ถ้าพูดกันตรงๆหุ้น Solar มี 2 แบบจริงๆ คือ หุ้นที่ทำด้านพลังงานทดแทนอยู่แล้ว กับหุ้นที่หันมาทำพลังงานทดแทน
พูดกันแบบตรงเข้าไปอีก หุ้นที่หันมาทำพลังงานทดแทนนั้นยังหาสวยๆไม่เจอสักตัว มีแค่ 2 แบบ คือ หุ้นที่ขึ้นแล้วลง กับหุ้นที่ขึ้นแล้วแช่ ไม่สามารถเติบโตเป็น Super Stock ได้อย่างหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นๆ
หุ้นขึ้นแล้วแช่ เช่น SPCG หรือตัวที่ผสมๆก็อย่าง GULF BCP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นกองทุนถือ
หุ้นขึ้นแล้วลง … ถ้าพูดจริงๆก็เกือบทุกตัว โดยเฉพาะพวกที่บูมสัก 5 ปีก่อน เช่น EVER DEMCO IFEC TSE มาวันนี้ชัดเจนมากก็คือ SUPER นั่นเอง ส่วน EA ยังต้องจับตาดีๆ ว่าจะจบเช่นไร เพราะเค้าเริ่ม Diversify ธุรกิจออกไปบ้าง
เพราะอะไร? จึงไม่เป็น Super Stock เป็นเพียงหุ้นที่วิ่งหวือหวาชั่วคราว
ผมขอไม่เอ่ยถึงเกมส์หุ้นของตลาดหุ้นไทย ที่มีมากกว่าทฤษฎี แม้นั่น “อาจจะ” เป็นเหตุผลหลักๆขับเคลื่อนราคา
แต่วันนี้เรามาพูดถึง “อนาคต” ของธุรกิจพลังงานทดแทนดีกว่า เพราะว่าถ้าของมันดีจริงใครจะปล่อยทิ้ง
เหตุผลคือ เพราะค่าไฟที่รัฐจะรับซื้อนั้น “ลดลง” เรื่อยๆ สวนทางกับค่า ft ที่เก็บตังจากชาวบ้าน สาเหตุหลักๆเป็นเพราะ
เรามีพลังงานสำรองมากเกินไป ในระดับที่เกิน 30% ไปจนถึงปี 2570 กันเลยทีเดียว
แน่นอนเมื่อพลังงานสำรองมาก ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อบำรุงรักษา และเพิ่ม Grid จ่ายไฟฟ้า ดังนั้นค่าใช้พวกนั้นเองถูกผลักไปที่ผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็ต้องลดต้นทุนลง จึงไปกดค่าไฟที่รับซื้อจากโรงไฟฟ้า ซึ่ง supply ล้น จากการแจกใบอนุญาตอันล้นหลามในช่วงหลายปีก่อน
เมื่อมีคนอยากทำเยอะ หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ จึงไม่จำเป็นต้องแจก “adder” หรือเงินฟรีๆ ที่เอาไว้ดึงดูดให้คนมาลงทุนทำ Solar Farm เช่นเคย ซึ่งจริงๆแล้วหุ้นชุดแรกนั้นที่ในงบบัญชี ดูมีกำไรได้ หลักๆมาจากค่า adder ทั้งนั้นครับ
ซ้ำร้ายไปอีก ราคาน้ำมันก็ลดลงจากระดับ $100 ต่อบาร์เรล ลงมา แม้วันนี้จะเด้งขึ้นมาแถว $80 ต่อบาร์เรล หรือน้ำมันที่เราเติมที่ปั๊มจะแพง แต่มันก็แสดงให้เห็นแล้วว่าน้ำมันไม่ได้จะแพงขึ้นเรื่อยๆอย่างที่เคยคิดกันมาก่อน
คราวนี้มาแตะเรื่องที่เราควรรู้แบบง่ายๆกันบ้าง ก็คือ หุ้น Solar Farm ส่วนมากจะประมาณได้คร่าวๆเลยว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ เนื่องจากสัญญานั้นกำหนดไว้แล้วว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ กี่ปี เราสามารถคำนวนหักค่า maintenance ได้
อายุเฉลี่ยของแผง Solar ก็อยู่ประมาณ 20-30 ปี ที่ใช้กันในท้องตลาด
แต่สัญญานั้นไม่ได้ยาวครบ 20-30 ปี … บ้างสัญญายาว 25 ปี แต่ adder 10 ปี หรือ ได้สัญญายาว 10-15 ปี … และต้องไปต่อสัญญาใหม่ๆ ที่ค่าไฟนั้นถูกลง adder นั้นไม่มี แล้วอีก 10-15 ปีที่เหลือล่ะ? จะคุ้มทุนได้อย่างไร?
