimization
ย้อนหลังโดยใช้ US Sector โดยหลักการของ Harry Markowitz คือ ค้นหาสัดส่วนการลงทุนที่ผลตอบแทนที่ต้องการแต่มีความผันผวนน้อยที่สุด โดยการทดสอบตั้งแต่ปี 2007 – 2023 ได้ผลดังนี้
Sector ที่เป็นผู้ชนะระยะยาวคือ
- Technology
- Healthcare
- Consumer Discretionary
- Consumer Staples
- Gold
มาถึงตรงนี้ พอร์ตการจะได้ สัดส่วนที่เป็น Strategic Assets Allocation ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม สร้างพอร์ตลงทุนชนะตลาดด้วยการลงทุนแบบ Passive
ความลับที่ 5 ค้นหาผู้ชนะระยะสั้นด้วย Sector Rotation
ไม่มี Sector ไหนเป็นที่ 1 ได้ตลอดเวลา บ้างปีอาจจะเป็นที่ 1 บ้างปีอาจจะเป็นลำดับสุดท้าย ดังรูปของ S&P500 Sector Performance
จากการทดสอบการทำ Sector Rotation ด้วยวิธีการ Momentum Rank คือ ทุก ๆ 3 เดือนจะเลือก Sector ที่เป็นผู้นำตลาด
ผลที่ได้คือ สามารถทำผลตอบแทนได้มากกว่าตลาดแต่เกิด Trading Cost ถึง 1.16% และอัตราของการชนะอยู่ที่ 50%
วิธีเราเรียกว่า tactical assets allocation หาผู้ชนะระยะสั้น
Figure 2 การทดสอบ US Sector ปี 2008-2023
โดยปัจจุบันทั้ง Strategic และ Tactical Assets Allocation เป็นดังรูป
แล้วจะกำหนด Tactical Assets Allocation อย่างไร จะกำหนดตาม Business Cycle ว่าอยู่ในเหตุการณ์แบบใด
- ในขณะนี้ มองว่าเป็น Recovery จึงทำการผสมระหว่าง Growth และ Value โดยจะเลือกหุ้นที่มีคุณภาพอีกด้วย
- ถ้าลดดอกเบี้ย GDP มีการเติบโตดี Business Cycle ก็จะเป็น Expansion จะต้องเพิ่ม Growth ให้มากกว่า Value เพิ่มน้ำหนักกลุ่มอุตสาหกรรมเช่น Technology และ Consumer discretionary
- ถ้าเกิด Recession จะต้องเพิ่ม Value ให้มากกว่า Growth เพิ่มน้ำหนักกลุ่มอุตสาหกรรมเช่น Consumer Staples และ Healthcare
และตัวอย่างการทำ Tactical Assets Allocation เป็นดังรูป
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อุตสาหกรรมตัวตึง ตัวเต็งผู้ชนะในสภาวะ Recession
กลยุทธ์การลงทุนด้วย ETF ตอนที่ 2: “Sector Rotation รดน้ำให้ดอกไม้แล้วถอนวัชพืช
จากนั้นเลือก Fund Universe จะได้ดังรูป
ก็จะได้พอร์ตในปัจจุบันดังนี้
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
นักลงทุนสายจัดพอร์ต สามารถติดตามรายการใหม่ “Portfolio Mastery – รีวิวทุกข้อมูลพอร์ตการลงทุนที่คุณถือ” ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 1 ทุ่มตรง!
รายการที่จะนำทุกพอร์ตการลงทุนของ FINNOMENA มาทำการ review เชิงลึกให้นักลงทุนได้ติดตามความเคลื่อนไหวและมุมมองการลงทุน พร้อมกลยุทธ์ที่ใช้ในอนาคต รวมถึงแนะนำพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วง
โดยคุณกิ๊ก กสิณ สุธรรมมนัส หรือ Coach Gigs – The Global Allocation และคุณหยง วศิน ปริธัญ – The Long-term Growth
สำหรับ EP เรื่อง Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถรับชมย้อนหลังได้คลิปด้านล่าง
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”