BREAKING NEWS: สภาพัฒน์ฯ แถลง GDP ปี 64 ขยายตัว 1.6% หากคุมโควิดอยู่ คาดปี 65 ขยายตัว 3.5 - 4.5%

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ขยายตัว 1.9% (YoY) ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 0.2% ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 1.8% (QoQ)

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ขยายตัว 1.9%

องค์ประกอบสำคัญของ GDP Q4

🛍️ ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง

🏭 ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ กลับมาขยายตัว สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมฯ ขยายตัวต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรมการป่าไม้ และการประมงชะลอตัว ส่วนสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการก่อสร้างลดลง

🇹🇭 รวมทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.6% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 6.2% ในปี 2563 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมเพิ่มขึ้น 18.8%, 0.3% และ 3.4% ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.2% ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 3.5 – 4.5%

📊 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 3.5 – 4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัว 4.9% การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.5% และ 3.8% ตามลำดับ และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.5 – 2.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.5% ของ GDP

🇹🇭 ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ
(1) การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด
(2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว
(3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ
(4) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน
(5)การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า
(6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
(7) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
(8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ
(9) การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการกระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

อ้างอิง: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=QGDP_report

——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
TSF2024