กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI มาตรวัดเงินเฟ้อผ่านการใช้จ่าย เพิ่มขึ้น 0.8% (MoM) และ 7.9% (YoY) ในเดือน ก.พ. สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ ม.ค. 1982 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สหรัฐฯ เผชิญกับเศรษฐกิจถดถอยพร้อมกับเงินเฟ้อในระดับสูง (Stagflation)
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ก.พ. หรือ Core CPI เพิ่มขึ้น 0.5% (MoM) และ 6.4% (YoY) สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ ส.ค. 1982
โดยเงินเฟ้อในหมวดต่างๆ ปรับตัว (MoM) ดังนี้
➢ ราคาอาหาร +1%
➢ ราคาอาหารในบ้าน +1.4%
➢ ราคาพลังงาน +3.5%
➢ ค่าที่พักอาศัย +0.5%
➢ ราคารถยนต์มือสอง -0.2% (แต่ยังเพิ่มขึ้น 41.2% จากปีที่แล้ว)
➢ ราคารถยนต์ใหม่ +0.3% และ +12.4% จากปีที่แล้ว
ตัวเลขเงินเฟ้อที่ประกาศออกมายังไม่รวมผลกระทบจากการบุกยูเครนของรัสเซียที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น จนแตะ $139 ต่อบาร์เรล จนทุบสถิติสูงสุดรอบ 14 ปี ก่อนปรับตัวลงมาหลัง UAE สนับสนุนการเพิ่มกำลังผลิตของกลุ่ม OPEC
ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน ก.พ. จะเป็นจุดพีคของเงินเฟ้อ แต่สงครามยูเครน และการแบนน้ำมันรัสเซียของสหรัฐฯ ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป โดยนักเศรษฐศาสตร์ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อเป็นสูงถึง 8% ในเดือน มี.ค.
เงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มพุ่งต่อเนื่องและขยายตัวมากขึ้น ตลาดคาดว่าจะได้เห็น Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากที่ระดับใกล้ 0 เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ในการประชุมสัปดาห์หน้า
สถานการณ์ตอนนี้อาจทำให้คะแนนความนิยมของปธน.โจ ไบเดน ลดลงในการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย. และอาจทำให้พรรคเดโมแครตเสียเสียงข้างมากในรัฐสภา จากปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มแซงหน้าค่าแรง
อ้างอิง:
- https://www.cnbc.com/2022/03/10/cpi-inflation-february-2022-.html
- https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-03-10/u-s-inflation-hits-fresh-40-year-high-of-7-9-before-oil-spike?sref=e4t2werz
——————-
- Facebook: https://finno.me/the-opp-fb
- Youtube: https://finno.me/youtube-channel