FINNOMENA The Opportunity Morning Brief 16/06/2021

จับตาประชุม Fed 15-16 มิ.ย. ปัจจัยกำหนดโลกการเงินครึ่งปีหลัง”

ภาพความเคลื่อนไหวล่าสุดของตลาดหุ้นทั่วโลก 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones -94.42 จุด (-0.27%) S&P500 -8.56 จุด (-0.20%) Nasdaq -101.29 จุด (-0.71%) Small Cap 2000 -7.15 จุด (-0.31%) VIX index อยู่ที่ 17.02 (+3.84%)

ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 +10.85 จุด (+0.26%) Dax เยอรมัน +55.88 จุด (+0.36%) CAC 40 ฝรั่งเศส +23.17 จุด (+0.35%)

ตลาดหุ้นเอเชียล่าสุด (เช้าวันที่ 16 มิ.ย. 2564) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงเคลื่อนไหวในแดนลบ และ SET Index เปิดเคลื่อนไหวในกรอบแคบ

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 16 มิ.ย. 2564) ราคาทองคำ 1,857.75 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver ราคา 27.83 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 72.75 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 74.65 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 16 มิ.ย. 2564) Bitcoin 40,057.6 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 2,525.20 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Binance Coin 361.41 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.31 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ตัวเลขยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ ตัวเลขยอดการผลิตภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% MoM มากกว่าที่คาดการณ์

นักลงทุนมองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ โดยมองจากอัตราส่วน put – call ratio ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

Joe Biden มีกำหนดพบกับ Vladimir Putin ที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยมีประเด็นหารือหลักๆ ในเรื่องปัญหาแฮ็กเกอร์รวมถึงเรื่องการเมืองระหว่างประเทศของรัสเซีย

นักวิเคราะห์มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นออสเตรเลีย โดยมองว่ายังสามารถปรับตัวขึ้นได้จนถึงช่วงสิ้นปี ปัจจัยที่ต้องจับตาของออสเตรเลีย คือ ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและจีน

ตัวเลขยอดค้าปลีกจีนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังเติบโต 14% YoY และตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเติบโต 9.2% มีการคาดการณ์ว่าตลาด EV ในจีนจะมีการเติบได้ดี และจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ผลการประชุม FED ในวันที่ 15 – 16 มิ.. นี้ จะเป็นปัจจัยกำหนดโลกการเงินครึ่งปีหลัง โดยการประชุมรอบนี้ยังไม่น่ามีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน แต่ต้องติดตามมุมมองที่จะออกมา ข้อมูลจาก CNBC คาดการณ์ว่า FED จะเริ่มลดขนาด QE ต้นปี 2022 และขึ้นดอกเบี้ยปลายปี 2022 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะกลับสู่ระดับก่อน COVID-19 ในปลายปี 2021 และอัตราเงินเฟ้อจะขึ้นทำจุดสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2021 แต่จากการสำรวจความเห็นเรื่องเงินเฟ้อพบว่าประมาณ 60% มองว่าเงินเฟ้อมีปรับตัวขึ้นเป็นเรื่องชั่วคราว และ 77% มองว่าความยากลำบากในการหาแรงงานกลับเข้าทำงานเป็นเรื่องชั่วคราว ตัวเลขคาดการณ์ GDP ปรับตัวดีขึ้นทั้งในมุมมองของ FED และภาคเอกชน ขณะที่ทาง BofA มองว่า FED จะเริ่มส่งสัญญาณลดขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุม Jackson Hole เดือนสิงหาคม

สหรัฐฯ – EU บรรลุข้อตกลงระงับข้อพิพาท 17 ปีของ Boeing – Airbus กรณีการให้เงินอุดหนุน หุ้น Boeing อยู่ในหุ้น 10 อันดับแรกของ Dow Jones โดย EPS ของ Boeing เริ่มปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับก่อนเกิด COVID – 19

จีนเดินหน้าควบคุมผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงและเรตติ้งต่ำ ซึ่งกระทบต่อหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งยังเดินหน้าปิดเหมือง Bitcoin ต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ว่าการขุดเหมืองที่ถูกควบคุมอาจจะย้ายไปที่ Texas แทน

จากการสำรวจความเห็น Fund Manager ของ BofA พบว่าประมาณ 80% มอง Bitcoin เป็นฟองสบู่ และพบว่าการแห่เข้าลงทุนใน Bitcoin ลดลงพอสมควรในเดือนมิถุนายน เทียบกับเดือนพฤษภาคม

เพื่อนสนิทของ Jack Ma แจ้งว่าคุณ Jack Ma เองยังสบายดี และมีความระมัดระวังในเรื่องการออกมาพูด หรือแสดงความเห็น

หุ้นเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในฮ่องกงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ Nasdaq100 รวมถึงมีการปรับคาดการณ์กำไรลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับ Nasdaq100 เป็นปัจจัยกดดันหุ้นเทคโนโลยีจีน หุ้นขนาดใหญ่ 2 ตัวใน K-CHINA คือ Tencent และ Alibaba Group ถูกปรับลดประมาณใน Q2 (-6.74 และ -18.85%) ตามลำดับ หุ้น 10 ตัวแรกของ K-CHINA ยังมี upside เฉลี่ยใน 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ประมาณ 29.32%

อดีตภรรยาของ Jeff Bezos บริจาคเงินเพื่อการกุศลประมาณ 3,700 ล้านเหรียญดอลลาร์หสรัฐฯ ตัวเลขการบริจาคเงินของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสังคม รวมถึงสัตว์และสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มที่มีการลดลงในยอดเงินบริจาค คือ ศิลปะ สุขภาพ และศาสนา

Krafton เจ้าของเกม PUBG เตรียมเข้า IPO ในตลาดหุ้นเกาหลี มูลค่า 5,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในไทยอยู่ที่ 2,331 ราย (ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,305 จากในเรือนจำ 26 ราย) เสียชีวิตเพิ่ม 40 คน ผู้หายป่วยกลับบ้าน 4,947 ราย หายป่วยสะสม 140,239 ราย

The Opportunity

RIS (Retirement Income Solution) เป็นแผนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ โดยมุ่งสร้างกระแสเงินสด 3 – 4.2% ต่อปี (ไม่การันตี) มีทั้งกองทุนที่จ่ายกระแสเงินสด และกองทุนที่สร้างการเติบโต ผลตอบแทนใกล้เคียงหุ้นกู้ BBB+/ ประกันชีวิตแบบบำนาญ สัดส่วนการลงทุนตราสารทุน (10%) กองทุนรวมผสม (45%) กองทุนรวมตราสารหนี้ (30%) และตราสารทางเลือก (15%) ผลตอบแทน Ytd. อยู่ที่ 4.23% (มาจาก SCBWINR 2.55% และ TMBGQG 0.99%) และผลขาดทุนสูงสุดตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -1.55% พอร์ตนี้เหมาะกับผู้ที่เพิ่งเกษียณและต้องการกระแสเงินสดรองรับค่าใช้จ่ายประจำ ลงทุนระยะยาว สามารถลงทุนตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป มีการปรับพอร์ตทุกๆ 6 – 12 เดือน

TSF2024