ตอนนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางทั่วโลกกำลังต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นโดยการขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่านั่นอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม
ธนาคารกลางประมาณ 90 แห่งทั่วโลกขึ้นดอกเบี้ยแล้วในปีนี้ โดยครึ่งหนึ่งขึ้นดอกเบี้ย 75 bps ในครั้งเดียว ซึ่ง Ethan Harris หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ BoA กล่าวว่า มันเหมือนการแข่งขันที่จะดูว่าธนาคารกลางไหนสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่า
ผลที่เกิดขึ้นคือ นโยบายการเงินเป็นวงกว้างที่เข้มงวดที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่วิกฤติการเงินในปี 2008 โดย JPMorgan Chase มองว่า โลกจะได้เห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดของบรรดาธนาคารกลางขนาดใหญ่นับตั้งแต่ปี 1980 และมันจะไม่หยุดเพียงแค่นั้น
แค่เพียงสัปดาห์นี้สัปดาห์เดียว เราอาจได้เห็น Fed ขึ้นดอกเบี้ย 75 bps เป็นครั้งที่ 3 หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 8% ในเดือน ส.ค. และคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 50 bps นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย ทั้งอินโดนีเซีย นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
นอกจากประเด็นความล่าช้าของธนาคารกลางในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อแล้วนั้น ต้องยอมรับว่าการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในตอนนี้มาจากปัญหาพลังงานและอุปทานซึ่งอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของธนาคารกลาง
ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารทั่วโลกยอมรับว่ายิ่งพยายามขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำลายการเติบโตและการจ้างงานมากขึ้นเท่านั้น แต่คำถามคือเท่าไร?
การวิเคราะห์ของ BlackRock ระบุว่า หาก Fed ต้องการดึงเงินเฟ้อกลับมาสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงและมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 3 ล้านคน ส่วน การบรรลุเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะต้องเผชิญกับการหดตัวของเศรษฐกิจที่มากขึ้นอีก
ขณะที่มหาเศรษฐีชื่อดังและผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Ray Dalio ออกมาเตือนว่า ตลาดหุ้นอาจลงอีก 20% หาก Fed ขึ้นดอกเบี้ยถึง 4.5% 📌 อ่านข่าวนี้เต็มๆ ได้ที่นี่
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
- Facebook: https://finno.me/the-opp-fb
- Youtube: https://finno.me/youtube-channel