บทความ “ธรรมะ 5 ข้อเพื่อการลงทุนอย่างมีความสุข” เป็นซีรี่ย์บทความทั้งหมด 5 ตอน ตอนที่หนึ่งนี้จะขอมาพูดถึง ธรรมะข้อที่หนึ่ง คือ อิทธิบาท 4 กระบวนการสร้างความสำเร็จ เป็นอย่างไรมาเริ่มกันเลย
ข้อที่ 1 อิทธิบาท 4 กระบวนการสร้างความสำเร็จ
จะทำอย่างไร ให้ผลตอบแทนของการลงทุนดี?
จะทำอย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จในการลงทุน ?
นักลงทุนทั่วไปคงคือว่า คนที่ประสบความในการลงทุน จะต้องเป็นคนฉลาด มี IQ ดี มีความรู้มากมาย มีเทคนิคอันซับซ้อน หรือเข้าใจว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ก็มีลักษณะคล้ายกับคนที่ประสบความสำเร็จในสาขาอื่นๆ คือ มี EQ สูง หรือ ผมข้อใช้คำว่า Key ของความสำเร็จ เกิดจาก 80% มาจากทัศคติ 20% มาจากความฉลาด
และธรรมะเป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างทัศคติ
ผมได้มีโอกาศไป วิปัสสนากรรมฐาน 10 วัน ได้รับรู้ธรรมะหลายข้อ ผมขอเลือก ธรรมะ 5 ข้อ ที่คิดว่าจะทำให้นักลงทุน ลงทุนอย่างมีความสุข
บทความนี้ จะเป็นธรรมะ ข้อที่ 1 อิทธิบาท 4 กระบวนการสร้างความสำเร็จ
อิทธิบาท 4 ข้อที่ 1 “ฉันทะ” …จงทำในสิ่งที่ใจรัก
ใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ
ขอเพียงแต่ให้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นๆให้ได้ด้วยความมุ่งมั่น
การมีใจรัก ถือว่าสำคัญมาก แต่ก็มีใจรักอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้ร่ำรวย คุณจะต้องมีอีก 2 อย่างคือ…
- จะต้องเก่งในสิ่งที่รัก
- สิ่งที่รักและเก่ง จะต้องหาเงินได้
นักลงทุน จงตั้งคำถามกับตัวเองและตอบให้ได้ว่า
- ชอบการบริหารจัดการเงิน จริงหรือไม่
- ชอบการลงทุน จริงหรือไม่
- ชอบเก็บเงิน ออมเงิน เห็นค่าของเงิน อยากให้เงินงอกเงย จริงหรือไม่
- มาลงทุนในตลาดหุ้นเพียงอยากหาความตื่นเต้น
คุณต้องรักการลงทุน คุณถึงจะประสบความสำเร็จ
อิทธิบาท 4 ข้อที่ 2 “วิริยะ” …ความมุ่งมั่นทุ่มเท
เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจที่จะเรียนรู้และทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้นเรื่องนั้น ถ้าหากทำก็จะทำจนเชี่ยวชาญจนเป็นผู้รู้
ดังนั้น คำว่า “วิริยะ” จึงหมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูงที่จะทำตามฉันทะหรือศรัทธาของตัวเอง
นักลงทุน จงตั้งคำถามกับตัวเองและตอบให้ได้ว่า
- “มีความเพียรพยายามกับการลงทุนแค่ไหน?”
- “มีความอดทนอดกลั้นกับข้อผิดพลาดและผิดหวังไหมเวลาลงทุน?”
“ความเพียร เหมือนกับการวิ่งมาราธอน”
“ความเพียร ไม่เหมือนการวิ่งแบบเร่ง speed”
“ความเพียร เปรียบได้กับการใช้ความอดทนในการวิ่ง เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้”
อิทธิบาท 4 ข้อที่ 3 “จิตตะ” …จิตจดจ่อ
เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตาม แต่ละคนมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำมากมาย ไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลังดี แต่ถ้าเรามีใจที่จดจ่อต่อสิ่งที่เราคิดเราทำและรับผิดชอบแล้ว เราจะให้ความสำคัญต่อเป้าหมายก่อนสิ่งอื่น
นักลงทุน จงตั้งคำถามกับตัวเองและตอบให้ได้ว่า
- “แต่ละวันจอจ่อกับเป้าหมายแค่ไหน?”
- “แต่ละวัน ได้จดจ่อกับการเรียนรู้การลงทุนแค่ไหน?”
“ยิ่ง focus มากแค่ไหน ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น”
อิทธิบาท 4 ข้อที่ 4 “วิมังสา” …การทบทวนในสิ่งที่ทำ
การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา อันเกิดจาก การมีใจรัก (ฉันทะ)
แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ)
อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ)
จึงนำไปสู่การทบทวนตัวเอง ทบทวนในสิ่งที่ได้คิดสิ่งได้ทำผ่านมาว่าเกิดผลดีผลเสียอย่างไร
“สรุปบทเรียน” เป็นการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า สรุปเมื่องานเดินทางมาได้ครึ่งทางหรือสิ้นสุดการทำงาน แต่จริงๆ แล้วการสรุปบทเรียนควรจะทำให้อย่างสม่ำเสมอ
นักลงทุน จงตั้งคำถามกับตัวเองและตอบให้ได้ว่า
“อะไรเป็นจุดอ่อน จุดแข็ง อะไรเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาในการลงทุน ที่ทำให้บรรลุเป้าหมายของเราหรือไม่?”
อิทธิบาท 4 คือ ธรรมะ ข้อแรก เพื่อการลงทุนอย่างมีความสุขจริงแรกที่นักลงทุนควรจะสำรวจตัวเองก่อนคือ
รักการลงทุนจริงๆๆ ใช่ไหม
ถ้ารักการลงทุนจริงๆ เพียรพยายามกับการลงทุนมากพอหรือยัง
ถ้าเพียรพยายามมาก จดจ่อกับการลงทันมากพอหรือยัง
ถ้าจดจ่อแล้ว ทบทวนความผิดพลาด มีแผนปรับปรุงการลงทุนหรือยัง
ถ้ามีอิทธิบาท 4 ครบ ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนอย่างมีความสุข
สมพจน์ พัดสุวรรณ
Wealthguru