จริงหรือไม่ที่หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นที่มีราคาหรือมูลค่าต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม กิจการมีปัจจัยพื้นฐานดี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และบริหารงานอย่างโปร่งใส สถานะการเงินดี หนี้น้อย
คำว่า “กิจการมีปัจจัยพื้นฐานดีผู้บริหารมีวิสัยทัศน์” จะบอกได้อย่างไร
หลายคนคัดกรองหุ้นคุณค่าได้ ซึ่งสามารถคัดกรองได้จาก
P/E Ratio และ P/BV ต่ำ
ROE > 10%
อัตราการจ่ายเงินปันผล (High Dividend Yield) สูง
แต่หลายครั้งที่นักลงทุนซื้อหุ้นที่ตรงตามการคัดกรอง ทว่าผลตอบแทนก็ยังไม่ชนะ SET Index return
วันนี้ผมจะขอนำการคัดเลือกหุ้นคุณค่า (Value Stock) ตามหนังสือชื่อ “Quantitative Value” เขียนโดย ผู้จัดการกองทุนชื่อ Alpha Architect
หนังสือได้พูดถึงระบบคัดกรองหุ้นคุณค่า (Value Stock) ในเชิงของ Quantitative Value โดยระบบคัดกรอง
ระบบ Quantitative Value จะกรองหุ้นที่มีคุณภาพสูงตามรูปล่างนี้
อ้างอิงจาก https://alphaarchitect.com/2014/10/07/the-quantitative-value-investing-philosophy/
“An economic franchise arises from a product or service that: (1) is needed or desired; (2) is thought by its customers to have no close substitute and; (3) is not subject to price regulation. The existence of all three conditions will be demonstrated by a company’s ability to regularly price its product or service aggressively and thereby to earn high rates of return on capital. Moreover, franchises can tolerate mis-management. Inept managers may diminish a franchise’s profitability, but they cannot inflict mortal damage” – นี่คือคำพูดของ Warren Buffett ใน Shareholder Letter ปี 1991
ผมขอสรุปแบบง่ายคือ บริษัทที่มีสินค้าหรือบริการที่เป็นสิ่งจำเป็น ไม่มีอะไรมาทดแทนสินค้าและบริการ และไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมราคาสินค้าและบริการ การที่มีทั้งสามเงื่อนไขจะแสดงให้เห็นโดยความสามารถของบริษัทในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการอย่างสม่ำเสมอและจะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูง
จากคำพูดของ Warren Buffett เราจะหาหุ้นคุณค่าที่มีคุณภาพสูงที่เป็นไปตามคำพูดของ Warren Buffett ได้อย่างไร?
ผมขอยกตัวอย่างซัก 3 หัวข้อในการคัดกรองหุ้นคุณค่า (Value Stock) เพื่อหาหุ้นคุณค่าที่มีคุณภาพสูง
1. Economic Moat และ Excess Return
ค้นหาความแข็งแกร่งของป้อมปราการและผลตอบแทนของบริษัท
ค้นหาจากค่า Return on Invested Capital (ROIC) หรืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเพื่อการดำเนินงานของบริษัท
บทความของ FINNOMENA เองก็มีหลายบทความเกี่ยวกับค่า ROIC
เช่น Return on Invested Capital (ROIC) คือ อะไร? หรือ วัดความแข็งแกร่งของป้อมปราการบริษัทด้วย WACC และ ROIC
ยิ่ง ROIC สูงยิ่งดี
ยิ่ง ROIC > WACC ยิ่งดีมาก
จะต้องหาค่า ROIC ที่ไม่ความผันผวนมาก ยิ่งคงที่หรือผันผวนไม่มาก
ถ้ายิ่งผ่านช่วงวงจรเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แล้ว ROIC ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญยิ่งดี
2. Finding Persistence
ค้นหาผลตอบแทนของการดำเนินระยะยาวผ่านช่วงวงจรเศรษฐกิจ ซึ่งวัดได้จาก
CFOA
วัดจาก ผลรวมของ Free Cash Flow อย่างน้อย8 ปี / Total Assets
CFOA จะบ่งบอกถึงสินทรัพย์ทั้งหมดความสามารถสร้างFree Cash Flow ได้เท่าไรในช่วงระยะ8 ปี
Geometric Return on Assets
วัดจาก นำค่าของ ROA อย่างน้อย 8 ปี โดยนำมาเฉลี่ยแบบเรขาคณิต
ROA จะวัดความสามารถของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ทั้งหมด
Geometric Return on Invested Capital (ROIC)
วัดจาก นำค่าของ ROIC อย่างน้อย 8 ปี โดยนำมาเฉลี่ยแบบเรขาคณิต
3. Pricing Power
ค้นหาจากความสามารถในการกำหนดและการรักษากำไร
Profit Margin Growth
วัดการเติบโตของ % ของ net margin อย่างน้อย 8 ปี โดยนำมาเฉลี่ยแบบเรขาคณิต
Profit Margin Stability
วัดจาก ค่าเฉลี่ย % ของ net margin/ความผันผวน % ของ net margin อย่างน้อย 8 ปี
ผมขอยกการเปรียบเทียบ หุ้นของ HMPRO และ GLOBAL ดังนี้
จากการเปรียบเทียบเชิง Quantitative Value HMPRO จะมีคุณภาพสูงกว่า GLOBAL แต่ GLOBAL มีอัตราเติบโตของกำไรมากกว่า
การหาหุ้นคุณค่า (Value Stock) ที่มีคุณภาพสูง ไม่ใช่แค่ หาหุ้นที่มี ROE > 15% หรือ PE ต่ำ
มีกระบวนการและหลักการคิดมากกว่านั้น
ดังนั้นการลงทุนในหุ้นด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องง่าย
เริ่มง่ายๆ ด้วยการลงทุนกับพอร์ตลงทุนแบบ เก็บทุกโอกาส ทั้งเชิงรับและเชิงรุก พอร์ตลงทุนแบบ ลงทุนทั้งหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโต ด้วยพอร์ตการลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.finnomena.com/port/wealthguru/ หรือคลิกที่แบนเนอร์ข้างล่างได้เลย
สมพจน์ พัดสุวรรณ
wealthguru