ข่าวดีของคนกำลังจะลาออก: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีทางเลือกแล้ว!

ข่าวดีของคนกำลังจะลาออก: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีทางเลือกแล้ว!

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่? ที่ลาออกจากงานก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับเงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บางคนลาออกไปไม่กี่เดือน ก็นำเงินไปใช้จ่ายจนเกือบหมดสิ้น

แล้วแบบนี้เราจะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถ้าเราลาออกจากบริษัท?

มาดู 3 ทางเลือก ถ้าคุณลาออก คุณจะจัดการกับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างไรบ้าง?

1. ยังคงไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างต่อได้อีก 1 ปี

คุณยังได้รับเงินผลประโยชน์ในการลงทุนต่อ แต่จะไม่มีเงินสมทบ แล้วรอจนกระทั่งคุณพร้อมกับการทำงานที่ใหม่ซึ่งคุณอาจจะโอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่ได้

2. โอนย้ายไปยังกองทุนรวม RMF

ข้อดีคือ เพื่อช่วยให้ลูกจ้างสามารถออมเงินต่อเนื่องได้เท่าที่ต้องการ สามารถที่จะเลือกนโยบายการลงทุนได้เอง และช่วยเรื่องภาษีอีกด้วยคือ ใช้ลดหย่อนภาษีได้

Update: นักลงทุนสามารถซื้อกองทุน SSF-RMF กับ FINNOMENA ได้แล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ https://finno.me/tax-saving-fund1452

3. นำเงินไปลงทุนต่อเอง

ถ้าเป็นทางเลือกนี้จะต้องดูว่าท่านเสียภาษีอย่างไรและเท่าไร และที่สำคัญ คุณต้องสามารถลงทุนได้ผลตอบแทนที่ชนะทั้งผลตอบแทนของ SET Index  และ กองทุนประเภทหุ้น แบบ Active Fund

3.1) อายุงานน้อยกว่า 5 ปี ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี จะต้องยื่นรวมไปกับเงินได้ประจำปีภาษี

โดยเงินที่จะต้องคำนวณการเสียภาษี คือ เงินที่นายจ้างสมทบและผลประโยชน์จากการลงทุน

เช่น ทำงานมา 4 ปี ได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยมีเงินสะสมของตัวเอง 70,000 บาท

และมีเงินสมทบจากนายจ้าง 70,000 บาท พร้อมผลประโยชน์จากการลงทุน 10,000 บาท

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี คือ เงินสมทบจากนายจ้าง 70,000  + ผลประโยชน์ 10,000 = 80,000

จะเสียเงินสำหรับภาษีเท่าไร ก็ให้คำนวณจากฐานการเสียภาษีอีกครั้ง

3.2) อายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่เกิน 55 ปี จะต้องยื่นแยกในการเสียภาษี

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี  คือ

[(เงินสมทบจากนายจ้าง+เงินผลประโยชน์การลงทุน)(7,000 x อายุงาน)] / 2

โดยเงินก้อนนี้นำไปแยกยื่นได้ ไม่ต้องไปรวมกับ เงินได้ประจำปีภาษี

เช่น ทำงานมาแล้ว 6 ปี  ได้รับเงินจากกองทุน  250,000 โดยเป็นเงินสะสมของตัวเอง 100,000

และมีเงินสมทบจากนายจ้าง 100,000 พร้อมผลประโยชน์จากการลงทุน 50,000

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี คือ 150,000  = เงินสมทบจากนายจ้าง 100,000  + ผลประโยชน์ 50,000 = 150,000

เงินที่จะต้องนำไปคิดเสียภาษี  คือ [ (150,000 – (6×7,000)]/2 = 54,000 บาท

จะเสียเงินสำหรับภาษีเท่าไร ก็ให้คำนวณจากฐานการเสียภาษีอีกครั้ง

3.3) อายุสมาชิกของกองทุน 5 ปีขึ้นไป และ อายุ 55 ปีขึ้นไป ไม่ต้องเสียภาษี

แม้จะมีหลายทางเลือก  แต่ทางเลือกที่ดี คือ ทางเลือกที่จะทำให้คุณมีออมต่อเนื่อง และเลือกนโยบายการลงทุนเองได้ คือ โอนย้ายไปยัง กองทุนรวม RMF หรือ โอนไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่

สมพจน์ พัดสุวรรณ
WealthGuru

SaveSave

TSF2024