หลายคนคิดว่าการจัดพอร์ตสร้าง Alpha จะต้องเลือกลงทุนในกองทุน Active Fund
เลือกประเทศที่เติบโตสูงในขนาดอนาคตอย่างเวียดนาม หรือ จีน
เลือกอุตสาหกรรมที่เติบโตสูง เช่น Technology ต่างๆ
วันนี้ ผมจะมาต่อเรื่องราวจากตอนที่แล้ว คือ Factor Investing ตอนที่ 1: เลือก Factor ก่อนเลือก Fund
เพื่อให้นักลงทุนสามารถสร้างพอร์ตการลงทุนได้ด้วยตัวเอง
1) รู้จัก Business Cycle
LEI ( Leading Economic Index)
อย่าคาดการตลาด นี้คือคำพูดที่เราเคยได้ยิน อย่างไรก็ตาม The Conference Board ได้จัดทำดัขนีชี้วัด Business cycle โดยจุดประสงค์คือ เป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของอเมริกาที่มีจุดประสงค์เพื่อคาดการณ์กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาค ซึ่งเราเรียกกว่า LEI ( Leading Economic Index) ซึ่งจะใช้ LEI YoY Change (%) เป็นตัวบอก ตัวอย่างดูรูป ถ้า LEI YoY ประมาณ -3% จะเป็นสัญญาณ เข้าสู่ recession
Figure 1 SPDR Research 30-Nov-2019
PMI Purchasing Manager Index
- PMI Purchasing Manager Index มีชื่อในภาษาไทยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นดัชนีที่ นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต
- ถ้าดัชนี มีค่ามากกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวจากระดับปัจจุบัน
- ถ้าดัชนี มีค่าเท่ากับ 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มคงที่จากระดับปัจจุบัน
- ถ้าดัชนี มีค่าน้อยกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวจากระดับปัจจุบัน
Figure 2 MSCI October 2018
นักลงทุนสามารถใช้ทั้ง 2 Leading Indicators เพื่อกำหนดกลยุทธ์ของการจัดพอร์ตลงทุนได้
2) Multi-Factor Rotation
จาก Factor Investing ที่มีอยู่ เราสามารถปรับเปลี่ยนที่จะใช้ Factor Investing ได้ตาม Business Cycle ตามภาพคือ Adapting multi-factor allocation to the business cycle
Figure 3 MSCI October 2018
Figure 4 Blackrock
จากรูป นักลงทุนไม่จำเป็นจะต้องใช้ แค่ Single Factor แต่เราสามารถใช้ Multi-Factor พร้อมกับการ rotation ของ Factor ได้ตาม Business Cycle แต่ละ research แม้ต่างสำนักต่างทำ แม้มีบางส่วนไม่เหมือนกันบ้าง แต่การมีบ้างอย่างคล้ายๆ กัน สรุปแบบรวมสำหรับ Factor Investing ได้คือ
- Recovery Cycle : Value ,Size และ High Yield
- Expansion Cycle : Momentum , Size และ Growth
- Slow Cycle : Quality , Momentum และ Low Volatility
- Contraction Cycle: Quality, Value และ Low Volatility
3) การทดสอบ Multi-Factor Rotation
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ Business Cycle ก่อนดังนั้น ผมขอใช้ LEI เป็นตัวคาดการ business cycle
Figure 5 conference-board.org – 9-Nov-2022
มาดูผลตอบแทนของแต่ละ Factor Index
Figure 6 MSCI 9-Nov-2022
- ทดสอบปี 2008 – Contraction กลยุทธ์การลงทุนของ Factor Investing ควรจะลงทุนใน Volatility / Value และ Quality เราลงมาดูผลตอบแทนปี 2008
- ทดสอบปี 2014 – 2015 – Slowdown กลยุทธ์การลงทุนของ Factor Investing ควรจะลงทุนใน Volatility / Momentum และ Quality เราลงมาดูผลตอบแทนปี 2014 และ 2015
- ทดสอบปี 2016-2017 – Expansion กลยุทธ์การลงทุนของ Factor Investing ควรจะลงทุนใน Growth/ Momentum และ Quality เราลงมาดูผลตอบแทนปี 2016 และ 2017
** จากผลทดสอบข้างบนเป็นผลทดสอบของผมเอง จะเห็นได้ว่า นักลงทุนสามารถใช้ Passive Index ชนะผลตอบแทนของตลาดได้ โดยปรับเปลี่ยน Factor Investing ไปตามสภาวะของตลาดหรือ Business Cycle แต่แม้จะไม่ชนะตลาดทุกปี แต่อย่างน้อยก็เป็น guideline ในการลงทุนได้
กลยุทธ์แบบ Factor Rotation ไม่ใช่เรื่องใหม่ ขอยกตัวอย่าง S&P Factor Rotator Index
จะเลือกแค่ 2 Factor ที่ดีที่สุดจาก S&P500 Factor คือ Quality , Enhanced Value , Momentum , S&P Economic Cycle Factor Rotator Index และ S&P Economic Cycle Factor Rotator Index โดยจะมีการ rebalance ทุกๆ เดือน
เรามาดู Performance กันบ้าง
Figure 7 จาก S&P Global วันที่ 30Nov2022
ผลตอบแทนเปรียบกับ S&P500 Index
WealthGuru