หลายคนคงเคยได้ยิน “3 ทศวรรษที่หายไป ของญี่ปุ่น”
ประเทศไทยกำลังจะเป็นแบบนั้น
ประเทศที่ครั้งหนึ่งตลาดหุ้นมีดัชนีอยู่ 39,916 จุด ในปีที่ 1989 ปัจจุบันปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 23,000 จุดที่ไม่เคยทะลุจุดเดิมอีกเลย
ประเทศที่เคยใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกได้สูญเสียตำแหน่งนี้ไปให้กับจีนแล้ว
ดูจากรูปข้างล่าง
คุณเคยคิดไหม…ประเทศจะเกิดทศวรรษที่กำลังจากหายไป
ถ้าคุณไม่เคยคิด วันนี้ผมมีข่าวร้ายมาบอก “ประเทศไทยกำลังจะเจอทศวรรษที่กำลังจากหายไป”
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ผมขอสรุปงานวิจัยเรื่อง “ทศวรรษถัดไปของไทย ธุรกิจโตอย่างไรเมื่อคนไทยกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ” จากบทวิจัยของ เกียรตินาคินภัทร
จากรูปที่ 1: จำนวนประชากรสูงวัยจะมีสัดส่วนมากขึ้นมาก ในขณะที่ประชากรในวัยที่กำลังทำงานและมีกำลังใช้จ่าย จะมีสัดส่วนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
จากรูปที่ 2: GDP มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากสาเหตุหนึ่งคือ โครงสร้างประชากรวัยทำงานลดลง ขาดกำลังซื้อการบริโภค จะส่งต่อไปยังการเก็บภาษีภาครัฐบาลเพื่อนำลงทุนต่อในระบบลดน้อยลง
จากรูปที่ 3 บ่งบอกชัดเจนว่า ปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยนั้น อยู่ระดับแค่ต่ำ แต่สัดส่วนของคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป กลับอยู่ระดับเดียวกับ Singapore ที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง แต่ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีสัดส่วนของคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากขึ้นกว่าเดิม แต่รายได้กลับอยู่ในระดับเดิม
รูปที่ 6 ธุรกิจดั้งเดิมที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เช่น รถยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม และเสื้อผ้า จะไม่สามารถขยายตัวได้ดีเหมือนเก่า ธุรกิจที่ยังสามารถขยายตัวได้ดี เช่น อุตสาหกรรมยา สุขภาพ โรงพยาบาล หรือด้านบริการ
โดยสรุปจากบทวิจัยคือ
- การบริโภคจะเริ่มชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
- ตลาดสินค้าในประเทศไม่เติบโตได้มากเหมือนในอดีต
- การขาดแคลนแรงงานจะซ้ำเติมให้ไทยดึงดูดการลงทุนได้น้อยลง
- ธุรกิจดั้งเดิมที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เช่น รถยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม และเสื้อผ้า จะไม่สามารถขยายตัวได้ดีเหมือนเก่า
- ธุรกิจที่ยังสามารถขยายตัวได้ดีตามแนวโน้มสังคมสูงวัย เช่น อุตสาหกรรมยา สุขภาพ โรงพยาบาล ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย และบริการอื่น ๆ
- ภาวะสังคมสูงวัยมีส่วนสร้างแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
- เงินบาทแข็งค่า ยังสร้างความท้าทายและข้อจำกัดต่อนโยบายการเงินและนโยบายการคลังในระยะต่อไป
คำถามใหญ่ที่คุณจะถามตัวเอง คือ จะเตรียมแผนเกษียณอย่างไรกับทศวรรษที่กำลังจากหายไปของประเทศไทย
วันนี้ ผมขอฝากข้อคิด 3 ข้อที่อยากให้ทุกท่านเตรียมการรับมือทศวรรษที่กำลังจากหายไปของประเทศไทย
1. แผนการลงทุนเพื่อเกษียณ
ถ้าคุณลงทุนเฉพาะ กองทุน LTF และ RMF หุ้นไทย คุณจะเจอขาดทุนเกือบ -20% จากต้นปี สิ่งที่คุณควรจะดูคือ พอร์ตการลงทุนเพื่อเกษียณตอนนี้สัดส่วนเป็นอย่างไร กุญแจที่สำคัญคือ พอร์ตการลงทุนจะต้องมีการกระจายหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก
ยิ่งถ้าคุณใกล้วัยเกษียณ การจัดพอร์ตเพื่อถอนเงินเกษียณจะทวีความสำคัญมาก เพราะหมดเวลาที่วัยหลังเกษียณจะลงทุนในตราสารหนี้อย่างเดียว
ซึ่งก่อนจะจัดพอร์ตลงทุนคุณจะได้ทำ Gap Analysis ของการเกษียณให้ได้ก่อน เพื่อจะวางแผนได้อย่างถูกต้อง
2. แผนการจัดการค่ารักษาพยาบาล
เป็นที่ประจักษ์มาหลายปีแล้วว่า ค่ารักษาพยาบาลจะปรับตัวมากขึ้น โดยเฉพาะโรคร้ายแรงที่สูงมาก ดังนั้นคุณควรจะทบทวนแผนการจัดการค่ารักษาพยาบาลก่อนเกษียณและหลังเกษียณ
แผนแรก คุณควรจะมีแผนค่าใช้จ่ายครบตามรูป 3 เหลี่ยม คือ
- ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป
- ทุพพลภาพ
- โรคร้ายแรงระยะต่าง ๆ
ทบทวนของเก่าและเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โอนความเสี่ยงไปให้ประกันสุขภาพจะช่วยให้คุณบริหารค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ อย่าลืม Heath Care Fund กองทุนค่ารักษาพยาบาล เพื่อนำมาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณ และเป็นค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกที่อาจจะใช้ประกันสุขภาพไม่ได้
3. การสร้างมรดกเพิ่มให้ลูกหลาน
มรดกมี 2 ระดับ
- ระดับที่ 1 คือระดับพื้นฐาน เช่นภาระการศึกษาของบุตร หนี้สิน
- ระดับที่ 2 คือระดับความปรารถนา เช่น ต้องการจะให้ทายาทมีแต้มต่อ ไม่ได้เริ่มต้นนับ 0 มีเงินตั้งต้น
ดังนั้น คุณจะต้องมีแผนสร้างมรดกเพิ่มให้ลูกหลานอย่างต่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน สร้างคุณค่ายามเราจากไป
ทั้ง 3 ข้อแนะนำนี้ คุณลองกลับไปทบทวนแผนแต่ละแผนที่คุณมี ทศวรรษที่กำลังจากหายไปของประเทศไทยกำลังจะมาถึงแล้ว
คุณพร้อมแค่ไหน หรือ คุณปล่อยให้หายไปพร้อมกับประเทศไทย
คุณเลือกได้ !!!
Wealthguru
เริ่มลงทุนเพื่อเกษียณด้วยพอร์ตลงทุนแบบ Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/port/wealthguru/