ระวังสะดุดก้อนหินล้ม ทำให้แผนเกษียณพังไปด้วย!!!

ทุกคนมีฝันและมีเป้าหมายทางการเงินแตกต่างกันไป เช่น คนมีลูกทุกคนอยากให้ลูกมีอนาคตดี ก็ยอมจ่ายแพงเพื่อจะให้ลูกเขาเรียนที่ดี บ้างคนอยากมีชีวิตเกษียณที่เป็นสุข มีเงินทองใช้จ่ายไม่ขาดมือพยายามเกษียณ เวลาเจ็บป่วย ก็มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ระหว่างทางเดินของชีวิตของคุณเรามันจะมีทั้งสุขและทุกข์ ผสมกันไป

ทางการของการเงินก็เช่นกัน ระหว่างที่คุณสะสมเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินเพื่อเกษียณของคุณอยู่นั้น คุณอาจเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เงินคุณหายไป เหตุการณ์ที่คุณไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด ทำให้แผนการเงินของคุณที่ฝันไว้ ไม่พบกับความสำเร็จที่คาดหวังไว้

เหตุการณ์อะไรบ้างละที่จะทำให้เงินเกษียณของคุณหายไป

1. ความเจ็บป่วยโรคร้ายแรง

เช่น โรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคกล้ามเนื้อเสื่อม หรือไตวาย โรคที่คุณไม่รู้จัก โรคเหล่านี้เกิดจากความผิดปกติของ DNA หรือการถ่ายถอดจากพ่อแม่ โรคพวกนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก หลายล้านบาท

2. ความเสียหายด้านสินทรัพย์

เช่นไฟไหม้บ้าน ไฟไหม้คลังสินค้า เร็วๆ มีลูกค้าของผมคนหนึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจ ไฟฟ้าร้านค้าที่มีคลังสินค้า เสียหายไป 30 ล้านบาท คนงาน 2 คนต้องเข้าโรงพยาบาล ธุรกิจที่วางแผนว่าจะขยายต้องหยุดชะงัก แม้ว่าเขาจะมีประกันไฟ แต่ก็เก่ามากไม่ได้กลับมาทบทวนว่า เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือไม่

3. อุบัติเหตุ

เช่น รถชน ทำให้สินทรัพย์และชีวิตเสียหาย ทำให้คุณจะต้องเสียเงินเพื่อรักษาตัว หรือ อาจจะร้ายแรงถึงเป็นทุพพลภาพ

ดังนั้นถ้าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดกับคุณ เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้เงินของคุณหายไป จะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เกิดขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ เราเรียกว่า ความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่คุณจะต้องพบเจอ ชีวิตของคุณเจอความเสี่ยงตลอดเวลาจะมากหรือน้อย ขึ้นกับการใช้ชีวิตของคุณ

 ผมมีแนวคิดในการจัดการเหตุการณ์เหล่านี้ทางการเงินดังนี้

  • อย่ายอมให้แผนการเงินปราศจากแผนปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection)
  • โอกาสเหตุการณ์เหล่านี้ เกิดน้อย แต่กระทบกับการเงินของคุณเยอะให้รีบป้องกันความเสี่ยงก่อน เช่น เหตุการณ์อะไรที่โอกาสเกิดน้อยแต่ผลกระทบเยอะ อย่าง มะเร็ง โรคร้ายแรง อุบัติเหตุแล้วเป็นทุพพลภาพ หรือเหตุการณ์อะไรที่โอกาสมากแต่ผลกระทบน้อย เช่น เป็นหวัด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงและป้องกันความเสี่ยงนั้น เช่น มั่นตรวจสอบระบบระบบไฟฟ้าภายในบ้านและติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
  • จัดการโอนความเสี่ยงให้ประกันเป็นคนรับผิดชอบความเสียหาย ความเสี่ยงยังคงอยู่ที่คุณแต่ความรับผิดชอบความเสียหายอยู่ที่คนอื่น

ความประมาทเป็นหนทางของความตาย แต่ความประมาททางการเงิน ไม่จัดการความเสี่ยง เป็นหนทางของความจน

สมพจน์ พัดสุวรรณ
‪#‎wealthguru