FINNOMENA The Opportunity Morning Brief 29/10/2021

“Facebook เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘Meta’ เน้นส่งเสริมเทคโนโลยีโลกเสมือน”

ภาพความเคลื่อนไหวล่าสุดของตลาดหุ้นทั่วโลก

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones ปิดที่ 35,730.48 +239.79 จุด (+0.68%) S&P500 ปิดที่ 4,596.42 +44.74 จุด (+0.98%) Nasdaq ปิดที่ 15,448.10 +212.28 จุด (+1.39%) Small Cap 2000 ปิดที่ 2,296.68 +44.19 จุด (+1.96%) VIX index อยู่ที่ 16.53 (-2.65%)

ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ปิดที่ 4,233.87 +12.99 จุด (+0.31%) Dax เยอรมัน ปิดที่ 15,696.33 -9.48 จุด (-0.06%) CAC 40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 6,804.22 +50.70 จุด (+0.75%) 

ตลาดหุ้นเอเชีย (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) ดัชนี Nikkei 225 ปิดที่ 28,820.09 -278.15 จุด (-0.96%) ดัชนี CSI 300 ปิดที่ 4,864.14 -34.03 จุด (-0.69%) ดัชนี Hang Seng ปิดที่ 25,555.73 -73.01 จุด (-0.28%) และ SET Index ปิดที่ 1,624.31 -3.30 จุด (-0.20%)

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 29 ต.ค. 2564) ทองคำ 1,798.65 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver 24.017 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 82.77 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 83.84 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 29 ต.ค. 2564) Bitcoin 61,683.9 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 4,374.64 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.293552 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Binance Coin 496.70 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ราคาหุ้น Apple และ Amazon ติดลบ -3.64% และ -4.16 ในช่วง after hours trading หลังมีการประกาศผลประกอบการ

ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 20 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 30 ปี ทำให้เกิดภาวะ inverted yield curve

ประธานาธิบดี Joe Biden ประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.75 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เน้นลงทุนพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่วนหนึ่งของการจัดหางบประมาณมาจากการขึ้นภาษี ซึ่งแผนนี้ยังเป็นข้อเสนอ และจะต้องติดตามการเจรจาในสภาฯ ต่อไป

Tax Policy Center คาดการณ์การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ จะส่งผลเชิงลบต่อ GDP สหรัฐฯ -0.4% ในปี 2022, -0.7% ในปี 2023, -0.6% ในปี 2024 และ ประมาณ -0.3% ในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลบวกต่อผู้ที่ได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจมาชดเชยกัน

GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 3 เติบโต +2% เป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เกิด COVID-19 และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 2.6% ปัจจัยกดดันมาจากผลกระทบของ COVID-19 นักวิเคราะห์คาดการณ์ GDP ปีนี้ขยายตัวประมาณ +6% และประมาณ +4% ในปีหน้า อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำกว่า 5% ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์อยู่ที่ 2.81 ราย ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 4% ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 5.4% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ

ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงนโยบายการเงิน แต่มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ปีงบประมาณสิ้นสุด 31 มี.ค. 65 เหลือ +3.4% จากเดิมที่ +3.8% และลดคาดการณ์ของเงินเฟ้อในปีนี้ แต่ยังคงคาดการณ์เงินเฟ้อของปีหน้าไว้ที่ระดับเดิม

เงินเฟ้อกลุ่มยูโรโซนปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.4% สูงสุดในรอบ 13 ปี  และตัวเลขความคาดหวังเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคสูงที่สุดในรอบตั้งแต่ปี 1993

ธนาคารกลางยุโรปลดการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนที่วางไว้ และยังไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ย ตัวเลข Citi economics surprise มีการปรับตัวลดลง (ไม่ได้แปลว่าหดตัว อาจจะเป็นการขยายตัว แต่ต่ำกว่าคาดการณ์)

Facebook เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Meta เน้นการส่งเสริมเทคโนโลยีโลกเสมือน โดยมองว่าชื่อ Facebook ไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่บริษัทกำลังทำอยู่ รวมถึงมีการเปลี่ยนตัวย่อที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทเป็น MVRS โดย Mark Zuckerberg คาดการณ์ว่า Metaverse จะเข้าถึงผู้คนกว่า 1 พันล้านคนในทศวรรษหน้า และสร้างการจ้างงานในเทคโลยีหลายล้านตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางคนมองว่าการประกาศครั้งนี้ เป็นการพยายามเบี่ยงประเด็นจากการรายงาน Facebook Paper ซึ่งมีเอกสารที่ถูกพนักงานในองค์กรออกมาวิจารณ์นโยบายเรื่อง social media ของ Facebook ที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของสังคม

Apple ประกาศ EPS 1.24 เหรียญดอลลาร์ฯ แต่รายได้จาก iPhone รวมถึงรายได้รวมต่ำกว่าคาด โดยสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาซัพพลายขาดแคลน ซึ่งส่งผลให้สูญเสียรายได้ถึง 6 พันล้านบาท

Amazon รายงานรายได้และกำไรต่ำว่าคาดการณ์ EPS 6.1 เหรียญดอลลาร์ฯ (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 15.1 เหรียญดอลลาร์ฯ) ผู้บริหารของ Amazon ออกมาปรับลดการเติบโตรายได้ของไตรมาส 4 ลง สาเหตุมาจากปัญหาซัพพลายเชนขาดแคลน แรงงานขาดแคลน ต้นทุนการขนส่งและแรงงานที่เพิ่มขึ้น

Starbucks รายงานรายได้ต่ำกว่าคาดการณ์ EPS 1 เหรียญดอลลาร์ฯ สาเหตุที่รายได้ต่ำกว่าคาดการณ์มีสาเหตุจากตลาดในจีน โดย SSSG ลดลง -7% ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ ยังฟื้นตัวได้

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในรายใหม่ไทยอยู่ที่ 8,968 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 64 ราย หายป่วยกลับบ้าน 8,747 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,893,941 ราย หายป่วยสะสม 1,775,570 ราย การฉีดวัคซีนสะสมประมาณ 73 ล้านโดส

สศค. คาดการณ์ GDP ไทยเติบโต +1% ในปี 2021 และ +4% ในปี 2022 ขณะที่ GDP ในไตรมาส 3 จะติดลบ -3.5% ก่อนที่จะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ขณะที่การควบคุมการติดเชื้อมีทิศทางที่ดีขึ้น

งานสัมมนารวมพลคนลงทุน 2021

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป “เจาะลึกพอร์ต All Balance vs All Weather สองพอร์ตสุดปังหลังจบโควิด” รับชมผ่าน Zoom meeting

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป “นักรบ DIY สายเทคโนโลยี นี่คือ กองทุนคุณต้องไม่พลาด” ลงทะเบียนรับชมได้ที่ https://www.finnomena.com/event-calendar/