ผมเห็นเรื่องนี้ชัด ๆ ตอนปี 2022 ที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ย ทำไมเป็นแบบนั้น ผมขอเล่าให้ฟังดังนี้
1) RMF ปรับพอร์ตยากมากๆๆ กกก ล้านตัว
ถ้าคุณออกแบบพอร์ตปกติ การปรับพอร์ตง่ายมาก ๆ แค่กด คำสั่งใน application แต่ไม่สำหรับ RMF เพราะคุณต้องดำเนินการด้วยเอกสาร ยกเว้นจะปรับกองทุนที่อยู่ภายใน บลจ. เดียวกัน แค่คิดจะทำการเหนื่อยแล้ว ปรับข้าม บลจ. จะต้องไปพักเงินไว้ที่ กองทุน money market ก่อนด้วยนะ กว่าจะดำเนินการเอกสารผ่านไป 2-3 week ขั้นต่ำ
2) Fund house หรือตัวแทนขาย เน้นขาย Active Fund
ตัวแทนขายตาม Fund House จะเน้นอะไรตื่นเต้นมีอนาคตสวย ๆ AI , Technology อะไรพวกนี้ หรือ กองทุนแบบ Active เทพ ๆ อะไรแบบนั้น
แต่ปัญหาคือ จากการวิจัยของ Morningstar บอกว่า ใน 1 ปีที่ผ่านมามีกองทุน active แค่ 35% ที่ชนะ passive ซ้ำร้าย ผ่านปี 20% จะเหลือเพียง 10% ที่จะชนะ passive แต่เราต้องการลงทุนระยะอีก 10-30 ปีเพื่อเกษียณ ที่สำคัญปรับพอร์ตยากมาก
ดังนั้นควรมีกองทุน passive มากขึ้น ในสัดส่วนของการลงทุนในพอร์ต RMF การจัดสัดส่วนการลงทุน เลือกกองทุน passive ก็สำคัญ เราควรเลือกผู้ชนะระยะยาว ลองดูเพิ่มเติมที่ https://www.finnomena.com/wealthguru/top-tier-index-funds/
3) แผนสมดุลตามอายุ ไม่ได้ถูกใช้
หลักการง่ายคือ สมดุลตามอายุ (Target Date) ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะเป็นปรับสัดส่วนให้เหมาะสมตามช่วงอายุที่เปลี่ยน
จากรูปจะเห็นได้ว่า พอใกล้ Target date ที่เกษียณอายุ พอร์ตจะถือตราสารหนี้มากขึ้น แต่เสียดายคนลงทุนใน RMF ไม่ค่อยได้จัดเป็นพอร์ต เน้นเป็นรายกองทุน หรือถ้าจัดแล้ว ก็ไม่ค่อยได้ปรับพอร์ตตามอายุ
อีกทั้ง กองทุนแบบ target date ไม่ได้รับความนิยมในประเทศ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า มัน Passive คือน่าเบื่อ แต่เงินเกษียณของเราควรจะเป็นอย่างไร นักลงทุนลองตัดสินใจดู
อ่าน Target date ได้ที่ https://www.finnomena.com/wealthguru/target-date/
หลังจากปี 2022 เป็นต้นมา พอร์ต RMF ลูกค้าผม ขั้นต่ำ 60% จะเป็น Index ง่าย ๆ
ลองไป Review พอร์ต RMF ของคุณดูนะครับว่าเป็นอย่างไร
Global Aggressive Hybrid Portfolio พอร์ตการลงทุนที่ผสมผสานกองทุนแบบ Active และ Passive กระจายลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”