ถึงเวลากระจายการลงทุนไปต่างประเทศหรือยัง?

พนักงานรายได้ประจำส่วนใหญ่ลงทุนแค่ LTF ซึ่งลงทุนแค่หุ้นไทย ในขณะที่ RMF ลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์

ผู้บริหารระดับสูงและผู้ประกอบหลายคนยังกล้าๆ กล้วๆ กับการลงทุนต่างประเทศ แต่มีคนอีกจำนวนมากที่เริ่มจะกระจายการลงทุนไปต่างประเทศแล้ว

ทำไมควรจะกระจายการลงทุนไปต่างประเทศ?

1) ช่วยกระจายความเสี่ยงได้

การลงทุนในประเทศอย่างเดียวมีความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงทางการเมือง หลังเลือกตั้งแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จะจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่

ความเสี่ยงกระจุกตัวในประเทศไทยมากเกินไป ถ้าเกิดเศรษฐกิจไทยเกิดวิกฤตการณ์ พอร์ตลงทุนของเราก็จะมีปัญหาไปด้วย

2) เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน

ต้องยอมรับครับว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นประเทศไทยอยู่ในระดับที่ดี แต่ปีที่ผ่านมา แม้จะไม่ได้ดีมากนักแต่ก็ไม่ได้เลวร้ายจนเกินไป แต่อย่างไรก็ตาม ปีต่อจากนี้อีกหลายปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นไทย จะไปต่อได้ระดับ 10-12% ต่อปีได้หรือไม่

เป็นสิ่งที่ตอบยาก เพราะ

  • หุ้นไทยก็ไม่ถูกและแพงจนเกินไป
  • ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ วัยแรงงานจะน้อยลงในอนาคต ซึ่งการจะมีผลต่อการพัฒนาประเทศได้
  • หุ้นนำตลาดของไทย ส่วนใหญ่เป็นหุ้นใหญ่ในยุค 3.0 ที่ผูกติดกับการบริโภคในประเทศ เช่น CPALL หรือ เป็นหุ้นที่เป็น commodity กำไรขึ้นลงตามตลาดโลก เช่น PTT

ไม่มีหุ้นที่จะขึ้นมาในยุค 4.0 ที่เป็นหุ้น Innovative และ Technology

ทางกลับกันถ้าไปดูหุ้นที่ต่างประเทศก็พบว่า มีหุ้นที่มี Innovative และ Technology ซึ่งสร้างรายได้จากทั่วโลก เช่น

ถ้าเป็นฝั่ง อเมริกา เช่น Facebook, Google, Apple, Microsoft

ถ้าเป็นฝั่ง จีน เช่น ไป่ตู้ (Baidu) อาลีบาบา และ เทนเซนต์ (Tencent)

จากรูปเปรียบเทียบจะยกตัวอย่าง กองทุน SET และกองทุนต่างประเทศ ภายใน 1 ปี และ 3 ปี

ถึงเวลากระจายการลงทุนไปต่างประเทศหรือยัง?

กองทุน TMB SET 50 (TMB50) จะเป็น Passive Fund ลงทุนใน SET50

ผลตอบแทน 1 ปี = -6.55%

ผลตอบแทน 3 ปี = 9.51%

กองทุน Wellington Global Quality Growth Fund ที่กองทุนแม่ของ TMBGQG

ผลตอบแทน 1 ปี = 9.11%

ผลตอบแทน 3 ปี = 18.21%

กองทุนแบบ Passive เน้นลงทุน MSCI World Index Fund

MSCI World Index Fund

ผลตอบแทน 1 ปี = 6.31%

ผลตอบแทน 3 ปี = 15.2%

ดังนั้นการไปลงทุนต่างประเทศก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้เรา

3) Platform การลงทุนมีให้เลือกมากมาย

ขึ้นอยู่กับความรู้การลงทุนและจำนวนเงินที่จะลงทุน เช่น

  • ลงทุนโดยตรง
  • กองทุนรวมที่ต่างประเทศโดยตรง
  • กองทุนส่วนบุคคลที่ต่างประเทศโดยตรง
  • กองทุนรวมในประเทศที่นำเงินไปลงทุนต่างประเทศ
  • กองทุนส่วนบุคคลในประเทศที่นำเงินไปลงทุนต่างประเทศ

4) ความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศ

  • ความเสี่ยงจากการเมือง
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

5) ควรจะเริ่มอย่างไร

  • กำหนดเป้าหมายการลงทุนในชัดเจน
  • จัดพอร์ตการลงทุนที่ผสมการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • เลือก platform การลงทุนในเหมาะสมกับตัวเอง โดยให้พิจารณาที่ ความรู้ในการลงทุน และจำนวนเงิน

FINNOMENA ได้มี Project “ลงทุนชั้นครู กับกูรูชั้นนำ”

ครั้งนี้… ฟินโนมีนาจับมือร่วมกับกูรูนักลงทุนชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย พัฒนาแนวคิดออกมาเป็นพอร์ตการลงทุนที่หลากหลาย รวมถึงการดูแลหลังการลงทุนที่จะคอยอัปเดทให้ท่าน เมื่อกูรูเจ้าของพอร์ตมีมุมมองที่เปลี่ยนไปอีกด้วย ดังนั้นท่านไม่จำเป็นต้องกังวัลในการจัดพอร์ตการลงทุน

มีพอร์ตการลงทุนหลัก 3 ประเภท

  • Tactical Allocation
  • Strategic Allocation
  • Focus Thematic

เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่

https://www.finnomena.com/guruport/

อย่ามีความกลัวในการลงทุนต่างประเทศจนเกินไป

โอกาสการลงทุนดีๆ มีอยู่ทั่วโลก

สมพจน์ พัดสุวรรณ
หนุ่ม
#wealthguru

TSF2024