คุณเคยมีคำถามเหล่านี้ติดอยู่ในใจหรือไม่…

จะทำอย่างไรให้การงานก้าวหน้า เงินเดือนขึ้นเยอะทุกๆ ปี ?
จะทำอย่างไร ให้การค้าขายมีแต่ความเจริญขึ้นๆ ไป ?
จะทำอย่างไร ให้ชีวิตประสบความสำเร็จในสิ่งที่เรารัก ?
จะทำอย่างไร พลิกฟื้นชีวิตจากก้นเหว ไปสู่ความสำเร็จ ?

…หลายคนวิ่งเข้าร่วมงานสัมมนานักพูดจากเมืองนอก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หลายคนวิ่งเข้าร่วมงานสัมมนานักธุรกิจจากเมืองนอก… เพื่อค้นหาว่า “อยากรวยจะต้องทำอย่างไร?” หรือเพื่อค้นหาว่า “อยากประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร?”

นี่คงเป็นคำถามของหลายๆ ท่าน ที่กำลังหาคำตอบให้กับตัวเอง บทความนี้เราจะนำพาให้ท่านได้พบกับพร 4 ประการ ที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ ถ้าใครสามารถทำตาม พร 4 ประการนี้ได้ ก็จะได้พบกับคำว่า “มั่งคั่งและมีความสุขอย่างแน่นอน”

พรข้อที่ 1 “ฉันทะ” …จงทำในสิ่งที่ใจรัก

ใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ คงเคยได้ยินคำว่า “มีฉันทะร่วมกัน” เสมือนสัญญาระหว่างกัน ว่าเราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ร่วมกัน “ฉันทะ” นั้น ไม่ใช่แปลว่าเป็นสัญญาภาษากระดาษเท่านั้น หากแต่เป็นสัญญาใจและเป็นใจที่ผูกพัน เป็นใจที่ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งนั้นอยู่เต็มเปี่ยม ขอเพียงแต่ให้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นๆให้ได้ด้วยความมุ่งมั่น ไม่ท้อถอยย่อมมีหนทางนำเราไปสู่ความสำเร็จได้เสมอ

การมีใจรัก ถือว่าสำคัญมาก แต่ก็มีใจรักอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้ร่ำรวย คุณจะต้องมีอีก 2 อย่างคือ…

  1. จะต้องเก่งในสิ่งที่รัก  ไม่ใช่ชอบทำอาหารแต่ก็ทำไม่อร่อย
  2. สิ่งที่รักและเก่ง จะต้องหาเงินได้  <– ข้อนี้สำคัญมากก!!!

จงตั้งคำถามกับตัวเองและตอบให้ได้ว่า

  • “ศรัทธาอะไรอยู่?”
  • “เชื่อเรื่องอะไร?”
  • “เรื่องที่เชื่อและศรัทธานั้น ตัวเองต้องเก่ง และ ต้องทำเงินด้วย”

พรข้อที่ 2 “วิริยะ” …ความมุ่งมั่นทุ่มเท 

เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจที่จะเรียนรู้และทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้นเรื่องนั้น ถ้าหากทำก็จะทำจนเชี่ยวชาญจนเป็นผู้รู้ ดังนั้น คำว่า “วิริยะ” จึงหมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูงที่จะทำตามฉันทะหรือศรัทธาของตัวเอง หากเราไม่มีความเพียรแล้วก็อนุมานได้ว่า เรามีฉันทะหลอกๆ หรือศรัทธาหลอกๆ วิริยะนี้มาคู่กับความอดทนอดกลั้น เป็นความรู้สึกไม่ย่อท้อต่อปัญหา และมีความหวังที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง โดยมีศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

หากถามว่า “ความวิริยะมันเกิดจากอะไร”
คำตอบก็คือ “เกิดจากศรัทธาหรือฉันทะนั่นเอง

จงตั้งคำถามกับตัวเองว่า

  • “มีความเพียรพยายามกับสิ่งที่ศรัทธาแค่ไหน?”
  • “มีความอดทนอดกลั้นกับสิ่งที่รักแค่ไหน?”
  • “ความเพียร เหมือนกับการวิ่งมาราธอน”
  • “ความเพียร ไม่เหมือนการวิ่งแบบเร่ง speed”
  • “ความเพียร เปรียบได้กับการใช้ความอดทนในการวิ่ง เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้”

