ไบเดนเคลื่อนไหวแล้ว! เผยแผนคานอำนาจจีน “Indo-Pacific Economic Framework (IPEF)” เตรียมสร้างสมดุลในเอเชียร่วมกับพันธมิตร
📍 IPEF คืออะไร และมีจุดมุ่งหมายอย่างไร?
อย่างแรกที่ต้องเข้าใจก่อนคือ IPEF ไม่ใช่ข้อตกลงการค้าเสรี และต่อให้ไบเดนอยากทำก็คงทำไม่ได้ เพราะทั้งฝั่งซ้ายและขวาในสหรัฐฯ ไม่ต้องการข้อตกลงการค้าเสรีเพิ่มแล้ว
นอกจากนี้ IPEF ยังไม่ใช้สนธิสัญญาด้านความปลอดภัย และก็แยกออกจากกลุ่ม Quad หรือภาคี 4 ฝ่ายต้านจีนที่มีสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลียเป็นสมาชิก
แล้ว IPEF คืออะไร? IPEF คือ แผนกว้างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อขยายอำนาจ ‘ความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ’ ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ที่สหรัฐฯ ทำร่วมกับออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
📍 IPEF เน้นไปที่ประเด็นไหนบ้าง
โดย IPEF ต้องการกำหนดกฎเกณฑ์ซึ่งเน้นไปที่ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เศรษฐกิจดิจิทัล 2) ซัพพลายเชน 3) การลดคาร์บอน และ 4) กฎระเบียบของแรงงาน
การจัดการกับ “ปัญหาเงินเฟ้อ” เป็นเรื่องที่ไบเดนมองว่าสำคัญ ซึ่ง IPEF ถูกพัฒนามาเพื่อช่วย ‘ลดต้นทุน’ โดยการทำให้ซัพพลายเชนในระยะยาวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
อย่างที่รู้ว่าสหรัฐฯ ต้องการหลีกเลี่ยงการทำข้อตกลงทางการค้า แต่ก็ต้องการมีอำนาจมากขึ้นในเศรษฐกิจเอเชียที่มีจีนเป็นผู้มีอำนาจมากสุดในภูมิภาค
เพราะแม้เศรษฐกิจของประเทศพันธมิตรอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะมีขนาดใหญ่ หรืออินเดียที่อยู่ในกลุ่ม Quad จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังไม่สามารถสู้กับจีนได้ นี่จึงทำให้ IPEF เกิดขึ้นมา
ก่อนหน้านี้ (21 พ.ค.) สื่อที่ถูกควบคุมโดยรัฐจีนอย่าง Global Times ออกมาบอกว่า เป้าหมายหลักของไบเดนในการเดินทางไปเกาหลีใต้และญี่ปุ่นคือ การสร้างพันธมิตรทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาต่อต้านจีน
📍 ความเห็นของนักวิเคราะห์
Yuki Tatsumi จาก Stimson Center มองว่า สหรัฐฯ จะพยายามชักชวนพันธมิตรต่างๆ แบบฮาร์ดเซล และไม่ว่าสหรัฐฯ จะเริ่มนโยบายใหม่ยังไง การแข่งขันเชิงกลยุทธ์ระหว่างกับสหรัฐฯ จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึง IPEF ที่จะไปเป็นชนวนเร่งแนวโน้มดังกล่าว
——————-
- Facebook: https://finno.me/the-opp-fb
- Youtube: https://finno.me/youtube-channel