ป้องกัน Drawdown ด้วย Dual Momentum Strategy

ปี 2002 เกิด Dotcom Criss ดัชนี S&P500 ตกอย่างรุนแรงเกิด Max-Drawdown เกือบ -40%

ปี 2008 เกิด แฮมเบอร์เกอร์  crisis ดัชนี S&P500 ตกอย่างรุนแรงเกิด Max-Drawdown เกือบ -50%

ปี 2022 Fed ขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็วและแรง ทำให้ ดัชนี S&P ปรับตัวลงอย่างเร็ว เกิด Max-Drawdown เกือบ -24%

จะทำอย่างไรในการป้องกัน Drawdown ของพอร์ต ถ้ามี Criss เกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต

วันนี้ ผมขอแนะนำ Dual Momentum Strategy ที่คิดโดย Gary Antonacci

ป้องกัน Drawdown ด้วย Dual Momentum Strategy

Concept ของ Dual Momentum จะใช้ทั้ง Absolute Momentum และ Relative Momentum ในการเลือกสินทรัพย์ในการลงทุน  ผมได้ทำการทดสอบกับ  IVW (S&P500 Growth) และ IVE (S&P500 Value) โดยจะใช้ Absolute Momentum กรองชั้นแรก  ที่มีผลตอบแทนส่วนเกินติดลบมากกว่าเงินสด หลังจากนั้นก็เลือก ETF ที่มี Relative Momentum ที่ดีโดยจะเลือกถือแค่ 1 ตัวเท่านั้น  การทดสอบจะเริ่มตั้งแต่ปี 2001 ถึง 2022

ซึ่งผลที่ได้ก็คือ

Figure 1 จาก portfoliovisualizer.com วันที่ 23_nov_2022

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ผลตอบแทนแบบ Dual Momentum

ป้องกัน Drawdown ด้วย Dual Momentum Strategy

Figure 2 จาก portfoliovisualizer.com วันที่ 23_nov_2022

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

จากผลที่เห็น  ผลตอบแทนของ portfolio จะได้ Annual Return 6.16% ต่อปี  โดยเทียบกับ S&P500 จะได้ 7.05%  แม้ผลตอบแทนของ portfolio ไม่สามารถจะชนะ S&P500 ได้

แต่ถ้าดูความผันผวนของ portfolio จะอยู่ที่ 10.86%  โดยเทียบกับ S&P500 จะอยู่ที่ 15.36%   โดย max drawdown ของ portfolio จะอยู่ที่ -23.54% โดยเทียบกับ S&P500  อยู่ที่ -50.6%

แม้ผลตอบแทนของ portfolio จะไม่เท่ากับ S&P500 แต่ผลผันผวนและ Max drawdown จะน้อยกว่า S&P500 โดยเฉพาะ Max drawdown ลดลงไปว่าครึ่งหนึ่ง

กลยุทธ์ dual momentum จึงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ซึ่งลงทุนใน ETF โดยตรง

WealthGuru

TSF2024