ทุกสิ้นปีงบประมาณ ทุกบริษัทจะต้องมีจัดทำ งบการเงิน เพื่อจะส่งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบ งบการเงินจะนำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะทางการเงินผลการดำเนินงานของบริษัท งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

บริษัทจะต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไป นี้คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ ถ้างบการเงินไม่ดี จะจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้งบการเงินกลับมาดีในอนาคต

คนทำงานทุกคนก็เหมือนกับบริษัท มีรายได้ รายจ่าย ซื้อบ้านเป็นสินทรัพย์ กู้เงินเป็นหนี้สิน เราก็ควรจะมีการจัดทำงบการเงินส่วนบุคคลเพื่อที่เราจะรู้ว่า เราบริหารจัดการเงินเราได้ดีแค่ไหน เรามีความมั่งคั่งเท่าไร งบตัวแรกที่ทุกคนควรจะทำตอนสิ้นปี หรือ ทุก ๆ 6 เดือน คือ งบของความมั่งคั่ง หรือ งบดุลส่วนบุคคล มีอะไรบ้างในดูตามรูปข้างล่าง

ตัวอย่างเช่น

 แบ่งประเภทของสินทรัพย์ได้ดังนี้

  • สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ เงินสด
  • สินทรัพย์เพื่อการลงทุน เช่น กองทุน ตราสารประเภทต่างๆ เช่นหุ้น ตราสารหนี้ และ ประกันแบบออมทรัพย์และแบบควบการลงทุน (คิดมูลค่าเงินสด) ที่ดิน คอนโดให้เช่า(ที่ไม่ได้อยู่เอง)
  • สินทรัพย์ส่วนตัว เช่น บ้าน รถ เครื่องประดับ

 แบ่งประเภทของหนี้สิ้นได้ดังนี้

  • หนี้สินระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) เช่น หนี้บัตร credit   หนี้ผ่อนเครื่องใช้ต่างๆ
  • หนี้ระยะยาว เช่น บ้าน คอนโด รถ

หาความมั่งคั่งสุทธิจาก   สินทรัพย์รวม – หนี้สิน    

ที่สำคัญจะรู้ได้อย่างไรว่า สุขภาพทางการเงินของเราดี?

สามารถตรวจสอบได้ 3 หัวข้อใหญ่ดังนี้

โดยการตรวจสอบจะต้องใช้ข้อมูลจากงบรายรับรายจ่าย

สภาพคล่อง

  • สินทรัพย์สภาพคล่อง / หนี้สิ้นระยะสั้น จะต้องมากกว่า 1
  • สินทรัพย์สภาพคล่อง / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ควรจะมากกว่า 6

หนี้สิน

  • หนี้สินรวม / สินทรัพยรวม < 50%
  • รายจ่ายการชำระหนี้ / รายได้ต่อเดือน < 35%-45%

ความมั่งคั่ง

  • สินทรัพย์การลงทุน / (สินทรัพย์รวม – หนี้สิน)    > 50%

จงตรวจสอบฐานะการเงินของตัวเองทุกๆ 6 เดือน เพื่อดูว่า แนวโน้มของความมั่งคั่ง เพิ่มหรือลด และมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร เพื่อกำหนดแนวทางการปรับเปลี่ยนแผนการเงิน และพฤติกรรมในการบริหารเงิน

สมพจน์ พัดสุวรรณ
‪#‎wealthguru