กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5% กำลังสื่อนัยอะไรต่อเศรษฐกิจ? และ New Neutral ที่ดอกเบี้ยระดับใกล้ 0% คือสิ่งที่ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องทำต่อไป

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 โดยคณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.75% เป็น 0.50% ต่อปี ซึ่งถือเป็น New Low Record หรือจุดต่ำสุดใหม่ตั้งแต่ประเทศไทยมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมา

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5% กำลังสื่อนัยอะไรต่อเศรษฐกิจ? และ New Neutral ที่ดอกเบี้ยระดับใกล้ 0% คือสิ่งที่ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องทำต่อไป

Source : Bloomberg as of 20/05/2020

Key Message

การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรงกว่าที่คาดและผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบกว่าที่ประเมินไว้ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น การท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามากกว่าคาด ขณะที่อุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวกว่าที่ประเมินไว้จากการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี มาตรการการเงินการคลังจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของครัวเรือนและธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวได้ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 มีแนวโน้มติดลบมากกว่าที่คาดตามราคาพลังงานที่ลดลงเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องและนี้เป็นสาระสำคัญบางส่วนจากการประชุมครั้งล่าสุด

มุมมองของเรา..การลดดอกเบี้ยครั้งนี้สื่อถึงอะไร?

หากไปดูเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 2020 หดตัวที่ -1.8% (YoY) เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปี 2019 นับเป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 1/2014 และหดตัวมากที่สุดตั้งแต่ไตรมาส 4/2011

โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา หดตัว -2.2% (QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และหากเทียบแบบ (QoQ) หรือเทียบไตรมาสปัจจุบันกับไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคแล้วหรือ (Technical Recession)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5% กำลังสื่อนัยอะไรต่อเศรษฐกิจ? และ New Neutral ที่ดอกเบี้ยระดับใกล้ 0% คือสิ่งที่ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องทำต่อไป

Source : Bloomberg as of 20/05/2020

ถึงแม้ว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้เศรษฐกิจไทยจะหดตัวน้อยกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ แต่โดยรวมแล้วยังถือว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ผลกระทบหลักอยู่ที่เดือนมีนาคม แต่สำหรับไตรมาสที่สองของปีนี้ผลกระทบจะโดนแบบเต็มไตรมาส ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบเชิงรุก (Proactive) สะท้อนว่า ต้องการลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่อาจหดตัวรุนแรงในไตรมาสที่ 2 และหากไปดูค่าเงินบาท ที่ต้นปีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 30 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าเกือบถึง 33 บาท/ดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงช่วงต้นเดือนเมษายน และปัจจุบันค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าเงินจนหลุด 32 บาท/ดอลลาร์ ประกอบกับความเสี่ยงด้านข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ-จีน เริ่มกลับมามีประเด็นอีกครั้ง ยิ่งทำให้มองถึงเรื่องความเสี่ยงด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อไม้ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าและเป็นการรักษาความสามารถด้านการส่งออกของไทย

อัตราแลกเปลี่ยน (ดอลลาร์/บาท)

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5% กำลังสื่อนัยอะไรต่อเศรษฐกิจ? และ New Neutral ที่ดอกเบี้ยระดับใกล้ 0% คือสิ่งที่ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องทำต่อไป

Source : Bloomberg as of 20/05/2020

อัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% คือ New Neutral ของธนาคารกลางหลักทั่วโลก

New Neutral หรือภาวะเป็นกลางแบบใหม่ของการดำเนินนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางหลักของโลก ซึ่งอาจจะยังต้องใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายใกล้ 0% (+/-) ซึ่งรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยเราด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ Old Neutral ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลักจะอยู่ที่ประมาณ 1.5%-2.5% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย (Inflation Targeting) ของแต่ละประเทศที่วางเอาไว้

แต่ว่าปัจจุบันธนาคารกลางแต่ละแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนแตะระดับ 0% และบางแห่งได้มีการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบไปสักระยะแล้วอย่างเช่น ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) สะท้อนถึงการดำเนินนโยบายที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดต้นทุนการกู้ยืมให้แก่ภาคธุรกิจรวมถึงกระตุ้นอุปสงค์ด้านครัวเรือน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลักของโลก

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5% กำลังสื่อนัยอะไรต่อเศรษฐกิจ? และ New Neutral ที่ดอกเบี้ยระดับใกล้ 0% คือสิ่งที่ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องทำต่อไป

Source : Bloomberg as of 20/05/2020

ในมุมมองของเรามองว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังทรงตัวแบบนี้ต่อไป เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ และใช้เครื่องมือทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กันไป

แต่หากสถานการณ์หนักไปกว่านี้ ในด้าน Policy Space หรือ ความสามารถที่จะลดดอกอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถลดดอกเบี้ยได้อีกประมาณ 2 ครั้ง  นั่นหมายความหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ดีขึ้นหรือกลับมาระบาดหนักขึ้นเราอาจจะเห็นอัตราดอกเบี้ยไทยแตะระดับที่ 0%ในระยะเวลาอันใกล้

และเมื่อไปดูในส่วนของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) แม้ว่าประธาน FED นายเจอโรม พาเวลล์ จะบอกว่าจะไม่ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่หากไปดู FED Future Rate ซึ่งสะท้อนมุมมองของนักลงทุนว่าในอนาคตว่าธนาคารกลางสหรัฐฯอาจลดดอกเบี้ยอีกครั้ง

Fed Futures Rate – Fed Fund Rate

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5% กำลังสื่อนัยอะไรต่อเศรษฐกิจ? และ New Neutral ที่ดอกเบี้ยระดับใกล้ 0% คือสิ่งที่ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องทำต่อไป

Source : Bloomberg as of 20/05/2020

การแสวงหาผลตอบแทนที่สูงยังคงดำเนินต่อไป…. Searching For Yield Will Be Continued

ถึงแม้ในอนาคตการระบาดของ Covid-19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่ภาวะของเศรษฐกิจในการฟื้นตัวให้เข้าสู่สภาวะปกติอาจยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ดังนั้นการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางต่าง ๆ อาจยังไม่กล้าปรับขึ้นดอกเบี้ยดังนั้น ในยุคที่สภาพคล่องล้นตลาดประกอบกับภาวะที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เชื่อว่าผู้ลงทุนยังคงแสวงหาสินทรัพย์ที่เป็น Yield Play หรือกลุ่มที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง ทั้งในแง่ดอกเบี้ยและเงินปันผล (แต่ต้องมีความเสี่ยงที่ไม่สูงจนเกินไป) เช่นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเป็น Monopoly (มีการได้รับสัมปทานหรือผูกขาด) ถึงแม้บางกลุ่มอาจจะได้รับผลกระทบบ้างในช่วง Lockdown เช่นทางด่วน สนามบิน แต่เมื่อมี Re-Open กลุ่มนี้จะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง รวมถึงกลุ่ม REITs ถึงแม้การปรับเพิ่มขึ้นของค่าเช่าอาจยังทำได้ไม่มากในช่วงนี้แต่หากมีอัตราการเช่า (Occupancy Rate) อยู่ในระดับสูงก็อาจยังคงเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจของนักลงทุนที่กำลัง Search For Yield และนี่คืออีกหนึ่ง Mega Theme ของการลงทุน

บดินทร์ พุทธอินทร์ CISA I,CFP
Senior Assistant Vice President : Investment Strategy
TMBAM-Eastspring

สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน TMBAM Quality Mega Theme Portfolio คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดพอร์ตการลงทุน

TSF2024