สรุปก็คือ ต่อให้ได้ใช้แผง Solar จนครบอายุสัญญา สุดท้ายแล้วธุรกิจนี้อาจจะไม่กำไรก้ได้
เพราะรายได้มันลดลง ไม่เป็นไปตามที่คิดเอาไว้ตอนเริ่มโครงการ ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการ Maintenance หรือมีเหตุขัดข้องพิเศษต่างๆที่จะทำให้การดำเนินงานชะงัก สูญเสียรายได้ บริษัทจึงต้องล็อคงานในมือให้ได้ก่อนหมดเวลา พลาดทีรอเป็นปี
เลวร้ายไปกว่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาสำหรับหลายๆตัวคือ ไม่ได้งานหรือยังคงต่อคิวเพื่อรับงาน หรือติดข้ออ้างสารพัดที่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่กล่าวไปตอนแรกเพราะ Supply ล้น แต่ Grid นั้นเต็ม ผู้เล่นหลายรายจำต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน เช่นซื้อโรงแรม …. แล้วผลลัพธ์มันจะเท่ากันหรือ? แล้วที่ลงทุนไปก่อนหน้า หรือไปเทคฯเขามา PE จะยืนได้อย่างไร ถ้า EPS ไม่มาตามนัด
แน่นอนว่าผลร้ายนี้จะกระทบมาที่ผู้ถือหุ้นแน่นอน เม่าๆอย่างเราๆก็ตายเกลื่อนครับ
ยังไม่รวมถึงเกมส์การสร้างข่าว ทำราคา กันในตลาดหุ้น ที่แสนซับซ้อน ดังเช่นที่ หุ้นบางตัว เคยทำ
สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปก็คือ
SUPER เขาได้สัญญาไฟต่อรึเปล่า? ขยายได้ตามเป้ารึเปล่า? ข้อมูล public ที่เรามีกันตอนนี้มีเพียง ผู้ถือหุ้นใหญ่ ขายหุ้น เมื่อไม่นานมาแล้ว แต่สิ่งที่ชัดเจนคือมีคนรู้ข้อมูลก่อนแล้วเทขาย หุ้นจึงอยู่ในสภาพแบบนี้
ส่วนหุ้น Solar Farm ตัวอื่นๆ จะเติบโตไปด้วยกำไรจากการขายไฟอย่างเดียว ก็ตามสภาพครับ ลองเปิดไล่ดูทีละตัวก็ได้ ว่าหนืดกันมากี่ปีแล้ว อนาคต ก็อยู่ที่ความสามารถในการลดต้นทุน และขยับขยายธุรกิจไปในด้านอื่นๆบ้าง เอาดีแต่ขายไฟ คงจะไม่รอด และถ้าสังเกตให้ดีมีหลายตัวที่เริ่มผันไปแล้วครับ
#BottomLiner
—
ติดตามบทความใหม่ๆจาก BottomLiner ก่อนใคร กันได้ที่ https://www.facebook.com/bottomliner/
—————————-
Vithan Minaphinant
Securities Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด
ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได