วางแผนประกันสุขภาพอย่างไร? การเลือกซื้อประกันสุขภาพเป็นเรื่องปวดหัวกว่าที่คิด!!! จะเน้น IPD OPD โรคร้าย หรือมะเร็งดี นี้เป็นคำถามที่ถูก post โดยน้องที่รู้จักท่านหนึ่ง
คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่เลือกประกันตาม package สำเร็จรูป
คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่เลือกประกันตามตัวแทนที่นำเสนอมา
รัฐบาลอนุญาตให้นำเบี้ยประกันสุขภาพ หรือ อุบัติเหตุ ที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท
ผมเห็นหลายท่านที่ไม่เคยมีประกันสุขภาพก็คิดจะทำประกันสุขภาพ เพื่อมาลดหย่อยภาษี แต่ความจริงแล้ว ประกันสุขภาพเป็นการป้องกันความเสี่ยงแบบหนึ่ง
ประกันสุขภาพ เทียบแล้วเป็น ตราสารการเงิน เรียกว่า Option โดยเป็นตราสารการเงินประเภท Option แบบ Put
ถ้าหุ้นลง เราจะได้กำไร เหมือนกับ ถ้าเราเจ็บป่วย เราจะได้เงินคืน
หลายคนชอบคิดว่าเป็นเบี้ยจ่ายทิ้ง เป็นความคิดด้านเดียว และ เป็นความคิดที่เกิดจาก อคติ ที่เรียกว่า overconfidence bias มั่นใจมากเกินไป หรือเรียกง่ายๆ ว่าประมาท
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
Overconfidence bias ทางการเงิน เป็นหนทางแห่งความจน
กลับมาถึงวิธีการวางแผนประกันสุขภาพกัน
จัดการผลกระทบมากก่อนเสมอ
หมายถึง เราจะต้องจัดการโรคความเจ็บป่วย ที่จะทำให้เกิดผลกระทบกับเงินของเรามากที่สุด เช่นโรคมะเร็ง แม้มีโอกาสเกิดได้น้อยกว่า โรคทั่วไป ค่ารักษาพยาบาล แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งแล้วจะกระทบกับเงินของเราเยอะ
ดังนั้น เราจะต้องประเมินวงเงินค่าใช้จ่าย โรคมะเร็ง โดยทั่วไป ก็จะต้องวงเงินประมาณ 1.5-5 ล้านบาท ในการรักษา ประกันสุขภาพก็จะมีแบบจ่ายเป็นเงินก้อน และ จ่ายเมื่อเข้ารักษาตัว ดังนั้นเบี้ยประกันก็ขึ้นกับวงเงินที่เราต้องการคุ้มครอง
จัดการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD)
เมื่อเราได้วงเงินเกี่ยวกับค่ารักษาโรคร้ายแรงแล้ว ก็ต้องมาจัดการค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) และค่ารักษาพยาบาลแบบอุบัติเหตุ เราต้องสำรวจดูว่า ปกติเข้าโรงพยาบาลอะไร? เข้าพักที่ค่าห้องเท่าไร?
เช่น ชอบเข้าโรงพยาบาลพระราม 9 ที่ค่าห้อง 5,000
เราก็ต้องหา package ประกันสุขภาพที่มีค่าห้องที่ 5,000
โดย package ก็จะระบุ วงเงินค่าผ่าตัด ค่าพบหมอ เป็นต้น
โดยวงเงินค่าผ่าตัดจะเบิกได้เป็น % ของวงเงินสูงสุด
หรือ
เช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง จะเบิกได้ 30% ของวงเงินสูงสุด 60,000
คือ 18,000 ถ้าค่ารักษาพยาบาลจ่ายจริง 20,000
เราก็ต้องจ่ายเพิ่มเอง 2,000
ในปัจจุบันเป็นประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย โดยจะมีวงเงินที่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เช่น วงเงิน 1 ล้าน หรือ 2 ล้าน โดยไม่มีการกำหนด % ของค่าผ่าตัด แต่แบบประกันแบบนี้จะแพงกว่า ประกันสุขภาพแบบเก่า
สำหรับผู้ป่วยนอก หรือ OPD เป็นค่ารักษาพยาบาล ที่ไม่กระทบกับเงินของเราอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้น ประกันสุขภาพคุ้มครอง OPD จึงเป็น option
จะเลือกทำประกันสุขภาพแบบวินาศภัย หรือ ประกันสุขภาพแบบชีวิต
ประกันสุขภาพแบบวินาศภัย และประกันสุขภาพแบบชีวิต เป็นแบบปีต่อปี เราสามารถยกเลิกได้ และ บ.ประกันก็สามารถไม่รับปีต่อได้เช่นกัน
เบี้ยประกันสุขภาพจะขึ้นตามอายุ จะสามารถปรับขึ้นได้ตลอด แม้จะมีตัวเลขคร่าวออกมาแล้ว
เช่น เช่น ตอนนี้เราอายุ 20 ปี ตอนอายุ 26 ปี เบี้ยประกัน 10,000 ปรากฏว่า ตอนเราอายุ 26 ปี เบี่ยประกันอาจจะปรับขึ้นก็ได้
แต่อย่างไรก็ตามบาง บ.ประกันอาจจะไม่มีการปรับ เราก็ต้องตรวจสอบตรงนี้ด้วย ผมแนะนำว่า ถ้าเรา มีประกันชีวิตแบบตลอดชีพอยู่แล้ว การทำประกันสุขภาพเข้าไปในประกันชีวิตจะทำให้วางแผนประกันสุขภาพได้ง่ายขึ้น
ข้อควรจำ ไม่ควรซื้อประกันสุขภาพเข้าไปในประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
เพราะเมื่อสัญญาญประกันชีวิตครบกำหนด ประกันสุขภาพของท่านจะหมดลงไปด้วย
เราต้องการประกันสุขภาพที่สามารถคุ้มครองไปถึงอายุ 80 เป็นอย่างน้อย
ส่วนท่านใด ไม่มีประกันชีวิต ก็สามารถซื้อประกันสุขภาพแบบแบบวินาศภัยได้ แต่บางครั้งเวลาต่อประกัน บ.ประกันก็มีสิทธิตรวจสุขภาพท่าน ขึ้นอยู่กับ บ.ประกัน
ตัวแทนมืออาชีพ
ประกันสุขภาพค่อนข้างมีเนื้อหาสัญญาที่มีรายละเอียดมาก หลายคน ไปทำประกันสุขภาพกับ Call Center พอถึงแล้วเข้าโรคพยาบาลและต้อง Claim ค่ารักษา อาจจะไม่ค่อยสะดวก ถ้ามีตัวแทนช่วยก็จะทำให้สะดวกมากขึ้น
ในปัจจุบัน โรงพยาบาลจะทำงานร่วมกับตัวแทน บางครั้งตัวแทน จะขอต่อรองส่วนลดค่าห้องให้ด้วย
ดังนั้น ตัวแทนมืออาชีพ จึง factor ที่ไม่ควรมองข้าม ยกเว้นจะเป็นคนชอบ Do it yourself.
ตัวแทนมืออาชีพ ควรจะ full time หรือ ทำงานเต็มเวลา มีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน ประกันทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสินทรัพย์ และ ประกันสุขภาพ เป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยง ที่จะช่วยให้วางแผนการเงินของเรามั่นคงขึ้นพร้อมจะเผชิญเหตุการณ์ร้ายๆ โดยไม่ต้องกังวล
สมพจน์ พัดสุวรรณ
wealthguru