วิธีใช้เงินผิดพลาด นำมาสู่ความจน มาดูกันว่ามีความคิดแบบไหนบ้าง?
ครั้งก่อนได้นำเสนอไปแล้ว 5 ข้อ ไปทบทวนกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว https://www.finnomena.com/wealthguru/10-poor-myths-ep1/ ที่ได้นำเสนอไปคราวก่อน ครั้งนี้ขอมาต่อกันที่ 5 ข้อหลังครับ
6) ยิ่งเสี่ยง รวยเร็วดี
ลงทุนใน bitcoin ดีกว่า ยิ่งเสี่ยง รวยเร็วดี !!!
High Risk High Return คำนี้มักจะเป็นคำพูดติดหูคนทั่วไป แต่จะมีน้อยคนที่จะเข้าใจความหมาย คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การลงทุนที่เสี่ยงสูงจะได้ผลตอบแทนที่สูงด้วย แต่แท้จริงแล้ว การที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ได้หมายความว่า การลงทุนจะได้ผลตอบแทนที่สูงเสมอไป ความจริงแล้ว ยิ่งเสี่ยงสูง ยิ่งมีโอกาสขาดทุนได้สูง ดังนั้น การจะลงทุนอะไรที่เสี่ยงสูง จะต้องมีความเข้าใจอย่างละเอียด ถ่อแท้ก่อนที่จะลงทุน
7) ลงทุนหุ้นตัวนี้ดีไหม ลงทุนกองทุนนี้ดีไหม
เป็นคำถามยอดฮิตของคนที่อยากจะลงทุน แต่กลับเรียงลำดับการถามเพื่อการลงทุนผิด
คนส่วนใหญ่จะถามถึง “สินทรัพย์อะไรที่จะลงทุน” แต่สิ่งที่ควรจะถามตัวเองก่อนคือ “อะไรคือเป้าหมายในการลงทุน”
ต้องการเกษียณอายุ
ต้องการเก็บเพื่อการศึกษาบุตร
ต้องการเก็บเงินแค่ชนะเงินเฟ้อ เพื่อการใช้จ่ายอีก 2 ปีข้างหน้า
ลำดับต่อมานอกจากเป้าหมายแล้วคือ “การจัดพอร์ตเพื่อกระจายการลงทุน” แล้วจึงค่อยเลือกกองทุน หรือ หุ้น เป็นลำดับสุดท้าย
จงติดกระดุกเม็ดแรกให้ถูก
8) ไม่ขายไม่ขาดทุน
หลายคนติดดอยหุ้น ติดลบเกือบ 30% ก็ยังทนถือหุ้น โดยตั้งความหวังที่หุ้นจะกลับมาจุดเดิม ส่วนใหญ่เกิดจากอคติที่เรียกว่า Loss Aversion Bias หรือ การกลัวการขาดทุน
ติดลบหุ้นอยู่ 30% ความจริงมันเป็น Sunk Cost ไปแล้ว…
Sunk Cost คือ ต้นทุนที่เราจ่ายไปแล้วในอดีต และไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคตเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ก็ไม่สามารถเรียกต้นทุนส่วนนั้นคืนมาได้
Sunk Cost ทำให้เกิดความเสียดาย ไม่อยากจะขาย ทั้ง ๆ ที่หุ้นที่เราถืออาจจะไม่มีอนาคตแล้ว
9) ราคาหุ้นนี้แพงไปแล้ว แต่ก่อนแค่ 10 บาทเอง
หุ้นจาก 10 บาทตอนนี้ เป็น 15 บาท ขึ้นมาเยอะแล้ว แพงจัง…
นักวิเคราะห์ให้เป้าหมายราคาหุ้นไว้ที่ 15 บาท ตอนนี้ หุ้นราคา 10 บาท โหเหลือ upside เยอะ…
