ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนน่าจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า “ธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์” ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ แต่ก็ดูเหมือนประเด็นนี้ จะถูกพูดถึงมาระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้น นักลงทุนจึงอาจสงสัยว่า ถ้าสนใจลงทุนตอนนี้จะยังใช่ “จังหวะ” ที่ดีหรือเปล่า ? ธุรกิจนี้ราคาปรับตัวขึ้นมาสูงแล้ว ยังลงทุนได้จริงหรือ? เรื่องนี้มีคำตอบค่ะ
ไม่ต้องอ่านไปถึงตอนจบ ขอเฉลยตอนนี้เลยว่า “ยังเป็นจังหวะที่ลงทุนได้” และ “ยังมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวด้วย” ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?
Digital Healthcare ยังเป็นจังหวะที่ลงทุนได้
“คุณณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์” Head of TISCO Wealth Advisory อธิบายว่า ในช่วงนี้ หากนักลงทุนต้องการจะลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์ หรือ Digital Healthcare ไม่ต้องกังวลเรื่องจังหวะการลงทุน หรือกลัวว่าจะช้าเกินไป เพราะยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้อย่างแน่นอน
นั่นก็เป็นเพราะ ธุรกิจ “Digital Healthcare” มีทั้งสินค้าและบริการ ด้านการดูแล รักษาสุขภาพ ที่กำลังอยู่ในความต้องการของคนทั้งโลกอย่างมาก ได้แก่
1. Research & Development – เช่น Life science tools and services, Automated laboratory tools
2. Treatments – เช่น Biotech platforms, Surgical robotics, Personalized medicine
3. Efficiency – Electronic Health Records, Consumer health monitors, Telemedicine
ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ ต้องถือว่าเป็นดาวรุ่งที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยถ้าดูในปี 2019 จะพบได้ว่า กลุ่มธุรกิจ Digital Healthcare มีขนาดของอุตสาหกรรมเพียง 1.06 แสนล้านเหรียญ แต่ถ้ามองไปถึงปี 2026 หรืออีกประมาณ 5-6 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมนี้จะขยายตัวไปถึงระดับ 6.39 แสนล้านเหรียญ หรือเฉลี่ยโตปีละกว่า 28%
โดยผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจในกลุ่ม Digital Healthcare ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน และได้รับความนิยมอย่างมาก ได้แก่ การรักษาทางไกล (Tele-Healthcare) และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้หลายคนอาจสวมใส่กันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Apple Watch, Garmin ที่ช่วยวัดชีพจร การเดิน การวิ่ง การนอนหลับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Mobile Health (mHealth) โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 อุตสาหกรรมนี้ จะมีโอกาสเติบโตได้ถึง 38.8%
นอกจากอุปกรณ์ที่กล่าวมา บริษัทในกลุ่มธุรกิจ Digital Healthcare ยังมีอุปกรณ์ที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก ยกตัวอย่างเช่น เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดแบบพกพา โดยที่ไม่ต้องเจาะเลือด และสามารถรายงานผลมาที่แอปพลิเคชัน หรือ อุปกรณ์ของเราได้ ซึ่งนี่คือความก้าวหน้าที่น่าสนใจของ Digital Healthcare ในเวลานี้
Biotechnology ผู้สร้างยา-นวัตกรรมการรักษาที่โลกต้องการ
ธุรกิจ “Biotechnology” หรือ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นอีกหนึ่งดาวรุ่งในกลุ่ม Digital Healthcare ที่ TISCO Wealth Advisory ได้แนะนำตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้ “คุณวรสินี เศรษฐบุตร” Head Of Wealth Product Development เล่าว่า บริษัทในกลุ่มนี้ยังคงให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Regeneron ผู้ผลิตยาที่ขายได้ทั่วโลก อาทิ
1.Eylea – รักษาจอประสาทตาเสื่อม รักษาเบาหวานที่จอตา
2.Dupixent – รักษาผื่นผิวหนังอักเสบ
3.Libtayo – รักษามะเร็ง
4.ยาอื่น ๆ อีก 22 ชนิด ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา
ล่าสุดบริษัทนี้ ยังมีการคิดค้นยาเพื่อรักษา COVID-19 โดยประกาศว่ายาตัวนี้จะเอามาทดลองได้ในเดือนก.ย. ส่งผลให้ตลาดตอบรับในเชิงบวกกับข่าวที่ออกมาทันที
นอกจากนี้หากมองในเชิงภาพรวมธุรกิจ “Biotechnology” ในระยะข้างหน้า ประเมินว่า ความต้องการใช้ “ยา” ที่ค้นคว้าและผลิตโดยธุรกิจในกลุ่ม “Biotechnology” ยังคงมีอยู่อย่างมาก
เห็นได้จาก 10 อันดับแรกของยาที่คาดว่าจะมีการขายมากที่สุดในโลก ยังคงเป็นยาจากบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Biotechnology โดยแบ่งเป็นยารักษาที่อยู่ในกลุ่มโรคมะเร็ง 6 ชนิดเป็น ส่วนที่เหลือเป็นยารักษาโรค HIV และโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ดังนั้น TISCO Wealth Advisory จึงมองว่าอนาคตของ Biotechnology ยังคงน่าสนใจอยู่ และแนะนำให้ลงทุน ในธุรกิจนี้
ถึงตอนนี้ คุณน่าจะเริ่มมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่า ทำไม เราจึงยังแนะนำให้ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์…
TISCO Advisory
ที่มา : https://www.tisco.co.th/th/advisory/good-timing-Invest-medical-technology.html