ในปี 2019 เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรของการเติบโต (Late Cycle) พร้อมกับอัตราการขยายตัวรูปแบบใหม่ (New Normal) เนื่องจาก เกิดสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อีกทั้งเศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราชะลอลง และที่สำคัญ เศรษฐกิจไทยมีการชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก ซึ่งในปัจจุบัน ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ได้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ
ผมได้สรุปผลการดำเนินการของพอร์ตในปี 2019 ก่อนดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของพอร์ต
ภาพรวมผลดำเนินงานของกองทุนหุ้น
ผลตอบแทน 12 เดือนที่ผ่าน (ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2019)
ที่มา: FINNOMENA
ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
กองทุน TMBGQG ปรับตัวขึ้นมากที่สุดถึง 27.32% ตามมาด้วย กองทุน PRINCIPAL GEF-A 24.16%, กองทุน LHGROWTH-A 4.89% และ กองทุน JB25 1.68% ในปี 2019 เป็นปีที่หุ้นไทยมีผลการดำเนินที่ไม่ดีอีกปี สวนทางกับหุ้นต่างประเทศ
ภาพรวมผลดำเนินของกองทุนอสังหาริมทรัพย์
ผลตอบแทน 12 เดือนที่ผ่าน (ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2019)
ที่มา: FINNOMENA
ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ปี 2019 นั้น เป็นปีที่ดีสำหรับกอง REITs เนื่องจากหุ้นผันผวน และดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยปีนี้ กอง REITs ไทย เช่น กองทุน M-PROP-DIV ปรับตัวได้สูงสุดถึง 30% ส่วนกองทุน PRINCIPAL IPROP-A ที่เป็นกอง REITs ผสมไทยและต่างประเทศ ก็ปรับตัวได้สูงสุด 22%
จะเห็นได้ว่า Max Drawdown ของกองทุน PRINCIPAL IPROP-A อยู่ที่ประมาณ -8% จะต่ำกว่า กอง REITs ไทยอยู่ที่เกือบ -20% เนื่องจากมีการกระจายการลงทุน ไม่ได้กระจุกตัวในการลงทุนอยู่ประเทศไทยอย่างเดียว
ภาพรวมผลดำเนินงานของกองตราสารหนี้
ผลตอบแทน 12 เดือนที่ผ่าน (ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2019)
ที่มา: FINNOMENA
ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
กองทุน TMBABF ได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 3.63% ถือว่ามีผลดำเนินงานที่ดี เมื่อเทียบกับกลุ่มเดียวกัน
ภาพรวมของพอร์ตลงทุน
ผลตอบแทนตั้งแต่เปิดพอร์ต (ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2019)
ที่มา: FINNOMENA
ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผลตอบแทนของพอร์ตตั้งแต่เปิดมาอยู่ที่ 2.97% ในขณะที่ SET TR จะอยู่ที่ -4.21% ในส่วน Max Drawdown กลับดีกว่าเกือบ 3 เท่าของ SET TR โดย Max Drawdown ของ SET TR จะอยู่ที่ -10% แต่พอร์ตจะอยู่ที่ -3.65% เท่านั้น
2. ทบทวนกลยุทธ์ Global Aggressive Hybrid
Core-Satellite
ใช้กองทุนแบบ Passive มาเป็น Core เพื่อเน้นสร้างเสถียรภาพในพอร์ตลงทุนระยะยาว และใช้กองทุนแบบ Active เป็น Satellite เน้นความหลากหลาย เพื่อเพิ่มผลตอบแทน
Global Multi-Asset
เป้าหมายลงทุนเพื่อสะสมมูลค่าในระยะยาว จัดพอร์ตแบบกระจายการลงทุนทั่วโลก ลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ REITs และ ทองคำ
Tactical Assets Allocation
มีการปรับพอร์ตตามสภาวะตลาด
การสร้างพอร์ต Global Aggressive Hybrid นอกจากผลตอบแทนที่เราคาดหวัง สิ่งสำคัญไม่แพ้กัน หรือ อาจจะสำคัญที่สุด คือ “ ควบคุม Max Drawdown” ไม่ให้พอร์ตพังเวลาเกิด Crisis
3. แนวทางการปรับพอร์ต
Asset Allocation ที่ต้องพิจารณา
ที่มา: FINNOMENA
ข้อมูล ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2019
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomena-ic/outlook-2020/
หุ้น
ประไทยเริ่มเข้าสู่ Long Term Structural Stagnation และเติบโตจำกัด
