ในช่วงที่ผ่านมา 2 สัปดาห์ ตลาดสินทรัพย์ทั่วโลก หุ้น ตราสารหนี้ และ ทองคำ เกิดอาการ sell-off แม้กระทั่ง พวกตราสารหนี้ และทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับหุ้น ก็จะไปหลบที่ ทองคำ หรือ ตราสารหนี้ แต่เนื่องจากเกิด panic sell แบบนี้อาจจะทำให้ความผันผวนในทุกสินทรัพย์การลงทุน โดยจะขายทุกสินทรัพย์ ไปถือเป็นเงินสดแทน
การเทขายตราสารหนี้ ทำให้กองทุนตราสารหนี้ ต้องขายตราสารหนี้ เพื่อนำเงินมาคืนให้นักลงทุนที่เทขาย ทำให้กองทุนต้องขายราคาสินทรัพย์ถูกลง กว่าที่ควรจะเป็น ทำให้คนถือตราสารหนี้เจอเหตุการณ์ที่ราคา NAV ลดลง ล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องเข้ามาดูแลสภาพคล่องของสินทรัพย์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้
ล่าสุด กองทุน TMBUSB และ TMBABF ประกาศปิดกองทุนเนื่องจากมีแรงขายเมื่อวานมาก ทำให้อาจส่งกระทบกับราคาได้ เพราะต้องรีบขายตราสารหนี้ออก ยิ่งต้องการขายเร็ว ยิ่งได้ราคาไม่ดี ไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นการปิดกองทำให้สามารถทยอยขายของออกได้ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนดีที่สุด แต่อาจจะได้รับเงินช้าลง รายละเอียดดูได้ที่ https://www.finnomena.com/z-admin/announcement-tmbabf-tmbusb/
โดยที่ พอร์ต Global Aggressive Hybrid จะทำการย้ายเงินที่คืนจาก TMBABF ไปลงทุนใน PHATRA MP ซึ่งลงทุนใน Money Market – Government
ในขณะที่ ทองคำก็โดนเทขายเช่นกัน เพราะคนต้องการถือเงินสด ทำให้ dollar index ถีบตัวสูงขึ้น บ่งบอกถึงความต้องการถือเงินสดที่เป็น Dollar มากกว่า จะถือเป็น currency อื่นๆ
พวก REIT ก็โดนเทขายเช่นด้วยกับสินทรัพย์อื่น แต่เนื่องจากสภาพคล่องของ REIT ในไทยต่ำอยู่แล้ว ทำให้กองทุนขายต้องโยนขายราคาถูก
เหตุการณ์ COVID-19 จึงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติทางการเงิน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ COVID-19 ไม่ใช่เป็นเหตุการณ์แรก ที่เกิดขึ้นจากภาพคือ โรคระบาดที่มีผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกมาแล้ว
เหตุการณ์ตลาดหมีจะเกิดขึ้นเป็น cycle จากประวัติศาสตร์ โดยจะเกิดตลาดกะทิง ประมาณ 9.1 ปี และเป็นตลาดหมีประมาณ 1.4 ปี และนี้เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นอีกครั้งสำหรับการลงทุน
จากสถิติเชิงลึกจากผลตอบแทนในระยะยาวตลอดชีวิตการลงทุน ของบรรดาโคตรเซียนหุ้นระดับโลกที่เป็นแรงบันดาลใจของนักลงทุนทุกคน จาก siamquant.
ผลตอบแทนที่มหัศจรรย์ของพวกเขานั้นแม้จะน่าตื่นเต้น แต่สิ่งที่เราจะเห็นได้คือ Max drawdown ที่พวกเขาได้เผชิญมาในอดีตต่างหาก!
