ปัญหา Supply Shortage ที่แก้ไม่ตก
การระบาดของไวรัสในปี 2020 ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมหลายบริษัทต้องปิดตัวลง ในขณะที่หลายแห่งทยอยเลิกจ้างพนักงานและลดกำลังการผลิตเพราะยอดคำสั่งซื้อที่น้อยลงจากการล็อกดาวน์
พอสถานการณ์เริ่มดีขึ้นจากการเร่งฉีดวัคซีน ส่งผลให้ Demand หรือความต้องการชอปของคนเริ่มขยับสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศฝั่งตะวันตกที่ฟื้นตัวก่อนใคร
สวนทางกับ Supply Chain ในเอเชียที่ฟื้นช้ากว่า เนื่องจากต้องรอคิววัคซีน กระทบทั้งโรงงานและผู้จัดจำหน่ายสินค้าไม่สามารถส่งมอบของตามคำสั่งซื้อได้
ปัญหาอาจทวีความรุนแรงขึ้นอีกจากสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น
  1. การขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าของจีนที่กระทบไปทั้งโลก ล่าสุดแมกนีเซียมซึ่ง 85% ของกำลังการผลิตอยู่ในจีนกำลังขาดแคลนมาก และมีแนวโน้มจะกระทบต่อกันเป็นทอด ๆ เพราะเป็นวัสดุที่เราใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป ตั้งแต่กระป๋องเครื่องดื่มจนไปถึงวัสดุประกอบเครื่องบินและยานอวกาศ รวมถึงธุรกิจยานยนต์ที่ใช้งานราว 35% ของกำลังการผลิตรวม
  2. ในหลาย ๆ ประเทศต้องการ Vaccine Passport ให้เฉพาะคนที่ฉีดวัคซีนแล้วเข้ามาทำงานเท่านั้น แต่แรงงานค่าแรงต่ำจำนวนมากมาจากประเทศยากจนและยังไม่ได้รับวัคซีนมากนัก จึงไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ ตัวอย่างเช่น หลัง Brexit อังกฤษ มีการข้ามมาทำงานของแรงงานลดลง ทำให้คนงานขาดแคลนทั้งท่าเรือและคนส่งของ
  3. ชิปขาดแคลนหนัก กระทบการส่งมอบ iPhone 13 และสินค้าจำนวนมาก
Supply Shortage จะสะท้อนออกมาในตัวเลข GDP ที่ต่ำกว่าคาดการณ์ หรือผลประกอบการบริษัทต่าง ๆ ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้นโดยเฉพาะบริษัทที่เดิมมี Margin ต่ำอยู่เเล้วอาจจะพลิกเป็นขาดทุนได้เลย
ทั้งนี้ปัญหา Supply Shortage ไม่ได้ส่งผลเสียเสมอไป กลับเป็นการเร่งให้โรงงานและบรรดาผู้ผลิตหันมาพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีกันมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาแรงงานและลดต้นทุนการดำเนินการของบริษัทในระยะยาว
BottomLiner
TSF2024