ภาวะที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำเป็นเวลายาวนานจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เนื่องจาก Population Demographics ของไทย เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น
ประเทศไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากกว่าต่างชาติมาลงทุนในไทย (FDI) เกือบ 2 เท่า และเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ซึ่งมี GDP per Capita มากกว่าไทยถึง 30% หรือ ประเทศพัฒนา เช่น เกาหลีใต้ ทั้งสองประเทศก็ยังมี Outbound-to-Inbound Investment Ratio เพียง 1.6X เท่านั้น
ปัจจุบัน ธุรกิจธนาคารในไทย เจอความท้าทายจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในระดับต่ำ หนี้ครัวเรือนสูง ดอกเบี้ยต่ำ
ที่มา: Chulalongkorn Business School
ข้อมูล ณ วันที่: 20 ธันวาคม 2019
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และ Emerging Market ยังมีความน่าสนใจ
ที่มา: Global Asset Allocation Views จาก J.P Morgan Asset Management
ข้อมูล ณ ธันวาคม 2019
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้จะมี P/E ที่สูงแต่ยังมีความน่าสนใจตรงพื้นฐานของบริษัท โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี
สำหรับกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) กำไรจะเริ่มฟื้นตัว
ดังนั้นกลยุทธ์ที่แนะนำ คือ ลดสัดส่วนในหุ้นไทย และ เพิ่มน้ำหนักกระจายการลงทุนไปยังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น
ตราสารหนี้
โอกาสการลงทุนในตราสารหนี้มีความน่าสนใจน้อยลง เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้น
ดังนั้นกลยุทธ์ที่แนะนำคือ
ลดสัดส่วนของตราสารหนี้จาก 20% เป็น 15%
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
ส่วนต่างอัตราปันผล REITs ไทย กับพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี
ที่มา: Bloomberg
ข้อมูล ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2019
ในปี 2020 ดอกเบี้ยยังคงต่ำอยู่ ในขณะที่ Yield Spread อยู่ในจุดน่าสนใจ ดังนั้นให้ยังคงสัดส่วนเดิมของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ คือ 20%
ดังนั้นกลยุทธ์ที่แนะนำ คือ
ยังคงสัดส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไว้คงเดิมคือ 20% เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง
ทองคำ
แม้จีนและสหรัฐฯ มีโอกาสทำข้อตกลงในเฟสแรกได้ ทำให้อยู่ในภาวะ Risk-On แต่ทุกอย่างก็ไม่แน่นอน สำหรับ Trade-War ระหว่างจีนและอเมริกา
ดังนั้นกลยุทธ์ที่แนะนำ คือ
เพิ่มทองคำ 5% เพื่อเป็นการทำ hedge portfolio ซึ่งก็อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดให้อนาคต
สัดส่วนการลงทุน
สัดส่วนการลงทุนที่แนะนำ ณ ปัจจุบัน
ที่มา: FINNOMENA
ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2019
จะเห็นได้ว่า สัดส่วนของหุ้นยังคงเดิมคือ 60% เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนสัดส่วนในการถือหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศ สัดส่วนของกอง REITs ยังเหมือนเดิมคือ 20% แต่ปรับลดกองทุนตราสารหนี้เหลือ 15% และเพิ่ม ทองคำ 5%
เพิ่มกองทุน ASP-ASIAN สำหรับลงทุนใน Asia ex Japan
ภูมิภาคหลักที่แต่ละกองทุนลงทุน
ที่มา: morningstar thailand
ข้อมูล ณ วันที่: 25 ธันวาคม 2019
10 หุ้นหลักที่อยู่ในแต่ละกองทุน
ที่มา: morningstar thailand
ข้อมูล ณ วันที่: 25 ธันวาคม 2019
เมื่อเพิ่มกองทุน ASP-ASIAN เข้ามาจะช่วยให้กระจายการลงทุนไปยัง ASIAN มากขึ้น และสามารถเพิ่มและไม่พลาดโอกาสการภูมิภาคที่จะเติบโตในอนาคต
เพิ่มกองทุน SCBGOLDH
Hedge portfolio โดยใช้ทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยง เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้น
WealthGuru
เริ่มลงทุนเพื่อเกษียณด้วยพอร์ตลงทุนแบบ Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/port/wealthguru/
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน