วันนี้จะเล่าประวัติหนึ่งในบริษัทจีนที่น่าจับตาที่สุดในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ที่ไม่ใช่ Tencent (เจ้าของ WeChat) หรือ Alibaba แต่เป็นผู้ผลิตสินค้าถูกและดี ใกล้ตัวจนคนทั่วไปมองข้าม…
ก็คือ Xiaomi นั้นเอง ! แบรนด์ที่ขายตั้งแต่มือถือยันตู้ปลา !!
บริษัทอะไร สินค้าออกใหม่ได้ทุกวัน !!
เราไปรู้จัก “เหล่ย จุน (Lei Jun)” ผู้นำ Xiaomi กันหน่อย ว่าเขามีแผนการจะครองโลกได้ยังไง
เหลย จุน (Lei Jun) ผู้ก่อตั้งบริษัท Xiaomi เมื่อปี 2010 ร่วมกับอดีตวิศวกรของ Google และ Motorola โดยเขาตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจนว่าจะทำสินค้าเทคโนโลยีคุณภาพดีในราคาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ (ช่วงนั้นมีแต่ Smartphone ราคาแพงของฝั่งตะวันตก)
ภายหลังการวางจำหน่ายรุ่นแรก Xiaomi สร้างความฮือฮาเมื่อมือถือราคา 1 หมื่นบาทมีคุณภาพไม่ห่างจากแบรนด์ใหญ่มากนัก ส่งผลให้เกิดยอดจอง 3 แสนเครื่องในเวลา 34 ชั่วโมงแรก สื่อจึงยกย่องให้เป็น Steve Jobs แดนมังกร
เมื่อแผนการชัดเจนว่าจะมุ่งไปในการผลิตสินค้าดีราคาถูก ส่งผลให้มือถือรุ่นต่อมาสร้างยอดขายถล่มทลาย เหลย จุน เริ่มพาบริษัทบุกตลาดต่างประเทศในปี 2014 ส่งออกมือถือมายังกลุ่มประเทศอาเซียน (ไทยด้วย)
โดยมีเป้าหมายหลักคืออินเดียที่มีประชากร 1 พันล้านคน
จึงออกแบรนด์ลูก Redmi กดราคามือถือให้เหลือเพียง 3 พันบาท สอดคล้องความต้องการคนอินเดีย เนื่องจากรายได้ประชากรยังน้อยเกินกว่าจะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยได้
บริษัทใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปีก็สามารถเบียด Samsung ตกเวทีก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ในอินเดีย
และใช้กลยุทธ์เดียวกันเลยเจาะตลาดที่มีประชากรมากอย่าง อินโดนีเซียและบังกลาเทศ แม้กำไรจะน้อยแต่อาศัยยอดขายเครื่องมากเข้าแลก
แต่บริษัทไม่ได้ทำแต่สินค้าราคาถูก มีการผสมสินค้า High End เข้าไปด้วย อย่างโทรศัพท์มือถือ Mi Series (Mi 10 รุ่นล่าสุด ราคาเปิดตัว 28,000 บาท) ใช้การดีไซน์และ R&D ขั้นสูงผลิตสินค้ามาชน iPhone กับ Samsung และผลลัพธ์ก็ออกมาน่าทึ่งอีกครั้ง บริษัทสร้างยอดขายเป็นอันดับ 1 ในสเปน และเป็นอันดับ 4 ในฝั่งยุโรปตะวันตก จับกลุ่มตลาดประเทศพัฒนาแล้วซึ่งประชากรมีกำลังซื้อสูงมากได้อยู่หมัด
พี่ เหลย ของเรา ยังมองไกลกว่านั้น เขาเชื่อว่าผู้ผลิตจีนจำนวนมากสามารถสร้างสินค้าดีราคาถูกได้เช่นกันแต่ขาดการยอมรับจากต่างประเทศ (ส่วนใหญ่คือถูกแต่พังง่าย) เขาจึงเกิดไอเดียว่าถ้าหามาตรฐานรองรับให้สินค้าอื่น จะช่วยให้สามารถบุกตลาดต่างประเทศง่ายขึ้น แต่มันควรใช้อะไรดี …
คิดออกไหม?
แบรนด์ Xiaomi นี้ไง ! มันได้รับการยอมรับไปแล้ว !!
ประกายไอเดียง่าย ๆ แค่นี้ ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ขึ้นทันที Xiaomi จะคัดเลือกสินค้าคุณภาพดีจากผู้ผลิต แปะแบรนด์ตัวเอง และขอเก็บส่วนแบ่งกำไร รวมถึงขอหุ้นในบริษัทของผู้ผลิตสินค้านั้นด้วย !! (ตัวอย่างคือ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Xiaomi Roborock สร้างโดยบริษัท Roborock ที่พึ่ง IPO เข้าตลาดหุ้นจีนไป) เท่ากับว่าแทบไม่ได้ลงทุนอะไรใหม่แต่เกิดแหล่งรายได้มหาศาล และนี่คือสิ่งที่ทีมลงทุนของเราชอบมาก ขายตั้งแต่มือถือยันตู้ปลาก็ไม่กลัว !! ขอครองโลกแล้ว
BottomLiners
ที่มาบทความ https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/photos/a.1403073523041111/3647110411970733