ข้อแนะนำสำหรับการวางแผนการลงทุน
1) จัดพอร์ตการลงทุน คือหัวใจสำคัญที่สุด
หลายคนตอนลงทุน ก็จะเน้นไปที่จะซื้อกองทุนอะไร จะซื้อหุ้นตัวไหน แต่แท้จริง การจัดพอร์ตการลงทุนคือหัวใจที่สำคัญ ถ้าเราจัดพอร์ตตามเป้าหมายหรือระยะเวลาให้ดี เราก็จะไม่กังวลใจยามเกิดเหตุการณ์แบบนี้ การจัดพอร์ตแบบ 3 ตะกร้าดังรูปจะช่วยให้เราผ่านเหตุการณ์แบบนี้ได้
- ตะกร้าแรก เพื่อการดำรงชีวิต อย่างน้อย 1-2 ปี อาจจะเก็บเป็นเงินสด หรือ money market
- ตะกร้าที่ 2 เก็บเงินเพื่อสู้เงินเฟ้อ จะเป็นพอร์ตที่เราลงทุนได้ 3-5 ปีขึ้นไป เน้นไปที่ตราสารหนี้เป็นส่วนใหญ่ และโดยมีหุ้น REIT และทองคำ มีอยู่ส่วนหนึ่ง
- ตะกร้าที่ 3 เพื่อการเติบโตของเงินในระยะยาว ซึ่งจะลงทุน 5 ไปขึ้นไป เน้นไปที่ตราสารทุน โดยมี ตราสารหนี้ REIT และ ทองคำ ให้ครบกับการกระจายความเสี่ยง
แต่ละตะกร้าไหนมีสัดส่วนมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับอายุ การรับความเสี่ยง และ เป้าหมายของการลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะสามารถผสมกันได้ เช่น ถ้าต้องการลงทุนให้ได้เงินอีก 20 ล้านอีก 10 ปีข้างหน้า มีแผนการลงทุนดังนี้
- ตะกร้าที่ 3 โดยคิดผลตอบแทนคาดหวังที่ 7%
- ลงทุนก้อนแรก 6.0 ล้าน
- หลังจากนั้นก็ลงอีก ปีละ 1.55 ล้านอีก 4 ปีถัดไป
- หลังสิ้นปีที่ 5 หรือ 6 จะถอดกำไร นำไปเก็บไว้ที่ ตะกร้าที่ 2
ทำแบบนี้ก็จะมีเงินกำไรบางส่วนอยู่ตะกร้าที่ 2 ที่ความเสี่ยงต่ำกว่า ทำให้มีเงินทั้งพอร์ตความเสี่ยงสูงและต่ำ
ดังนั้นแม้จะเกิดวิกฤต COVID ตะกร้าที่ 1 และ ตะกร้าที่ 2 ก็จะไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่แน่นอน จะกระทบกับตะกร้าที่ 3 ที่จะมีความผันผวนและ drawdown
อ่านเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ที่ 10 ข้อคิดของการวางแผนการเงิน…ที่คุณได้จาก “วิกฤต COVID”
2) ทางเลือกในลงทุนในตอนนี้
ขาย (Sell) เพื่อหยุดขาดทุน
เพราะทนไม่ไหว ด้านการเงิน หากยืดยาวอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการเงินจนแบกรับไม่ไหว แต่ถ้าจัดพอร์ตตามเป้าหมายทางการเงินแล้ว ก็จะช่วยจุดนี้ แต่ถ้าไม่ได้ทำก็จะมีปัญหา
เพราะทนไม่ไหว ด้านความรู้สึกเครียด เศร้า เสียใจ แต่ถ้าทำใจตัดขาดทุนแล้ว ถ้าตลาดกลับตัว ก็ต้องไม่เสียใจในสิ่งที่ตัวเองทำลงไป
รอ (Hold) ไม่ตัดสินใจทำอะไรในภาวะที่ไม่ปกติ
ถ้ามีความเชื่อว่า มนุษย์สามารถเข้าชนะได้ รอให้ฝุ่นหายตลบก่อน และสุดท้ายทุกอย่างจะกลับมาได้ แล้วมาพิจารณาดูอีกว่าจะปรับพอร์ตอย่างไร สินทรัพย์ valuation น่าสนใจ ภูมิภาคไหนจะฟื้นตัวก่อน
ซื้อ (Buy) เมื่อเห็นเป็นโอกาส
เพราะเชื่อว่าตลาดตอบสนองมากเกินมากจริง สินทรัพย์ตราสารหุ้นเริ่มถูก มี Margin of safety มากกว่า 20% หลาย บริษัทมี PE ต่ำลงมา มี Dividend Yield ที่น่าสนใจ
ผมอยากจะแชร์ คลิปดี ๆ จาก ขุนเขา vs. โควิด – คู่มือพลิกวิกฤตอย่างทรงพลัง (คลิปสำคัญสุดในรอบปี)
ผมขอให้ทุกท่านปลอดภัยจาก COVID-19 และ ทำใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งตกใจ ผมเชื่อว่า ถ้าเราช่วยกันทำตามคำแนะนำของแพทย์ และช่วยเหลือกันในยามเหตุการณ์เช่นนี้ มนุษย์จะชนะ Virus นี้ได้ในที่สุด
สมพจน์ พัดสุวรรณ