พรข้อที่ 3 “จิตตะ” …จิตจดจ่อ

เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตามแต่ละคนมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำมากมาย ไม่รู้จะทำอะไรก่อน เวลาอ่านหนังสือก็คิดถึงงานที่รับผิดชอบ เวลาทำงานก็คิดว่าต้องอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบ ไม่สามารถมีจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ผลคือ ทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่างทำผิดๆถูกๆอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเรามีใจที่จดจ่อต่อสิ่งที่เราคิดเราทำและรับผิดชอบแล้ว ทุกอย่างก็จะดีขึ้นไปเอง ความรอบคอบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่รอบรู้ ดังนั้น การที่คนจะรอบรู้ได้ ก็ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้อยู่เป็นเนืองนิจ ประการสำคัญต้องฝึกตั้งคำถามกับตัวเองกับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราพร้อมกับค้นหาคำตอบให้ได้ การฝึกสนทนากับผู้รู้บ่อยๆ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อเราทำได้อย่างนี้แล้ว เราก็จะเป็นผู้ที่เข้าใกล้ความรอบรู้ไปโดยปริยาย

จงตั้งคำถามกับตัวเองว่า

  • “แต่ละวันจอจ่อกับเป้าหมายแค่ไหน?”
  • “แต่ละวันทำในสิ่งที่เป็นเป้าหมายแค่ไหน?”
  • “ยิ่ง focus มากแค่ไหน ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น”

พรข้อที่ 4 “วิมังสา” …การทบทวนในสิ่งที่ทำ

การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา อันเกิดจาก การมีใจรัก (ฉันทะ) แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) จึงนำไปสู่การทบทวนตัวเอง และทบทวนองค์กรหรือทบทวนกระบวนการ ทบทวนในสิ่งที่ได้คิดสิ่งได้ทำผ่านมาว่าเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเราเองและเป็นเรื่องที่ร่วมคิดร่วมทำกับคนอื่นเพื่อปรับปรุงปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น การทบทวนเรื่องราวจากภายในของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมากในการวิจัยและการพัฒนานั้นเรามักจะใช้คำว่า “สรุปบทเรียน” เป็นการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การสรุปบทเรียนนั้น คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า สรุปเมื่องานเดินทางมาได้ครึ่งทางหรือสิ้นสุดการทำงาน แต่จริงๆ แล้วการสรุปบทเรียนควรจะทำให้อย่างสม่ำเสมอ

จงพูดคุยกับตัวเองบ้าง… การที่เราคุยกับตัวเอง ด้วยสติ ความรู้เนื้อ รู้ตัว จะทำให้เรามองตัวเองชัดเจนขึ้น รู้ว่าขณะนี้ปัญหาของเราคืออะไร และจะแก้ไขยังไง เพราะธรรมชาติของคนเรา สายตาเราทอดมองออกไปข้างนอก ทำให้ไม่เห็นตัวเองและสิ่งใกล้ตัว

จงหมั่นตั้งคำถามกับตัวเองว่า

  • “สิ่งที่ทำในปัจจุบัน ทำให้บรรลุเป้าหมายของเราหรือไม่?”
  • “อะไรเป็นจุดอ่อน จุดแข็ง อะไรเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ที่ทำให้บรรลุเป้าหมายของเราหรือไม่?”

พร 4 ประการ ก็คือ อิทธิบาท 4 นั่นเอง!!!!

จึงมีความหมายกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเดินทางไปในสู่ความสำเร็จในชีวิตและการงาน “อิทธิบาท 4” ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวจากหลักธรรมข้ออื่นๆ อันเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงถึงกัน เพียงแต่อธิบายคนละบทบาทเท่านั้น

ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน ได้ทำใน สิ่งที่ใจรักใจชอบ สิ่งที่เราเก่ง สิ่งนั้นจะต้องทำเงินให้เราจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในสิ่งที่ทำ และในสิ่งที่ปรารถนากันถ้วนหน้า แล้วพบกันใหม่ครับ

เนื้อหาบ้างส่วน นำมาจาก thaifamilymental.blogspot.com

TSF2024