2 เหตุการณ์นี้ เป็นอาการแบบที่เรียกว่า Anchoring bias … เป็นตัวเลขที่เราเห็นเหมือนสมอเรือถ่วงให้เรายึดติดกับราคาหุ้นในอดีต คิดว่าแพงเกินไป ไม่ได้ตัดสินใจโดยใช้หลักการที่ถูกต้อง หุ้นอาจจะปรับตัวขึ้นไปได้อีก ถ้าหุ้นมีการเติบโต
Anchoring bias ยังหมายถึงการยึดติดกับราคาที่นักวิเคราะห์บอกไว้ ซึ่งอาจจะไม่ได้ไปถึงก็ได้ อาการนี้อาจจะทำให้ขาดทุน หรือ พลาดโอกาสได้
10) นักลงทุนที่ดีต้องถือหุ้นระยะนาน
หลายคนคงได้รับการบอกเล่าว่า “ต้องถือหุ้นให้นาน”
หลายคนเข้าใจไปว่า “ยิ่งถือหุ้นนาน ยิ่งไม่ขาดทุน”
หลายคนพอหุ้นตกก็ยิ่งเฉลี่ยซื้อ เพราะคิดว่า “เราถือนาน ไม่ขาดทุน”
หลายคนเข้าใจว่า “ถือหุ้นนาน = ลงทุนระยะยาว”
การเข้าใจแบบนี้ทำให้ขาดทุนและติดดอยมาเยอะมา
การลงทุนระยะยาว ไม่เท่ากับ ถือหุ้นนาน ดังนั้นการถือนาน ระยะยาว คุณจะต้องทำการบ้าน โดยเฉพาะพื้นฐานของหุ้น ไม่ใช่หลับหูหลับตามถือนานๆๆ ที่สำคัญราคาหุ้นถ้า overvalue ก็สามารถขายทำกำไรได้
Businesses มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ราคาหุ้นก็เช่นกัน ถือนานไม่ได้หมายถึงจะมีกำไรเสมอไป
ส่งท้าย: ความมั่งคั่ง คือ จะต้องมีเงินมากๆ??
หลายคนคิดว่าการมีเงินจำนวนมาก จะทำให้พบกับคำว่า อิสรภาพทางการเงิน แต่ลองสังเกตดูนะครับ ทำไมหลายคนแม้ว่าจะมีเงินเยอะ กลับมิได้รู้สึกถึงคำว่าความมั่งคั่งเลย
และทำไมอีกหลายคนแม้จะมีเงินไม่เยอะ แต่กลับรู้สึกได้ถึงคำว่า ความมั่งคั่ง (Wealth)
แท้จริงแล้ว ความมั่งคั่ง (Wealth) ไม่ได้หมายถึงเงินอย่างเดียว แต่ความมั่งคั่งมีถึง 6 ประเภท ได้แก่
-Physical Wealth คือ ความมั่งคั่งด้านสุขภาพร่างกาย
-Emotional Wealth คือ ความมั่งคั่งทางอารมณ์
-The Wealth of Relationships คือ ความมั่งคั่งด้านความสัมพันธ์
-The Wealth of Time คือ ความมั่งคั่งด้านเวลา
-The Wealth of Mission คือ ความมั่งคั่งด้านภารกิจ
-Financial Wealth คือ ความมั่งคั่งทางการเงิน
อ่านรายละเอียดได้ที่ https://www.finnomena.com/wealthguru/6-things-better-than-financial-freedom/
และทั้งหมดนี้คือ 5 มายาคติ รวมกับบทความก่อนก็เป็น 10 มายาคติที่จะทำให้คุณยังจนต่อไป ใครรู้ตัวว่ายังเป็นแบบไหนอยู่ก็รีบปรับแก้นะครับ
WealthGuru
ติดตาม WealthGuru ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/wealthguruconsulting
เริ่มลงทุนเพื่อเกษียณด้วยพอร์ตลงทุนแบบ Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถดูรายละเอียดและลงชื่อรับบริการได้ที่นี่
https://www.finnomena.com/port/wealthguru/