ความแตกต่างระหว่างกองทุนแนว Pure Growth และ Quality Growth ดูได้อย่างไร? ก่อนอื่นทำความเข้าใจระหว่าง Pure Growth และ Quality Growth กันก่อน
1. Pure Growth
นิยาม
ลงทุนในหุ้นหรือกองทุนที่มีศักยภาพเติบโตสูง โดยมุ่งเน้นการขยายรายได้ (Revenue) และกำไร (Earnings) อย่างรวดเร็วในอนาคต
ลักษณะสำคัญ
- ความเสี่ยงสูง: หุ้นที่เติบโตเร็ว (High Growth Stocks) มักเป็นบริษัทในช่วงเริ่มต้น หรืออยู่ในอุตสาหกรรมใหม่
- มูลค่าหุ้นแพง (Valuation สูง): ตัวชี้วัดเช่น P/E และ P/S มักสูงกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม
- มุ่งเน้นการเติบโต: บริษัทอาจยังไม่มีกำไร หรือมีกำไรน้อย เนื่องจากเน้นการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ
- อุตสาหกรรมยอดนิยม: เทคโนโลยี, พลังงานสะอาด, AI, Biotech
เหมาะสำหรับ
- นักลงทุนที่รับความเสี่ยงสูงได้
- เน้นการเติบโตของมูลค่าพอร์ตระยะยาว
- มีเวลาศึกษาข้อมูล และสามารถทนต่อความผันผวน
ตัวอย่าง
- หุ้น: Tesla, Nvidia, SEA Group
- กองทุน: กองทุนหุ้นเทคโนโลยี หรือ Thematic Fund
2. Quality Growth
นิยาม
ลงทุนในหุ้นหรือกองทุนที่เน้นการเติบโตแบบยั่งยืนจากบริษัทที่มีคุณภาพสูง
ลักษณะสำคัญ
- ความเสี่ยงต่ำกว่า: บริษัทมักมีฐานะทางการเงินมั่นคง มีการเติบโตที่สม่ำเสมอ
- มูลค่าที่สมเหตุสมผล: การประเมินมูลค่ามักไม่สูงเกินไปเมื่อเทียบกับศักยภาพ
- การเติบโตยั่งยืน: มุ่งเน้นบริษัทที่มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น แบรนด์แข็งแกร่ง หรือสินค้าที่มีความต้องการสูง
- อุตสาหกรรมที่เติบโตมั่นคง: สินค้าผู้บริโภค, การดูแลสุขภาพ, การเงิน
เหมาะสำหรับ
- นักลงทุนที่มองหาการเติบโตควบคู่กับความมั่นคง
- รับความผันผวนได้ในระดับปานกลาง
- เน้นการลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ
ตัวอย่าง
- หุ้น: Apple, Microsoft, Johnson & Johnson
- กองทุน: กองทุนหุ้น Blue Chip หรือ Growth-Quality Fund
ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ โดยใช้กองทุน Pure Growth
ยกตัวอย่าง กองทุน LHINNO ซึ่งมี ARKK: ARK Innovation ETF เป็น Master fund
Figure 1 จาก Morningstar Thailand วันที่ 12-Jan-2025
จะเห็นได้ชัดเจนว่า Factor Growth สูงกว่าค่าเฉลี่ยแต่ Factor Quality กลับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
Figure 2 จาก Morningstar Thailand วันที่ 12-Jan-2025
ดู Financial Metris แล้วจะเห็นว่า ROIC ยังติดลบ ความสามารถในการทำกำไรยังได้แค่เกรด D
ครั้งนี้มาดู Quality Growth กันบ้าง ใช้ KKP GNP โดยมี Master fund เป็น Capital Group New Perspective Fund
Figure 3 จาก Morningstar Thailand วันที่ 12-Jan-2025
จะเห็นได้ชัดว่า Growth Factor จะใช้เคียงค่าเฉลี่ย แต่ Quality Factor สูงกว่าค่าเฉลี่ย
Figure 4 จาก Morningstar Thailand วันที่ 12-Jan-2025
Financial Metrics ยิ่งขัดเจน ROIC 18.62% และความสามารถในการทำกำไร B-
เปรียบเทียบกองทุน Pure Growth และ Quality Growth
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”